การจ้างที่ปรึกษาวิชาชีพ
การจ้างที่ปรึกษา เป็นวิธีการจัดซื้อจัดจ้างประเภทหนึ่งของภาครัฐ ซึ่งผู้ประกอบวิชาชีพอาจเป็นรายบุคคลหรือนิติบุคคล ต้องมีจรรยาบรรณวิชาชีพอย่างสูง และมีความรู้ทางวิชาการ ประสบการณ์และความสามารถให้บริการที่ปรึกษา และเสนอแนะ ความรู้ทางวิชาการในสาขาต่าง ๆ อาทิ วิศวกรรมสถาปัตยกรรม เศรษฐศาสตร์ สังคมและการเมือง ทั้งนี้ รูปแบบการให้บริการประกอบด้วย การศึกษาความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของโครงการลงทุนโดยพิจารณาด้านเทคนิค เศรษฐกิจ การเงินสังคมและสิ่งแวดล้อม ซึ่งต้องอาศัยผู้ที่มีความรู้ ความสามารถ และประสบการณ์ในงานที่เกี่ยวข้องทั้งทางเทคนิคและการบริหาร ทั้งนี้ เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ผู้ว่าจ้าง
ผู้ประกอบวิชาชีพที่ปรึกษา แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
- 1. ที่ปรึกษาอิสระ ต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้
(1) เป็นผู้มีสัญชาติไทย
(2) สำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาตรี
ปริญญาโท และปริญญาเอกมาแล้วมากกว่า 10 ปี 5 ปี และ 3 ปี ตามลำดับ จากสถาบันการศึกษาที่สำนักงาน ก.พ. รับรอง และมีประสบการณ์ในการทำงานในสาขาที่เกี่ยวข้องมากกว่ากึ่งหนึ่งของแต่ละระดับการศึกษาข้างต้น
(3) ไม่เป็นข้าราชการ พนักงานราชการ พนักงานเจ้าหน้าที่ หรือลูกจ้าง ในหน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ ห้างหุ้นส่วน บริษัท มูลนิธิ สมาคม หรือหน่วยงาน
อื่นใด แล้วแต่กรณี
ประกอบวิชาชีพที่ปรึกษา แบ่งออกเป็น
อ2. ที่ปรึกษานิติบุคคล ต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้
(1) จดทะเบียนในประเทศไทย และต้องมีวัตถุประสงค์ในการเป็นที่ปรึกษา
(2) ต้องมีทุนจดทะเบียนที่ชำระแล้วตั้งแต่ 1 ล้านบาทขึ้นไป (มิให้ใช้บังคับกับสถาบันการศึกษามูลนิธิ หรือสมาคม)
(3) ต้องมีจำนวนหุ้นของผู้มีสัญชาติไทยถือหุ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 51 ซึ่งมีสิทธิในการ
ออกเสียงและจำหน่ายได้แล้วทั้งหมด (มิให้ใช้บังคับกับสถาบันการศึกษา มูลนิธิ หรือสมาคม)
(4) ต้องมีกรรมการและกรรมการผู้มีอำนาจลงนามผูกพันเป็นผู้มีสัญชาติไทยมากกว่ากึ่งหนึ่ง
(5) ต้องมีบุคลากรที่ปรึกษาที่มีสัญชาติไทยไม่น้อยกว่า 2 คน และต้องเป็นผู้มีสัญชาติไทยมากกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนบุคลากรที่ปรึกษาทั้งหมด
ผู้ประกอบวิชาชีพที่ปรึกษาต้องขึ้นทะเบียน ณ ศูนย์ข้อมูลที่ปรึกษาไทย สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ กระทรวงการคลัง รับจดทะเบียนให้ที่ปรึกษาอิสระ หรือที่ปรึกษานิติบุคคล เป็นที่ปรึกษาในสาขาใดสาขาหนึ่ง หรือหลายสาขาดังต่อไปนี้
สาขาเกษตรและพัฒนาชนบท (Agriculture and Rural Development Sector: AG)
สาขาอุตสาหกรรมก่อสร้าง (Construction Industry Development Sector: CO)
สาขาการศึกษา (Education Sector: ED)
สาขาพลังงาน (Energy Sector: EG)
สาขาสิ่งแวดล้อม (Environment Sector: EV)
สาขาการเงิน (Financial Sector: FI)
สาขาสาธารณสุข (Health Sector: HE)
สาขาอุตสาหกรรม (Industry Sector: IN)
สาขาประชากร (Population Sector: PO)
สาขาการสื่อสารโทรคมนาคม(Telecommunication Sector: TE)
สาขาการท่องเที่ยว (Tourism Sector: TO)
สาขาคมนาคมขนส่ง(Transportation Sector: TR)
สาขาพัฒนาเมือง (Urban Development Sector: UD)
สาขาการประปาและสุขาภิบาล (Water Supply and Sanitation Sector: WS)สาขาเบ็ดเตล็ด (Miscellaneous Se
เงื่อนไขในการขอขึ้นทะเบียนให้เป็นที่ปรึกษาอิสระในสาขาใดนั้น ที่ปรึกษาอิสระจะต้องมีประสบการณ์โครงการในสาขาเดียวกัน ไม่น้อยกว่า 3 โครงการที่ได้ดำเนินการแล้วเสร็จ โดยพิจารณาจากเงื่อนไข ดังต่อไปนี้
(1).วัตถุประสงค์ของการจัดตั้งที่ปรึกษานิติบุคคลต้องมีความสอดคล้องกับสาขาที่จะรับจดทะเบียน
(2).ต้องมีประสบการณ์โครงการในสาขาเดียวกันไม่น้อยกว่า 3 โครงการที่ได้ดำเนินการแล้วเสร็จ
(3).ต้องมีบุคลากรที่ปรึกษาที่มีความเชี่ยวชาญโดยตรงในแต่ละสาขาไม่น้อยกว่า 1 คน
สำหรับรายได้ค่าที่ปรึกษาอิสระ มีวิธีการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา โดยรายได้ค่าที่ปรึกษาที่ผู้ว่าจ้างจ่ายให้ ถือเป็นเงินได้ประเภทที่ 2 เข้าลักษณะเป็นการรับทำงานให้ ผู้มีเงินได้สามารถหักค่าใช้จ่ายได้ 50% ไม่เกิน100,000 บาท (ต้องนำเงินได้ประเภทที่ 1 และ 2 รวมกันหักค่าใช้จ่ายได้ 50% ไม่เกิน 100,000 บาท) หากรายได้ค่าที่ปรึกษา ประกอบกิจการเชิงพาณิชย์มีการบริหารจัดการหรือการดำเนินงาน ทำให้มีค่าใช้จ่ายจำนวนสูงขึ้น เช่น ค่าจ้างให้คณะที่ปรึกษา ค่าเงินเดือน ค่าจ้างให้แก่ลูกจ้าง ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับเครื่องมือเครื่องใช้ของสำนักงาน เป็นต้น รายได้ค่าที่ปรึกษาที่ได้รับเข้าลักษณะเป็นเงินได้ประเภทที่ 8 สามารถหักค่าใช้จ่ายจริง ตามความจำเป็นและสมควร
2,456 total views, 2 views today