บริษัทร้าง ฟื้นบริษัทร้าง หรือ บริษัทที่ถูกชื่อออกจากทะเบียน ฟื้นบริษัทร้าง
บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ที่จัดตั้งขึ้นมาแล้ว แต่ไม่ได้ประกอบการติดต่อกันหลายปี กล่าวคือ ไม่ได้นำยื่น งบการเงิน ต่อกรมพํฒนาธุรกิจการค้า อย่างน้อย 3 ปี ติดต่อกัน หรือ บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้น ได้จดทะเบียนเลิกแล้ว แต่ไม่ยื่นรายงานการชำระบัญชี และจดทะเบียนเสร็จสิ้นการชำระบัญชีต่อนายทะเบียนภายใน 3 ปี นับแต่ วันรับจดทะเบียนเลิก นายทะเบียนมีอำนาจดำเนินการถอนทะเบียนห้างหุ้นส่วนหรือบริษัท ทำให้สิ้นสภาพนิติบุคคล กลายเป็น “บริษัทร้าง
กรมพัฒนาธุรกิจการค้า จะประกาศชื่อห้างหุ้นส่วนบริษัท หากครบกำหนด 90 วัน หลังออกประกาศแต่ยังไม่มีการเคลื่อนไหว กรมฯ จะขีดเป็นบริษัทร้าง หรือ ห้างหุ้นส่วนฯ ร้าง ทันที
แม้ว่านิติบุคคลรายใดจะมีสถานะร้างหรือสิ้นสภาพนิติบุคคลไปแล้ว หุ้นส่วนผู้จัดการ ผู้เป็นหุ้นส่วนกรรมการ ผู้จัดการ และผู้ถือหุ้นยังคงต้องมีความรับผิดชอบในนิติบุคคลนั้นอยู่ รวมถึงอาจคืนสู่ทะเบียนได้ภายใน 10 ปี นับแต่วันที่นายทะเบียนขีดชื่อออกจากทะเบียน โดยการร้องขอต่อศาล
ค่าบริการ 20,000
- ทนายความ ของเราเดินทางได้ทั่วประเทศ ตจว. อาจคิดค่าเดินทางเพิ่ม
ขอบเขต
- ทนายของนาราฯ จะยื่นคำร้อง ดำเนินกระบวนพิจารณาชั้นศาล คัดถ่ายคำสั่งศาล และแจ้งต่อนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัท เพื่อจดชื่อนิติบุคคลกลับคืนสู่บริษัท/ห้างหุ้นส่วน เช่นเดิม
ระยะเวลา
- ประมาณ 60 วัน ขึ้นอยู่กับศาลนัด
บริการอื่น
- จัดทำบัญชี ภาษี และตรวจสอบบัญชี สำหรับปีก่อน ที่ยังไม่ได้จัดทำ (งบเปล่า ราคา 6,500 บาท/ ปี)
- ทำหนังสือคัดค้าน เมื่อ กรมพัฒน์ ประกาศว่าจะร้าง ราคา 2,500 บาท – เพิ่มเติม คลิกที่นี้
งานด่วน / หลังเลิกงาน โทร 080-175-2000 ติดต่อ คุณธนา
ถอนทะเบียนห้างหุ้นส่วนและบริษัทร้าง บัญชีร้าง (ขีดชื่อออกจากระบบทะเบียน)
นายทะเบียนมีอำนาจ ที่จะขีดชื่อห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทออกจากทะเบียน ในกรณีดังต่อไปนี้
- ห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทใดมิได้ส่งงบการเงินนับแต่ปีปัจจุบันย้อนหลัง 3 ปี ติดต่อกัน หรือ
- ห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทที่อยู่ระหว่างชำระบัญชี แต่ผู้ชำระบัญชีมิได้ทำรายงานการชำระบัญชี หรือมิได้ยื่นจดทะเบียนเสร็จการชำระบัญชีให้เสร็จสิ้นภายในสามปีนับแต่วันรับจดทะเบียนเลิกและนายทะเบียนได้มีหนังสือส่งทางไปรษณีย์ตอบรับไปยังห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทและผู้ชำระบัญชีแจ้งให้ดำเนินการเพื่อให้มีตัวผู้ชำระบัญชี หรือยื่นรายงานการชำระบัญชี หรือจดทะเบียนเสร็จการชำระบัญชีภายในหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันที่ส่งหนังสือแล้ว แต่ผู้ชำระบัญชีมิได้ปฎิบัติตาม หรือ
- นายทะเบียนมีมูลเหตุอื่นที่เชื่อได้ว่าห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทมิได้ประกอบการงานนอกเหนือจากกรณีตาม ข้อ 1 และ ข้อ 2
ในระหว่างการดำเนินการถอนทะเบียนห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทร้าง หากปรากฎข้อเท็จจริงดังต่อไปนี้ให้นายทะเบียนพิจารณาระงับการขีดชื่อห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทออกจากทะเบียน
- ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ส่งหนังสือสอบถามการประกอบการงาน ถ้านายทะเบียนได้รับคำตอบจากห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทเป็นหนังสือว่ายังคงทำการค้าหรือประกอบการงานอยู่
- ภายใน 180 วัน นับแต่วันที่ส่งหนังสือแจ้งให้ดำเนินการเพื่อให้มีตัวผู้ชำระบัญชีหรือยื่นรายงานการชำระบัญชีหรือจดทะเบียนเสร็จการชำระบัญชี ถ้าห้างหุ้นส่วนหรือบริษัหรือผู้ชำระบัญชีดำเนินการให้มีตัวผู้ชำระบัญชีหรือยื่นรายงานการชำระบัญชีหรือจดทะเบียนเสร็จการชำระบัญชีแล้วแต่กรณี
- ห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทแสดงหลักฐานให้เห็นว่ามีเหตุอื่นที่ไม่อาจขีดชื่อออกจากทะเบียนได้เมื่อพ้นระยะเวลาตาม ข้อ 1 และ ข้อ 2 แล้ว
- ศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งตามกฎหมายลักษณะล้มละลายที่เกี่ยวข้องกับห้างหุ้นส่วนบริษัทนั้น
- ห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทไม่มีที่ตั้งสำนักงานแห่งใหญ่ตามที่จดทะเบียนไว้ แต่ในระหว่างการได้มาจดทะเบียนแก้ไขเพิ่มเติมที่ตั้งสำนักงานแห่งใหม่
ตัวอย่างเอกสาร แจ้งบริษัทร้าง
บริษัทร้าง ตัวอย่าง
บริษัทร้าง ฟื้นบริษัทคืน
การขอให้บริษัทร้างกลับคืนสู่สถานะเดิม สามารถกระทำได้ ตามที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1246(6) (เดิม) ใหม่ มาตรา 1273/4 บัญญัติไว้ ซึ่งมีขั้นตอนดังนี้
1) บริษัทร้างที่ประสงค์จะกลับมาประกอบกิจการอีก จะต้องดำเนินการร้องขอให้ศาลมีคำสั่งให้นายทะเบียนกลับจดชื่อบริษัทเข้าสู่ทะเบียนตาม ป.พ.พ. 1246 (6)
2) สำหรับวิธีการฟื้นคืนสู่ทะเบียนนั้น บริษัท ผู้ถือหุ้น หรือเจ้าหนี้ใด ๆ ต้องไปร้องขอต่อศาลโดยยื่นคำร้องขอฝ่ายเดียวเพื่อขอให้ศาลมีคำสั่งให้นายทะเบียนกลับจดชื่อบริษัทคืนสู่ทะเบียน ระยะเวลาที่ใช้ตั้งแต่ยื่นคำร้องจนถึงศาลมีคำสั่งให้คืนสู่ทะเบียนใช้เวลาประมาณ 2 – 4 เดือน
3) เมื่อศาลมีคำสั่งให้นายทะเบียนกลับจดชื่อบริษัทคืนเข้าสู่ทะเบียนแล้ว ให้ผู้ร้องขอคัดสำเนาคำสั่งศาลโดยมีคำรับรองของเจ้าหน้าที่ศาลและทำหนังสือแจ้งนายทะเบียนเพื่อขอให้นายทะเบียนกลับจดชื่อบริษัทคืนเข้าสู่ทะเบียนตามคำสั่งศาลพร้อมแนบคำสั่งศาลมาด้วย (สำเนาคำสั่งศาลให้ส่งฉบับที่เจ้าหน้าที่ศาลได้รับรองความถูกต้องแล้ว)
4) เมื่อนายทะเบียนได้รับคำสั่งศาลแล้ว จะดำเนินการออกคำสั่งกลับจดทะเบียนบริษัทคืนเข้าสู่ทะเบียนและแก้ไขข้อมูลรายการทะเบียนในหนังสือรับรอง พร้อมกับนำคำสั่งจดชื่อคืนสู่ทะเบียนส่งไปลงประกาศในราชกิจจานุเบกษา
5) บริษัทเมื่อคืนสู่ทะเบียนตามคำสั่งศาลแล้ว ให้ถือว่าบริษัทยังคงตั้งอยู่เสมือนดั่งว่ามิได้มีการขีดชื่อบริษัทออกจากทะเบียนเลย ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1246 (6) ซึ่งมีผลให้บริษัทกลับมามีสถานะเป็นนิติบุคคล มีสิทธิ และหน้าที่ความรับผิดชอบตามกฎหมายเหมือนเดิม
อนึ่ง ในการยื่นคำร้องขอต่อศาลนั้น เอกสารที่ต้องใช้ประกอบ ได้แก่เอกสารสำคัญที่เกี่ยวข้องกับบริษัททั้งหมด เช่น หนังสือรับรองบริษัท สำเนาบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น (บอจ.5) เป็นต้น และที่สำคัญอีกประการหนึ่งก็คือเหตุแห่งการยื่นคำร้องขอ ซึ่งผู้ยื่นคำขอต้องนำสืบให้เป็นที่พอใจแก่ศาล
มาตรา 1273/4 “ ถ้าห้างหุ้นส่วน ผู้เป็นหุ้นส่วน บริษัท ผู้ถือหุ้น หรือเจ้าหนี้ใด ๆ ของห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทนั้นรู้สึกว่าต้องเสียหาย โดยไม่เป็นธรรมเพราะการที่ห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทถูกขีดชื่อออกจากทะเบียน เมื่อห้างหุ้นส่วน ผู้เป็นหุ้นส่วน บริษัท ผู้ถือหุ้นหรือเจ้าหนี้ยื่นคำร้องต่อศาลและศาลพิจารณาได้ความเป็นที่พอใจว่า ในขณะที่ขีดชื่อห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทออกจากทะเบียนห้างหุ้นส่วน หรือบริษัทยังทำการค้าขายหรือยังประกอบการงานอยู่ หรือเห็นเป็นการยุติธรรมในการที่จะให้ห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทได้กลับคืนสู่ทะเบียนก็ดี ศาลจะสั่งให้จดชื่อห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทกลับคืนเข้าสู่ทะเบียนก็ได้ และให้ถือว่าห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทนั้นยังคงอยู่ตลอดมาเสมือนมิได้มีการขีดชื่อออกเลย โดยศาลจะสั่งและวางข้อกำหนดไว้เป็นประการใด ๆ ตามที่เห็นเป็นการยุติธรรมด้วยก็ได้เพื่อให้ห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทและบรรดาบุคคลอื่น ๆ กลับคืนสู่ฐานะอันใกล้ที่สุดกับฐานะเดิมเสมือนห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทนั้น มิได้ถูกขีดชื่อออกจากทะเบียนเลย
การร้องขอให้ห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทกลับคืนสู่ทะเบียน ห้ามมิให้ร้องขอเมื่อพ้นกำหนดสิบปี นับแต่วันที่นายทะเบียนขีดชื่อห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทออกจากทะเบียน
ถาม – ตอบ
ถาม 1 – พึ่งมาทราบว่า มีบริษัทในเครือหลายบริษัท ที่จดทะเบียนทิ้งไว้ แต่ไม่ได้ทำอะไร และได้กลายเป็นบริษัทล้างแล้ว แต่นโยบายบริษัทต้องการการชำระบัญชีให้ถูกต้อง ไม่ทราบว่าทำได้ไหมครับนารา 1 – ทำได้ครับ แต่ไม่ค่อยแนะนำ เพราะปัจจุบันบริษัทดังกล่าวไม่มีสภาพ เป็นนิติบุคคลแล้ว ก็ไม่จำเป็นต้องฟื้นมาเพื่อจตทะเบียนเลิกและชำระบัญชี อย่างไรเสีย นาราการบัญชี เข้าใจครับ ที่ว่านโยบายของบริษัทต้องการให้ทำตามกฎหมายให้ถูกต้อง จึงต้องทำการฟื้นและชำระบัญชีให้ครบถ้วย จึงขอสรุป ขั้นตอนการทำงานดังนี้
|
ถาม 2- คุณพ่อเป็น เจ้าของห้างหุ้นส่วน มีตำแหน่งเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ แต่ได้เสียชีวิตแล้ว ตอนนี้ ครอบครัวกำลังจะโอนที่ดินบางแปลงเพื่อขาย พึ่งทราบว่า ยังเป็นกรรมสิทธิ์ของห้างหุ้นส่วน ที่ได้ทิ้งร้างไว้ และ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า ได้ ให้สถานะเป็นบริษัทร้าง แล้ว ไม่ทราบว่าต้องทำอย่างไรบ้าง เพื่อให้สามารถโอนขาย ที่ดินแปลงนี้ ได้ตอบ – นาราฯ เจอ คำถามลักษณะนี้บ่อย มากครับ บริษัทหรือห้างหุ้นส่วน ยังคงมีทรัพย์สิน และต้องการโอน ออก ดังนี้น ท่านจะต้อง ทำการฟื้นบริษัท ให้กลับคืนมาก่อน แล้วค่อย ทำการขาย สำหรับ หจก. ของท่าน คุณพ่อเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการได้เสียชีวิตแล้ว ตอนร้องขอต่อศาล ก็แจ้งเหตุผล การฟื้น เพราะมีทรัพย์สิน และหุ้นส่วนผู้จัดการเสียชีวิต เลยได้ทิ้งร้าง ซึ่งเป็นเหตุผลที่เพียงพอในการร้องขอต่อศาล หลังจากนั้นก็แต่งตั้ง ผู้จัดการมรดก (ถ้ามี) หรือ คุณแม่ หรือ ทายาทผู้มีสิทธิ์ เข้าเป็นหุ้นส่วนแทน จึงสามรถดำเนินการโอนทรัพย์สินนั้น ขายได้3 |
ถาม 3 – บริษัทถือหุ้นโดยชาวต่างชาติและได้ครอบครองบ้าน ที่เชียงใหม่ จดทะเบียนเมื่อปี 2562 ถูกเป็นบริษัทร้างปี 2566 หลังจากซื้อบ้านก็ไม่เคยได้ยื่นงบการเงินเลย เพราะไม่ทราบว่าต้องยื่น งบการเงิน พึ่งทราบว่า ต้องการฟื้นบริษัทกลับมา แต่ไม่ประสงค์ทำธุรกิจเหมือนเดิม แต่ต้องการครอบครอง บ้าน ต่อไป ไม่ทราบว่า สามารถฟื้นบริษัท ได้ไหม และ มีค่าใช้จ่าย เท่าไหร่ ขอให้แยกส่วน สำหรับ การฟื้นบริษัท การเคลียร์บัญชีและภาษีให้เป็นปัจจุบัน และ ค่าใช้จ่ายในการดูแลกรักษาต่อปี ต่อไปในอนาคตตอบ – กรณีของท่าน สามารถฟื้นบริษัทได้ แน่นอนครับ ใช้เวลาประมาณ 2 เดือน โดยมีค่าใช้จ่าย สำหรับชาวต่างชาติ ดังนี้ (สูงกว่าราคา คนไทย) การฟื้นบริษัท
ค่่าเคลียร์บ้ญชี ย้อนหลัง 4 ปี (จดทะเบียนปี 2562 ปัจจุบัน ปี 2566)
ค่าใช้จ่าย ในการดูและบัญชี และภาษี ต่อจากนี้ไป ต่อปี
ถาม – 4 พอดีที่บ้านมีบริษัทที่ขึ้นสถานะร้างตั้งแต่สมัยคุณพ่อ ที่นี้ทางผมได้นำกระบวนการเข้าสู่ศาลเพื่อที่จะได้นำบริษัทนี้กลับมาจดทะเบียน แล้วทางศาลได้ตัดสินให้นำบริษัทนี้กลับสู่ทะเบียน หลังจากนั้นได้ไปคัดสำเนาเข้าใจว่าเป็นคำสั่งศาล (มีเขียน ทวิ 31) คําถามผมคือ1) ตอนนี้บริษัทผมกลับมาสู่ทะเบียนแล้วหรือยังครับ?นาราฯ – หลังได้รับเอกสารคำสั่งศาลให้นำบริษัทนี้กลับสู่ทะเบียน ทางบริษัทต้องดำเนินการทำหนังสือยื่นเรื่อง ขอให้นายทะเบียนจดชื่อบริษัทกลับคืนสู่ทะเบียน 2) ผมต้องทำอะไรกับใบที่ได้จากศาล ต้องไปยื่นที่ไหนหรืออย่างไร?นาราฯ – ตั้งบริษัทอยู่กรุงเทพ ยื่นเรื่องที่กระทรวงพาณิขย์สนามบินน้ำ รอประมาณ 7 วันทำการ หากที่ตั้งบริษัทอยู่ต่างจังหวัดยื่นที่สำนักงานพาณิชย์ประจำจังหวัด ค่ะ 3) จะเปลี่ยนจากที่อยู่เก่าของบริษัทนี้มาที่อยู่ปัจจุบันด้วยครับ ต้องดำเนินการอย่างไร?นาราฯ – การเปลี่ยนแปลงที่อยู่จะดำเนินการได้หลังจากที่สถานะบริษัท คืนสู่ทะเบียนแล้ว ค่ะ |
ถาม 5 – บริษัทถูกขีดชื่อออกจากทะเบียนเป็นบริษัทร้าง เนื่องจากขาดการยื่นงบการเงินเป็นเวลาหลายปี ซึ่งบริษัทยังคงมีทรัพย์สินเป็นบ้านซึ่งติดจำนองกับธนาคารและมีการผ่อนชำระทุกงวด เมื่อผ่อนชำระครบแล้วสามารถดำเนินการไถ่ถอนจากจำนองกับธนาคารได้หรือไม่ หากไม่ได้ต้องดำเนินการอย่างไรบ้างนารา : ไม่สามารถดำเนินการไถ่ถอนได้ หากบริษัทยังคงมีสถานะเป็นนิติบุคคล ร้าง เนื่องจากผลทางกฎหมายที่นายทะเบียนขีดชื่อบริษัทออกจากทะเบียน ถือเป็นการเลิกบริษัทตั้งแต่เมื่อโฆษณาแจ้งความในหนังสือราชกิจจานุเบกษา หากต้องการไถ่ถอนจะต้องดำเนินการขอคืนเข้าสู่ทะเบียน ซึ่งมีขั้นตอนดำเนินการดังนี้ |
ข่าว บริษัทร้าง ปี 2566 กรมพัฒนาธุรกิจการค้า
กรมพัฒนาธุรกิจการค้าประกาศขีดชื่อห้างหุ้นส่วนบริษัทที่ตั้งอยู่ในกรุงเทพฯ ออกจากทะเบียน จำนวน 2,880 ราย เหตุไม่ดำเนินการชำระบัญชีให้เสร็จหลังจดทะเบียนเลิก หากครบกำหนด 90 วันหลังออกประกาศยังไม่มีความเคลื่อนไหวขีดเป็นชื่อร้างทันที แต่ผู้ถือหุ้นยังมีภาระต้องรับผิดชอบในนิติบุคคลนั้นอยู่ และขอคืนสู่ทะเบียนได้ภายใน 10 ปี โดยร้องขอต่อศาล เผยข้อดีทำให้ข้อมูลเป็นปัจจุบัน และป้องกันมิจฉาชีพนำไปใช้หลอกลวงประชาชน แนะตรวจสอบก่อนทำธุรกิจ
นายทศพล ทังสุบุตร อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 30 มิ.ย. 2566 ที่ผ่านมากรมฯ โดยสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกรุงเทพมหานคร ได้ออกประกาศเรื่อง จะขีดชื่อห้างหุ้นส่วนบริษัทออกจากทะเบียน โดยในปี 2566 มีนิติบุคคลที่มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร เข้าข่ายจะถูกขีดชื่อจำนวน 2,880 ราย และการตรวจสอบในลักษณะนี้จะช่วยพัฒนาฐานข้อมูลนิติบุคคลของกรมฯ เป็นปัจจุบัน ส่งผลให้ภาคธุรกิจสามารถค้นหาข้อมูลประกอบการตัดสินใจหรือวิเคราะห์ธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ มากไปกว่านั้น ยังเป็นการหยุดยั้งไม่ให้มิจฉาชีพหรือผู้ไม่ประสงค์ดีนำนิติบุคคลที่ไม่มีการเคลื่อนไหวธุรกิจแล้วมาหลอกลวงประชาชนให้หลงเชื่อว่าธุรกิจเหล่านี้มีตัวตนและยังคงดำเนินธุรกิจอยู่
“การขีดชื่อนิติบุคคลออกจากทะเบียนในครั้งนี้ กรมฯ ได้พิจารณาจากข้อสันนิษฐานว่านิติบุคคลนั้นไม่ได้ยื่นรายงานการชำระบัญชี หรือไม่ได้ยื่นจดทะเบียนการชำระบัญชีให้เสร็จสิ้นภายใน 3 ปี นับตั้งแต่จดทะเบียนเลิกห้างหุ้นส่วนบริษัท ซึ่งกรมฯ ได้ส่งจดหมายติดตามแล้ว 2 ครั้ง โดยเมื่อพ้น 90 วันนับตั้งแต่วันที่ออกประกาศ นิติบุคคลจำนวน 2,880 รายนี้จะถูกขีดชื่อออกจากทะเบียนและสิ้นสภาพนิติบุคคล เว้นแต่จะมีการระงับขีดชื่อหรือแสดงเหตุให้เห็นเป็นอย่างอื่น”
ทั้งนี้ แม้ว่านิติบุคคลรายใดจะมีสถานะร้างหรือสิ้นสภาพนิติบุคคลไปแล้ว หุ้นส่วนผู้จัดการ ผู้เป็นหุ้นส่วนกรรมการ ผู้จัดการ และผู้ถือหุ้นยังคงต้องมีความรับผิดชอบในนิติบุคคลนั้นอยู่ รวมถึงอาจคืนสู่ทะเบียนได้ภายใน 10 ปี นับแต่วันที่นายทะเบียนขีดชื่อออกจากทะเบียน โดยการร้องขอต่อศาล
นายทศพลกล่าวว่า กรมฯ ขอฝากเตือนไปถึงนิติบุคคลจะต้องปฏิบัติตนให้ถูกต้องตามกฎหมาย เพื่อลดภาระในการดำเนินธุรกิจ ทั้งการเสียเวลา ค่าใช้จ่าย และค่าปรับต่างๆ พร้อมสร้างบรรทัดฐานที่ดีด้านความโปร่งใสในการทำธุรกิจของประเทศไทย ส่วนการปรับฐานข้อมูลนิติบุคคลที่ไม่มีสถานะในการทำธุรกิจแล้วในทุกๆ ปีจะช่วยตัดวงจรของการนำนิติบุคคลที่ไม่ได้มีความเคลื่อนไหวทางธุรกิจนำชื่อไปแอบอ้างหลอกลวงประชาชน จึงต้องมีการตรวจสอบก่อนที่จะร่วมทำธุรกิจ หรือติดต่อทำธุรกิจ
สำหรับประชาชนสามารถตรวจสอบรายชื่อห้างหุ้นส่วนบริษัทที่จะถูกขีดชื่อออกจากทะเบียนได้ที่เว็บไซต์ www.dbd.go.th เลือกหัวข้อ “คู่มือทำธุรกิจ” เลือก “บริการข้อมูล” เลือก “จดทะเบียนธุรกิจ” และเลือก “ประกาศถอนทะเบียนร้างและคืนสู่ทะเบียน” ส่วนประชาชนที่ต้องการค้นหานิติบุคคลเพื่อศึกษาคู่ค้าหรือวิเคราะห์ข้อมูลการลงทุนสามารถตรวจสอบได้ที่ www.dbd.go.th เลือก DBD Datawarehouse+ หรือแอปพลิเคชัน DBD e-Service
สนใจบริการ หรือ ข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ
บริษัท นารา การบัญชี จำกัด
กรณีเร่งด่วน/ หลังเลิกงาน โทร 080 175 2000 คุณ ธนา
Line ID: @nara53 |
แผนที่
https://goo.gl/maps/GBPpLfS42QsZg4jf6
เดินทาง รถไฟฟ้า สายสีเหลือง สถานี โชคชัย 4 ประตูทางออก 4 นาราฯ อยู่ในซอยลาดพร้าว 52
12,262 total views, 1 views today