080 175 2000 info@53ac.com

ใบอนุญาตแลกเปลี่ยนเงินตรา ขอใบอนุญาตแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ เคาน์เตอร์แลกเงิน ร้านแลกเงิน

ค่าบริการ – ขอใบอนุญาตแลกเปลี่ยนเงินตรา 20,000 บาท

โดยมีเงื่อนไขการจ่ายชำระดังนี้

  • งวดที่ 1 เมื่อรับงาน เก็บ 50% เป็นเงิน 10,000 บาท เมื่อตอบรับใบเสนอบริการ
  • งวดที่ 2 เก็บส่วนที่เหลืออีก 50% เป็นเงิน 10,000 บาท เมื่อชำระค่าธรรมเนียม (ก่อนออกใบอนุญาต)
  • (หมายเหตุ – กรณีต้องยื่นซ้ำ อันเเนื่องมากจากคุณสมบัติของผู้ขอ และเอกสารไม่ครบถ้วน คิดค่าบริการเพิ่ม ต่อครั้งที่ยื่นเพิ่ม 2,000 บาท)
    ระยะเวลา

ระยะเวลา

  • การอนุมัติใช้เวลา 4 เดือน นับจากวันยื่น โดยที่ธนาคารแห่งประเทศไทย จะรับเอกสาร 4 ช่วงเวลา คือ เดือน มีนาคม มิถุนายน กันยายน และ ธันวาคม ของแต่ละปี

เงื่อนไข

กรรมการผู้มีอำนาจลงนาม (ควบคุมกิจการ) ผู้จัดการ หรือผู้มีอำนาจในการจัดการทุกคน จะต้องไม่มีลักษณะต้องห้ามตามข้อ 2 ของประกาศเจ้าพนักงานควบคุมกาารแลกเปลี่ยนเงิน เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีปฎบัติเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจเป็นบุคคลรับอนุญาต ดังนี้

  1. ไม่เป็นบุคคลที่ถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ หรือเป็นบุคคลล้มละลาย
  2. ไม่เคยได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุด ซึ่งให้จำคุกในความผิดตามกฎหมายว่าด้วยการแลกเปลี่ยนเงิน
  3. ไม่เคยมีส่วนเกี่ยวข้องหรือมีประวัติเกี่ยวกับการกระทำผิดเกี่ยวกับกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน

หมายเหตุ เนื้อหาของ ประกาศข้อ 2 “ห้ามมิให้บุคคลรับอนุญาตตั้งหรือบุคคลที่มีลักษณะต้องห้ามอย่างใดอย่างหนึ่งต่อไปนี้ทำหน้าที่เป็นกรรมการผู้มีอำนาจควบคุม กรรมการผู้มีอำนาจในการบริการ ผู้จัดการ หรือผู้มีอำนาจในการจัดการ”

เอกสารที่ต้องเตรียม

  1. คำร้องขอประกอบธุรกิจเป็นบุคคลรับอนุญาต
  2. หนังสือรับรองว่าผู้มีอำนาจควบคุมและบริหาร ไม่มีลักษณะต้องห้าม
  3. หนังสือรับรองบริษัท ไม่เกิน 6 เดือน
  4. หนังสือบริคณห์สนธิ
  5. ข้อบังคับของบริษัท (ถ้ามี)
  6. บัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น
  7. สำเนาบัตรประชาชนหรือ สำเนาหนังสือเดินทาง ของผู้มีอำนาจ
  8. แผนที่ แสดงจุดที่ทำการแลกเงิน
    • เอกสารเกี่ยวกับสถานประกอบการ(จุดรับแลกเงิน)
    • สัญญาเช่า (แนบสำเนาบัตรผู้เช่าและผู้ให้เช่า) จะใช้ในกรณีที่อยู่ของบริษัท เป็นบุคคลอื่นที่มิได้ มีส่วนเกี่ยวข้องกับบริษัท
    • หนังสือยินยอมให้ใช้สถานประกอบการ กรณีที่อยู่บริษัท เป็นของผู้ถือหุ้น
    • สำเนาทะเบียนบ้าน ใข้ในกรณีที่อยู่บริษัทเป็นของกรรมการ

ตัวอย่าง ใบอนุญาต แลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ

ถาม – ตอบ

ถาม 1 – ต้องการเปิดเค้าเตอร์แลกเงิน ไม่ทราบว่าในการจดทะเบียนบริษัท สามารถแสดงวัตถุประสงค์เกี่ยวกับ การแลกเปลี่ยนเงินตรา และ ชื่อบริษัททำนองเดียวกันได้หรือไม่ (เดิมมีบริษัทท่องเที่ยว ต้องขอใบอนุญาตก่อนจึงดำเนินการได้ กลัวว่าต้องทำเหมือนกัน)

นารา – จดทะเบียนบริษัทได้ก่อนเลยครับ แสดงชื่อที่เกี่ยวข้อง และระบุวัตถุประสงค์เกี่ยวกับรับแลกเงิน หรือ แลกเปลี่ยนเงินตราได้เลยครับ แล้วจึงค่อยขอใบอนุญาต ครับ

ถาม 2 – ถ้าเปิด ร้านรับแลกเงิน โดยขอใบอนุญาตแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ ระบุที่อยู่ตามที่ตัั้้งบริษัท แต่มีร้านรับแลกเงิน ต่างหากจากกัน สามารถทำได้หรือไม่คะ

นารา – ไม่ได้ครับ เพราะในขั้นตอนของการขอรับใบอนุญาต จะมีการวาดแผนผัง พร้อมแสดงภาพถ่าย และที่สำคัญเจ้าหน้าที่ของธนาคารแห่งประเทศไทย จะเข้าตรวจสอบ (หลังจากยื่นแบบคำขอประมาณ 1 เดือน) เพื่อตรวจสอบสถานประกอบการ และสัมภาษณ์เจ้าของกิจการด้วย และในระเบียบปฎิบัติก็ระบุชัดแจ้งครบ ว่าต้องเป็นสถานที่เดียวกับที่ได้รับอนุญาตเท่านั้น

ถาม 3 – กรณีที่มีใบอนุญาตรับแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศอยู่แล้ว แต่ต้องการขอใบอนุญาตเพิ่มในนามของสำนักงานสาขา สามารถขอได้หรือไม่และต้องดำเนินการอย่างไรบ้าง

นารา – สามารถขอได้ครับ แต่บริษัทจะต้องเข้าเงื่อนไขที่ทางธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด ดังนี้

1. บริษัทต้องมีทุนจดทะเบียน 10 ล้านบาทและเรียกชำระเต็ม 100 % และต้องดำเนินการจดเพิ่มสำนักงานสาขาที่กระทรวงพาณิชย์ และต้องแจ้งทางธนาคารแห่งประเทศไทยภายใน 15 วันนับจากที่วันมีการเปลี่ยนแปลงและสามารถยื่นเรื่องขอใบอนุญาตของสำนักงานสาขาพร้อมกันได้เลย
2. สำนักงานใหญ่จะต้องมีการทำธุรกรรมการเงิน และมีการดำเนินการส่งรายงานให้กับทางธนาคารแห่งประเทศไทย นับตั้งแต่ที่ได้รับใบอนุญาต ตามระเบียบที่ทางธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด
3. ระยะเวลาการอนุมัติใบอนุญาตสำนักงานสาขาประมาณ 30 วันทำการ หลังจากที่ได้รับการอนุมัติเรียบร้อยแล้ว ในส่วนของใบอนุญาตรับแลกเงิน ให้ใช้ใบเดียวกันกับสำนักงานใหญ่ได้เลย เพราะทางรัฐมนตรีกระทรวงการคลังจะไม่ได้ออกใบอนุญาตของสาขาให้ แต่จะใช้เป็นการแสดงใบอนุญาตของสาขาในรูปแบบผ่านทางอิเล็กทรอนิกส์เท่านั้น

ถาม 4 – กรณีใบอนุญาตแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ สูญหายหรือ ถูกทำลาย สามารถขอใบแทนได้หรือไม่ และอย่างไร

นารา – ในกรณีที่ใบอนุญาตประกอบธุรกิจเป็นบุคคลรับอนุญาตสูญหายหรือถูกทำลายสามารถดำเนินการขอใบแทนได้ซึ่งบุคคลรับอนุญาตค้องยื่นคำร้องขอรับใบแทนใบอนุญาตจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังผ่านธนาคารแห่งประเทศไทย ภายใน 30 วันนับแต่วันที่รับทราบการสูญหาย หรือถูกทำลาย ซึ่งจะใช้ระยะเวลาดำเนินการเพื่อพิจารณาและอนุมัติประมาณ 45 วันทำการ

เอกสารที่ต้องเตรียม

  • แบบคำร้องขอใบแทนใบอนุญาตประกอบธุรกิจเป็นบุคคลรับอนุญาต (ทางนาราจัดเตรียมให้) ลงนามรับรองสำเนาโดยผู้มีอำนาจลงนามและประทับตรา(ถ้ามี)
  • สำเนาบัตรประชาชนของกรรมการผู้มีอำนาจลงนาม พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง
  • สำเนาหนังสือรับรองบริษัท ลงนามรับรองสำเนาโดยผู้มีอำนาจลงนามและประทับตรา(ถ้ามี)
  • ใบแจ้งความเอกสารสูญหาย

ถาม 5 – ถ้าขอใบอนุญาตแลกเปลี่ยนเงินตราแล้ว จะครอบคลุมการแลกเงินสดที่ร้าน และ โอนเงินออนไลน์หรือไม่

นารา  – ใบอนุญาตแลกเงิน จะอนุญาตให้รับแลกเงินสดที่ร้านเเท่านั้น ไม่รวมการบริการโอนเงิน อย่างเช่น Western Union ซึ่งต้องขอใบอนุญาตอีกประเภทหนึ่ง

ถาม 6 – ปัจจุบันบริษัทเราประกอบธุรกิจรับแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ มีสถานประกอบการที่เดียว คือ สำนักงานแห่งใหญ่ ซึ่งตอนนี้ต้องการที่จะขอเพิ่มสาขา เพื่อประกอบธุรกิจรับแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ อีก 2 แห่ง โดยบริษัทมีทุนจดทะเบียนเป็น 10 ล้านบาท ตั้งแต่แรกตอนจัดตั้งบริษัท และปัจจุบันมีกรรมการผู้จัดการที่รับผิดชอบคนเดียว อยากทราบว่าหากขอเพิ่มสาขาได้แล้ว บริษัทสามารถแต่งตั้งเพิ่มให้บุคคลอื่นเข้ามาเป็นกรรมการผู้จัดการให้อำนาจในการจัดการในการประกอบธุรกิจแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ ของแต่ละสาขา โดยให้ดูแลรับผิดชอบคนละสาขา ได้หรือไม่

นารา – ในส่วนของอำนาจทำหน้าที่กรรมการหรือผู้ซึ่งมีอำนาจในการจัดการของผู้ประกอบธุรกิจรับแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ ต้องดำเนินการโดยกรรมการผู้ซึ่งมีอำนาจในการจัดการ โดยคนปัจจุบันที่ได้แจ้งรายชื่อการขออนุญาตไว้พร้อมกับการยื่นคำร้องขอใบอนุญาตตั้งแต่แรก จะไม่สามารถแต่งตั้งเพิ่มให้บุคคลอื่นเข้ามาเป็นกรรมการผู้จัดการให้อำนาจในการจัดการแยกได้ เนื่องจากมีข้อจำกัดเรื่องของอำนาจทำหน้าที่กรรมการหรือผู้ซึ่งมีอำนาจในการจัดการของผู้ประกอบธุรกิจ ต้องเป็นบุคคลเดียวกันเท่านั้นในการรับผิดชอบทุกสาขา เว้นแต่กรณีที่เป็นการเปลี่ยนแปลงตัวกรรมการผู้มีอำนาจควบคุม กรรมการผู้มีอำนาจในการบริหารผู้จัดการ หรือผู้มีอำนาจในการจัดการของบุคคลรับอนุญาต สามารถทำได้ โดยต้องทำหนังสือรับรองด้วยว่าบุคคลดังกล่าวไม่มีลักษณะต้องห้ามตาม ข้อ 2 ของประกาศเจ้าพนักงานควบคุมการแลกเปลี่ยนเงิน เรื่องหลักเกณฑ์และวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจเป็นบุคคลรับอนุญาต และต้องรายงานการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวต่อเจ้าพนักงานเป็นหนังสือ พร้อมทั้งยื่นเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ภายใน 15 วันนับแต่วันที่มีการเปลี่ยนแปลงทางทะเบียนกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า

ถาม 7 – เราทำธุรกิจ ร้านอาหาร ที่พัทยา แต่ต้องการทำธุรกิจเพิ่มเกี่ยวกับ การแลกเปลี่ยนเงินตรา ภายใต้บริษัทเดิม โดยที่ลูกค้าสามารถแลกเงินแล้วได้รับเงินสด และให้เราช่วยโอนเงินไปต่างประเทศ ให้ด้วย  เราสามารถทำได้ไหม และต้องทำอย่างไร

นารา – สามารถทำได้ครับ โดยเริ่มต้นต้องเพิ่มวัตถุประสงค์กับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า แล้วมาขออนุญาตกับธนาคารแห่งประเทศไทย ตามทีสอบถามเกี่ยวกับขอใบอนุญาต จะมีอยู่  2 ประเภทที่เกี่ยวข้อง ดังนี้

ประเภทที่ 1 คือใบอนุญาตแลกเปลี่ยนเงินตรา หรือ เคาน์เตอร์แลกเงิน คือ นำเงินมาแลกแล้วได้เงินสดเลย (ไม่รวมการโอนเงิน) คุณจะต้องขออนุญาตกับธนาคารแห่งประเทศไทยสำหรับการให้บริการแลกเปลี่ยนเงินตรา โดยแต่ละปีจะเปิดให้ยื่นขออนุญาตได้ 4 ครั้ง มีเวลารับยื่นประมาณ 1 เดือน และใช้ระยะเวลาจนกว่าได้ใบอนุญาตอีกประมาณ 3 เดือน โดยเปิดให้ยื่นในเดือน มีนาคม มิถุนายน กันยายน และ ธันวาคม  ท่านสามารถศึกษาเพิ่มเติมได้ที่เวปไซต์ ด้านบน

ประเภทที่ 2 คือ การบริการโอนเงิน (นำส่งเงิน) โดยการโอนเงิน ครอบคลุมทั้ง การโอนผ่านออนไลน์ และผ่านเค้าเตอร์ธนาคาร ใบอนุญาตประเภทนี้ ท่านต้องติดต่อ ธนาคารแห่งประเทศไทย โดยตรง (บริษัท นารา ฯ ไม่สามารถให้บริการได้) โดยมีรายละเอียดที่ต้องนำเสนอ เป็นกรณีๆ ไปและไม่อนุมัติง่ายๆ

ถาม 8 – กรณีที่จะขอใบอนุญาตประกอบธุรกิจบุคคลรับอนุญาตสำหรับธุรกิจรับแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ หากบริษัทมีกรรมการ 2 คน กำหนดอำนาจลงนามเป็น กรรมการคนใดคนหนึ่งลงลายมือชื่อและประทับตราสำคัญของบริษัท ในการยื่นคำร้องสามารถแต่งตั้งกรรมการทั้ง 2 คน มีอำนาจในการจัดการและลงนามในเอกสารที่เกี่ยวกับธุรกิจรับแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศได้หรือไม่ หรือแต่งตั้งได้เพียงคนเดียว หากไม่ได้ก่อนยื่นขอคำร้องขอใบอนุญาต ต้องเปลี่ยนแปลงแก้ไขในหนังสือรับรองให้มีกรรมการเพียงคนเดียวด้วยหรือไม่

นารา – ตามข้อกำหนดขอธนาคารแห่งประเทศไทยการยื่นขอใบอนุญาตเป็นบุคคลรับอนุญาตของนิติบุคคล จะสามารถแต่งตั้งผู้ซึ่งมีอำนาจในการจัดการและลงนามในเอกสารที่เกี่ยวกับธุรกิจรับแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศได้เพียงคนเดียว หากบริษัทมีกรรมการ 2 คน ต้องกำหนดอำนาจในการจัดการให้เป็นชื่อของกรรมการคนใดคนหนึ่งเป็นผู้มีอำนาจลงนามเท่านั้น สำหรับกรรมการอีกหนึ่งคน ต้องระบุเป็นเฉพาะกรรมการอย่างเดียว ไม่มีอำนาจลงนามในส่วนของงานที่เกี่ยวข้องการประกอบธุรกิจรับแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ แต่สามารถกำหนดหน้าที่ในการดูแลงานส่วนอื่นๆ ของธุรกิจได้ปกติ เช่น มีหน้าที่ดูแลเรื่องของ การเงิน บัญชี
สำหรับหนังสือรับรองบริษัทที่มีรายชื่อกรรมการ 2 คน สามารถยื่นคำร้องใบอนุญาตได้ปกติ โดยไม่ต้องแก้ไขเปลี่ยนแปลงใดๆ

ถาม 9 – บริษัทของฉันดำเนินธุรกิจด้านการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศมามากกว่า 4 ปีแล้วโดยมีสำนักงานใหญ่อยู่ที่กรุงเทพ หากต้องการเพิ่มสาขาเคาน์เตอร์แลกเงินอีก 1 แห่งในหาดใหญ่ต้องดำเนินการขอใบอนุญาตที่ใดและทำอย่างไรบ้าง

นารา – ก่อนอื่นในการเพิ่มสาขาเคาน์เตอร์แลกเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดไว้ว่าบริษัทต้องมีทุนจดทะเบียน 10 ล้านบาทและชำระเงินทุนเต็มจำนวน รวมถึงเคยมีการส่งรายงานให้กับทางธนาคารแห่งประเทศไทยทุกเดือนเพื่อยืนยันว่าบริษัทได้มีการประกอบธุรกิจจริง หากเข้าเงื่อนไขดังกล่าวบริษัทจะต้องดำเนินการจดทะเบียนเพิ่มสาขาสำนักงาน ที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้าในเขตกรุงเทพตามที่ตั้งสำนักงานใหญ่ก่อน หลังจากนั้น ภายใน 15 วัน จะต้องแจ้งรายละเอียดเกี่ยวกับการเพิ่มสาขาพร้อมเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้องต่อเจ้าพนักงานธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งหลังจากทางธนาคารแห่งประเทศไทยอนุมัติการเปิดสาขาเรียบร้อยแล้ว ทางบริษัทสามารถใช้ใบอนุญาตแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศใบเดียวกับของสำนักงานใหญ่ได้เลย โดยจะใช้เป็นการแสดงใบอนุญาตผ่านทางอิเล็กทรอนิกส์เท่านั้น

ถาม10 – จำเป็นหรือไม่ว่าหากต้องการจะเพิ่มสาขาเคาน์เตอร์แลกเงิน ต้องเพิ่มในเขตพื้นที่เดียวกันเท่านั้น

นารา – โปรดทราบว่ากรณีที่บริษัทต้องการเพิ่มสาขาเคาน์เตอร์แลกเงินไม่จำเป็นต้องเพิ่มในเขตพื้นที่เดียวกันกับสำนักงานใหญ่ ซึ่งบริษัทสามารถเพิ่มสาขาสถานประกอบการในเขตพื้นที่อื่นๆหรือต่างจังหวัดที่มีทำเลเหมาะสมในการดำเนินธุรกิจได้ อย่างไรก็ตามในขั้นตอนการแจ้งเรื่องการเพิ่มสาขาต่อเจ้าพนักงานธนาคารแห่งประเทศไทยจะต้องแจ้งต่อสำนักงานตามพื้นที่ตั้งของสำนักงานใหญ่เท่านั้น

ถาม11 – กรณีขอเพิ่มสำนักงานสาขาของธุรกิจรับแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ ตามที่ตั้งสำนักงานใหญ่ได้รับใบอนุญาตเป็นบุคคลรับอนุญาต สำหรับธุรกิจรับแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศเรียบร้อยแล้ว อยากทราบว่าสำหรับการเพิ่มสาขาหลังจากที่ธนาคารแห่งประเทศไทยอนุมัติแล้ว สำนักงานสาขาจะได้รับใบอนุญาตใหม่เพิ่มเป็นของสำนักงานสาขาหรือไม่

นารา – สำหรับผู้ประกอบการธุรกิจรับแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ ที่มีสถานประกอบการหลายแห่ง หลังจากดำเนินการยื่นเรื่องขอเพิ่มสาขากับธนาคารแห่งประเทศไทยและได้รับอนุมัติแล้วนั้น ผู้ประกอบการจะไม่ได้รับใบอนุญาตเป็นใบใหม่เพิ่มอีก โดยสถานประกอบการทุกแห่งที่แจ้งขออนุญาตต่อธนาคารแห่งประเทศไทยแล้วให้ใช้ใบอนุญาตเดียวกันและเลขที่ MC เดียวกันทั้งหมด โดยสำนักงานที่เพิ่มขึ้น จะต้องแสดงใบอนุญาตของสำนักงานใหญ่ หรือสถานประกอบการแห่งแรกที่ได้รับใบอนุญาต ในรูปแบบอิเลคทรอนิกส์ เช่น แสดงในลักษณะผ่านจอ LED หรือ เปิดจากไฟล์คอมพิวเตอร์เพื่อแสดงต่อบุคคลอื่นได้ทุกเมื่อ (ไม่สามารถแสดงใบอนุญาตโดยรูปแบบของการถ่ายสำเนาได้)

ถาม12 – เนื่องจากบริษัทของฉันขอใบอนุญาตเคาน์เตอร์แลกเงินครั้งแรกด้วยทุนจดทะเบียน 10 ล้านบาท ชำระเต็มจำนวน รวมทั้งมีใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยว เนื่องจากในบริษัทมีผู้ถือหุ้นชาวต่างชาติร่วมด้วย ฉันอยากทราบว่า ถ้าหากบริษัทของฉันต้องการขอเพิ่มสาขาเคาน์เตอร์แลกเงินเพิ่มอีก 1 แห่ง สามารถดำเนินการเพิ่มสาขาได้เลยหรือไม่ หรือมีข้อกำหนดอื่นๆเพิ่มเติม และทางธนาคารแห่งประเทศไทยจะใช้เวลากี่วันในการอนุมัติสาขา

นารา – โปรดทราบว่าทางบริษัทสามารถดำเนินการเพิ่มสำนักงานสาขาเคาน์เตอร์แลกเงินที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้าและดำเนินการแจ้งเรื่องเพิ่มสาขากับธนาคารแห่งประเทศไทยได้เลยค่ะ เนื่องจากบริษัทเข้าข่ายและครบตามเงื่อนไขที่จะสามารถเพิ่มสาขาเคาน์เตอร์แลกเงินได้ เนื่องจากมีทุนจดทะเบียนครบ 10 ล้านบาทและชำระเต็มจำนวน นอกจากนี้หลังจากแจ้งเรื่องเพิ่มสาขากับธนาคารแห่งประเทศไทยแล้วเจ้าหน้าที่จะใช้เวลาประมาณ 30 วันทำการในการอนุมัติเรื่องสาขาเคาน์เตอร์แลกเงินค่ะ

 

​สนใจบริการ หรือ ข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ

บริษัท นารา การบัญชี จำกัด

โทร 080 173 2000 ; 080 174 2000
โทร 02 933 5511

กรณีเร่งด่วน/ หลังเลิกงาน โทร 080 175 2000 คุณ ธนา

อีเมล์: info@53ac.com , สำเนา CC: 53ac.com@gmail.com

Line ID: @nara53

เพิ่มเพื่อน

แผนที่

https://goo.gl/maps/GBPpLfS42QsZg4jf6

เดินทาง รถไฟฟ้า สายสีเหลือง สถานี โชคชัย 4 ประตูทางออก 4 นาราฯ อยู่ในซอยลาดพร้าว 52

 1,320 total views,  1 views today