080 175 2000 info@53ac.com

เราให้บริการ เลิกกิจการ (ปิดบริษัท – เลิกห้างหุ้นส่วนจำกัด) มากกว่า 10 ปี ปัจจับัน เราให้บริการปีละ กว่า 30 ราย โดยเรามีนักบัญชีที่เชี่ยวชาญภาษี และผู้สอบบัญชีประจำสำนักงาน ท่านจึงมั่นใจได้ว่า เราสามารถจบกงานให้ท่านภายในกำหนด และสามารถประมาณการ เรื่องภาระทางภาษี (ถ้ามี) และ ประเด็นการปิดบริษัท ให้ท่านอย่างรัดกุม

ปิดบริษัท – เลิกห้างหุ้นส่วน ค่าบริการ แบ่งออก เป็น 2 กรณี

กรณีที่ 1: ค่าบริการเลิกกิจการสำหรับงบเปล่า 15,000 บาท โดยมีเงื่อนไขเรียกเก็บเงิน ดังนี้

(กรณีมีต่างชาติร่วมถือหุ้น หรือเป็นกรรมการ จะเรียกเก็บเพิ่ม _____ บาท)
  • งวดที่ 1 เรียกเก็บเงิน เป็นจำนวน 9,740 บาท
    (สำหรับ 50% ของค่าบริการ เป็นจำนวน 7,500 บาท และเรียกเก็บค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายอื่นเต็มจำนวน เป็นเงิน 2,240 บาท)
  • งวดที่ 2 เรียกเก็บส่วนที่เหลือเมื่อลงลายมือชื่อรับรองงบการเงินสำหรับงบเลิกกิจการ
    (อีกจำนวน 7,500 บาท อ้างถึงขั้นที่ 4 ตามรายละเอียดข้างล่างนี้)

ประมาณการ ค่าใช้จ่ายเลิกกิจการสำหรับงบเปล่า

บาท

ค่าบริการจดทะเบียนเลิกกิจการ ที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้า และที่กรมสรรพากร

10,000

ค่าบริการจัดทำบัญชี ตรวจสอบบัญชี และจัดทำแบบภาษีเงินได้นิติบุคคล สำหรับงบเลิกกิจการ

5,000

จัดทำแบบภาษีมูลค่าเพิ่ม พร้อมนำยื่น ( 500 บาท ต่อเดือน) ต้องนำยื่นต่อโดยประมาณ 6 เดือน (ท่านสามารถดำเนินการด้วยตัวเองได้ และต้องนำยื่นจนกว่าได้รับจดหมายอนุมัติให้ออกจากระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม จากกรมสรรพากร)

???

ค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายอื่น

  • ค่าธรรมเนียม
  • ประมาณการค่าโฆษณาในหนังสือพิมพ์ท้องถิ่น
  • ประมาณการค่าไปรษณีย์สำหรับจดหมายเชิญประชุม

1,040

1,000
200

รวม ค่าใช้จ่ายในการเลิกกิจการ

17,240

หมายเหตุ

  1. งบเปล่า หมายถึง งบที่ไม่ได้ดำเนินธุรกิจ และไม่ได้มีรายการยกมาอย่างเป็นสาระสำคัญ
  2. ขอสงวนสิทธิ์ราคานี้ สำหรับบริษัท/หจก ไทย กรณีมีต่างชาติร่วมถือหุ้น หรือเป็นกรรมการ จะเรียกเก็บเพิ่ม ___ บาท

กรณีที่ 2 ค่าบริการเลิกกิจการสำหรับบริษัททั่วไป (ดำเนินธุรกิจ) ขึ้นอยู่กับปริมาณเอกสาร สำหรับ ค่าบริการจดทะเบียนเลิกต่อกรมพัฒนาธุรกิจและการค้า และกรมสรรพากร เริ่มต้นที่ ราคา _______ บาท

ขั้นตอนการเลิกกิจการ ประกอบด้วย

ระยะเวลา

ขั้นตอน

วันที่ 1

ขั้น 1 ดำเนินการลงโฆษณาในหนังสือพิมพ์ท้องถิ่น และส่งจดหมายเชิญประชุมไปยังผู้ถือหุ้น ขั้นตอนนี้ใช้เวลาประมาณ 14 วัน ตามกฎหมาย

วันที่ 15

ขั้น 2 ดำเนินการจดทะเบียนเลิกกิจการกับ กรมพัฒนาธุรกิจและการค้าในขั้นตอนนี้จะได้รับหนังสือรับรองจดทะเบียนเลิกกิจการ

วันที่ 16 – 28

ขั้น 3 ดำเนินการคืนทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (แบบ ภพ.20) ต่อกรมสรรพากรปกติต้องคืน ใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มและหลักฐานอื่นภายใน 15 วัน นับจากวันที่ได้จดทะเบียนเลิกต่อกรมพัฒนาธุรกิจและการค้า กรณีนำคืนไม่ทันกำหนดจะต้องจ่ายชำระจำนวน 2,000 บาท และหลังจากนี้บริษัทฯ ยังคงมีหน้าที่ต้องนำยื่นแบบ ภพ.30 (ภาษีมูลค่าเพิ่ม) ต่อไปจนกว่าจะได้รับจดหมายจากกรมสรรพากรเกี่ยวกับการอนุมัติให้ออกจากระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม

วันที่ 28

ขั้น 4 งบการเงินของบริษัทสำหรับรอบบัญชีเลิกกิจการ จะต้องจัดทำและตรวจสอบบัญชีโดยผู้สอบบัญชี โดยที่ต้องได้รับการอนุมัติจากผู้ชำระบัญชี

วันที่ 1

ขั้น 5นำยื่นแบบภาษีเงินได้นิติบุคคล (ภงด.50) โดยแนบงบการเงินที่ได้ถูกตรวจสอบบัญชีแล้ว ต่อกรมสรรพากรภายใน 150 วัน

วันที่ 1

ขั้น 6 จดทะเบียนเสร็จชำระบัญชี ที่กรมพัฒนาธุรกิจและการค้า

วันที่ 2

ขั้น 7 คืนบัตรผู้เสียภาษีที่กรมสรรพากร
ขั้น 8 เอกสารอนุมัติการออกนอกระบบภาษีมูลค่าเพิ่มกรมสรรพากรจะออกเอกสารการอนุมัติให้ออกจากระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยปกติแล้วจะไม่เกิน 6 เดือน นับจากวันที่คืนใบทะเบียน (ขั้นที่ 3)

 

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม ได้ที่

บริษัท นารา การบัญชี จำกัด
เลขที่ 4/1 ซอยลาดพร้าว 52 ถนนลาดพร้าว แขวงวังทองหลาง เขตวังทองหลาง กรุงเทพฯ 10310

โทร 080 173 2000 ; 080 174 2000 หรือ 080 175 2000
โทร 080 286 2000 ; 080 287 2000
โทร 02 933 5511 ; 02 933 5512

แฟ็กซ์. 02 933 5890
อีเมล์: info@53ac.com , สำเนาถึง: 53ac.com@gmail.com
Line ID: nara53

 5,930 total views,  1 views today