080 175 2000 info@53ac.com

การเปลี่ยนแปลงรายการทางทะเบียนบริษัทมหาชน แก้ไขเอกสารบริษัทมหาชน

นาราการบัญชี บริการ เปลี่ยนแปลง แก้ไข รายการจดทะเบียน บริษัทมหาชน (เอกสารจดทะเบียนของ บริษัทมหาชน)

  1. ชื่อและตราประทับ
  2. ที่ตั้งสำนักงาน
  3. เปลี่ยนแปลง เพิ่มเติม แก้ไข วัตถุประสงค์
  4. เปลี่ยนแปลงกรรมการ/ อำนาจกรรมการ
  5. เปลี่ยนแปลง บัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น
  6. เพิ่มสาขา
  7. เปลี่ยนแปลงข้อบังคับ
  8. เพิ่มทุน – ลดทุน

หมายเหตุ  ทนายและผู้สอบบัญชีรับอนุญาต ของเราได้ขึ้นทะเบียนเป็นผู้รับรองลายมือชื่อ ตามความในข้อ 3 (2) แห่งกฎกระทรวง พ.ศ. 2535  ออกตามความในพระราชบัญญัติบริษัทมหาชน พ.ศ. 2535 แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 6 (พ.ศ. 2539)  ท่านจึงมั่นใจในงานบริการ จดทะเบียน เปลี่ยนแปลง รายการสำคัญของบริษัทมหาชน  เป็นไปโดยถูกต้อง

เพิ่มเติม

การเปลี่ยนแปลงรายการทางทะเบียน

เมื่อได้จดทะเบียนเป็นบริษัทมหาชนจำกัดตามพระราบัญญัติบริษัทมหาชนจำกัด พ.ศ. 2535 แล้ว หากมีการเปลี่ยนแปลงรายการทางทะเบียนกรรมการผู้ัมีอำนาจลงนามแทนบริษัทอย่างน้อย 1 คน เป็นผู้มายื่นขอจดทะเบียน

การเปลี่ยนแปลงบางรายการกฎหมายกำหนดระยะเวลาในการยื่นจดทะเบียนไว้ ดังต่อไปนี้

  1. การแก้ไขเพิ่มเติมหนังสือบริคณห์สนธิบริษัท ได้แก่ ชื่อบริษัท วัตถุประสงค์ เพิ่มทุน-ลดทุนจดทะเบียน จังหวัดที่ตั้งสำนักงานใหญ่ และข้อบังคับของบริษัท ต้องไปยื่นจดทะเบียนภายใน 14 วัน นับแต่วันที่ประชุมผู้ถือหุ้นลงมติ  ถ้าไม่ดำเนินการปรับบริษัทไม่เกินสองหมื่นบาท และปรับกรรมการ ไม่เกินสองหมื่นบาท
  2. การเปลี่ยนแปลงทุนชำระแล้ว ต้องไปยื่นจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงทุนชำระแล้วภายใน 14 วัน นับแต่วันที่ได้รับชำระค่าหุ้นครบตามจำนวนที่เสนอขาย ถ้าไม่ดำเนินการมีความผิด ปรับ บริษัทไม่เกิน สองหมื่นบาท และปรับกรรมการ อีกไม่เกินสองหมื่นบาท
  3. การเปลี่ยนแปลงกรรมการเข้า/ออก การเปลี่ยนแปลงจำนวนและชื่อกรรมการ ซึ่งมีอำนาจลงลายมือชื่อผูกพันบริษัทและข้อจำกัดอำนาจของกรรมการ ต้องไปยื่นจดทะเบียนภายใน 14 วัน นับแต่วันที่มีการเปลี่ยนแปลง ถ้าไม่ดำเนินมีความผิด ปรับบริษัท ไม่เกินสองหมื่นบาท และปรับกรรมการอีก ไม่เกิน สองหมื่นบาท
  4. การเปลี่ยนแปลงที่ตั้งสำนักงานใหญ่ แะล/หรือ สำนักงานสาขา ของบริษัทมหาชนจำกัด ต้องไปยื่นจดทะเบียนภายใน 14 วัน นับแต่วันที่มีการเปลี่ยนแปลง  ถ้าไม่ดำเนินการมีความผิด ปรับบริษัท ไม่เกินสองหมื่นบาท และปรับกรรมการอีกไม่เกินสองหมื่นบาท
  5. การจัดตั้งสำนักงานสาขาของบริษัท ให้จดทะเบียนสำนักงานสาขาก่อนดำเนินการ ถ้าไม่ดำเนินการมีความผิด ปรับบริษัท ไม่เกินสองหมื่นบาท และปรับกรรมการ อีกไม่เกินสองหมื่นบาท
  6. การยกเลิกสำนักงานสาขาของบริษัท ให้จดทะเบียนบกเลิกสำนักงานสาขาภายใน 14 วัน นับแต่วันที่เบลิกสำนักงาสาขานั้น ถ้าไม่ดำเนินการมีความผิด ปรับ บริษัท ไม่เกินสองหมื่นบาท และปรับ กรรมการอีกไม่เกินสองหมื่นบาท
  7. การควบบริษัท ต้องไปขอจดทะเบียนภายใน 14 วัน นับแต่วั้นที่เสร็จสิ้นการประชุมควบบริษัท ถ้าไม่ดำเนินการ มีความผิด ปรับคณะกรรมการบริษัทมหาชนจำกัด ไม่เกิน สองหมื่นบาท
  8. การแปรสภาพบริษัทเอกชนเป็นบริษัทมหาชนจำกัด ต้องไปขอจดทะเบียนภายใน 14 วัน นับแต่วันที่เสร็จสิ้นการประชุมแปรสภาพ ถ้าไม่ดำเนินการมีความผิด ปรับ คณะกรรมการ ไม่เกินสองหมื่นบาท

การเลิกบริษัทมหาชน

เมื่อบริษัทมหาชนจำกัด มีความประสงค์จะเลิกบริษัท ให้จัดประชุมผู้ถือหุ้นลงมติด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่า 3 ใน 4 ของจำนวนเสียงทั้งหมดของผู้ถือหุ้นที่มาประชุมและมีสิทธิออกเสียงให้เลิกบริษัทมหาชนจำกัดและตั้งผู้ชำระบัญชี จากนั้น ผู้ชำระบัญชีมีหน้าที่ดำเนินการ ดังนี้

  1. ให้ผู้ชำระบัญชียื่นขอจดทะเบียนเป็นผู้ชำระบัญชีและขอจดทะเบียนเลิกบริษัท ภายใน 7 วัน นับแต่วันที่มีมติตั้งผู้ชำระบัญชี ถ้าไม่ดำเนินการมีความผิด ปรับผู้ชำระบัญชี ไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท
  2. ในระหว่างชำระบัญชี ถ้ามีการเปลี่ยนตัวผู้ชำระบัญชี ต้องยื่นจดทะเบียนเปลี่ยนตัวผู้ชำระบัญชี ภายใน 7 วัน นับแต่วันที่ผู้ชำระบัญชีคนใหม่ได้รับการแต่งตั้ง ถ้าไม่ดำเนินการมีความผิด ปรับ ผู้ชำระบัญชี ไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท
  3. ให้ผู้ชำระบัญชี จัดทำรายงานการชำระบัญชีพร้อมกับบัญชีรับจ่ายเสนอต่อนายทะเบียนทุกระยะ 3 เดือน นับแต่วันที่ได้รับการแต่งตั้งจนกว่าการชำระบัญชีจะเสร็จสิ้น  และหากการชำระบัญชีไม่อาจทำให้เสร็จได้ภายใน 1 ปี นับแต่วันจดทะเบียนเลิกบริษัท ให้ผู้ชำระบัญชีเรียกประชุมผู้ถือหุ้นทุกรอบปีภายใน 4 เดือน นับแต่วันครบรอบปี เพื่อรายงานผลการชำระบัญชีที่ได้กระทำและจะกระทำต่อไป พร้อมด้วยงบดุล และบัญชีกำไรขาดทุนให้ผู้ถือหุ้นทราบ
  4. เมื่อชำระบัญชีเสร็จแล้ว ผู้ชำระบัญชีต้องจดทะเบียนเสร็จการชำระบัญชี ภายใน 14 วัน นับแต่วันประชุมอนุมัติรายงานการชำระบัญชี ถ้าไม่ดำเนินการมีความผิด ปรับ ผู้ชำระบัญชี ไม่เกินสองหมื่นบาท
  5. ให้ผู้ชำระบัญชีจัดทำรายงานผลการชำระบัญชีพร้อมบัญชีรับจ่าย ให้ที่ประชุมผู้ถือหุ้นอนุมัติภายใน 4 เดือน นับแต่วันเสร็จการชำระบัญชี ถ้าไม่ดำเนินการมีความผิด ปรับผู้ชำระชำระบัญชี ไม่เกิน สองหมื่นบาท

เกี่ยวกับ บริษัทมหาชน

บริษัทมหาชนจำกัด คือ บริษัทประเภทซึ๋งตั้งขึ้นด้วยประสงค์ที่จะเสนอขายหุ้นต่อประชาชน โดยผู้ถือหุ้นมีความรับผิดจำกัดไม่เกินจำนวนเงินค่าหุ้นที่ต้องชำระ และบริษัทดังกล่าวได้ระบุความประสงค์เช่นนั้นไว้ในหนังสือบริคณห์สนธิ

ลักษณะโทครงสร้างของบริษัทมหาชนจำกัด มีดังนี้

  1. จำนวนผู้ถือหุ้นตั้งแต่ 15 คนขึ้นไป
  2. ไม่กำหนดจำนวนทุนจดทะเบียนขั้นต่ำ
  3. หุ้นของบริษัทมหาชนจำกัดแต่ละหุ้นจะต้องมีมูลค่าเท่ากัน และต้องชำระค่าหุ้นครั้งเดียวเต็มมูลค่าหุ้น
  4. จำนวนกรรมการของบริษัทมหาชนจำกัด จะต้องมี่ไม่น้อยกว่า 5 คน และกรรมการไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งต้อมีที่อยุ่ในประเทศไทย

เมื่อจดทะเบียนบริษัทมหาชนจำกัดแล้ว จะมีสภาพเป็นนิตบุคคลตามกฎหมายแยกต่างหากจากผู้ถือหุ้น  และได้รับเลขทะเบียนนิติบุคคล 13 หลัก ซึ่งจะถูกใช้เป็นเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของกรมสรรพากรด้วย

สำหรับชื่อบริษัท ต้องใช้คำว่า “บริษัท” ไว้หน้าชื่อ และ “จำกัด” (มหาชน) ไว้ท้ายชื่่อด้วย หรือใช้่อักษรย่อว่า “บมจ” แทน ถ้าเแป็นอักษรต่างประเทศต้องเขียนเป็นภาษาอังกฤษ ซึ่งออกเสียงตรงหรือมีความหมายตรงกับชื่อภาษาไทย โดยมีคำว่า “Public Company Limited” ต่อท้ายชื่อ  ถ้าไม่ปฎิบัติตามบริษัทมีความผิด ปรับบริษัท ไม่เกินสองหมื่นบาท

หน้าที่ของบริษัทมหาชนจำกัด

การที่บริษัทมีสภาพเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายทำให้มีสิทธิ หน้าที่รับผิดชอบที่จะต้องปฏิบัติให้ถูกต้องตามกฎหมาย ได้แก่ พระราชบัญญัติบริษัทมหาชนจำกัด พ.ศ. 2535 พระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. 2543 รวมทั้งต้องปฏิบัติให้ถูกต้องตามมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ดังนี้

  1. ต้องมีที่ตั้งสำนักงานซึ่งถือเป็นภูมิลำเนาของบริษัทที่สามารถติดต่อได้

ถ้าไม่ดำเนินการมีความผิด ปรับ

  • บริษัท ไม่เกินสองหมื่นบาท
  • กรรมการ ไม่เกินสองหนึ่งบาท
  1. แสดงชื่อ ที่ตั้งสำนักงาน และเลขทะเบียนบริษัทไว้ในจดหมายประกาศ ใบแจ้งความ ใบส่งของ และใบเสร็จรับเงิน

ถ้าไม่ดำเนินการมีความผิด ปรับ

  • บริษัท ไม่เกินสองหมื่นบาท
  • กรรมการ ไม่เกินสองหมื่นบาท
  1. แสดงชื่อบริษัทไว้ในดวงตรา (ถ้ามี)

ถ้าไม่ดำเนินการมีความผิด ปรับ

  • บริษัท ไม่เกินสองหมื่นบาท
  • กรรมการ ไม่เกินสองหมื่นบาท
  1. ต้องมีป้ายชื่อไว้หน้าสำนักงานใหญ่ และสำนักงานสาขา (ถ้ามี)

ภายใน 14 วัน นับแต่วันจดทะเบียนบริษัท แลไม่ให้มีป้ายชื่อดังกล่าวในกรณีที่ไม่ใช้สถานที่นั้นเป็นสำนักงานใหญ่หรือสำนักงานสาขา ภายใน 14 วัน นับแต่วันที่ไม่ใช้สถานที่นั้นเป็นสำนักงานใหญ่หรือสำนักงานสาขาแล้ว

ถ้าไม่ดำเนินการมีความผิด ปรับ

  • บริษัท ไม่เกินสองหมื่น
  • กรรมการ ไม่เกินสองหมื่นบาท
  1. จัดทำใบหุ้น มอบให้แก่ผู้ถือหุ้นไว้เป็นหลักฐานภายใน 2 เดือน นับแต่วันที่ได้รับจดทะเบียนเป็นบริษัทมหาชนจำกัด หรือนับแต่วันที่ได้รับเงินค่าหุ้นครบและจดได้ทะเบียนแล้ว

ถ้าไม่ดำเนินการมีความผิด ปรับ

  • บริษัท ไม่เกินสองหมื่นบาท
  • กรรมการ ไม่เกินสองหมื่น

รายละเอียดในใบหุ้นต้องมีชื่อบริษัท เลขทะเบียนบริษัท วันที่จดทะเบียนบริษัท เลขที่ใบหุ้น ชนิดของหุ้น มูลค่าหุ้น จำนวนหุ้น ชื่อของผู้ถือหุ้น วันที่ออกใบหุ้น และมีกรรมการหรือบุคคลที่ได้รับมอบหมายให้เป็นนายทะเบียนหุ้นลงลายมือชื่อหรือพิมพ์ไว้อย่างน้อย 1 คน

  1. จัดทำทะเบียนผู้ถือหุ้น และเก็บรักษาไว้ ณ สำนักงานใหญ่ของบริษัทหรือเก็บไว้ที่บุคลอื่นที่ได้แจ้งไว้ให้นายทะเบียนทราบ

ถ้าไม่ดำเนินการมีความผิด ปรับ

  • บริษัท ไม่เกินห้าหมื่นบาท
  • กรรมการ ไม่เกินห้าหมื่นบาท

หากทะเบียนผู้ถือหุ้นสูญหาย ลบเลือน หรือชำรุด ให้แจ้งต่อนายทะเทียนภายใน 14 วัน นับแต่ วันที่ทราบหรือควรทราบถึงการสูญหาย ลบเลือน หรือชำรุดนั้นและจัดทำหรือซ่อมแซมทะเบียนผู้ถือหุ้นให้เสร็จภายใน 1 เดือนนับแต่วันที่แจ้ง

ถ้าไม่ดำเนินการภายในเวลาที่กำหนดมีความผิด ปรับ

  • บริษัท ไม่เกินสองหมื่นบาท
  • กรรมการ ไม่เกินสองหมื่นบาท

รายละเอียดในทะเบียนผู้ถือหุ้นต้องมีชื่อ สัญชาติ ที่อยู่ของผู้ถือหุ้น ชนิดของหุ้น เลขที่ใบหุ้น มูลค่าหุ้น จำนวนหุ้น วันที่ลงทะเบียนเป็นหรือขาดจากการเป็นผู้ถือหุ้น

  1. จัดทำทะเบียนกรรมการ รายงานการประชุมคณะกรรมการ และรายงานการประชุมผู้ถือหุ้น และเก็บรักษาไว้ ณ สำนักงานใหญ่ของบริษัท หรือเก็บไว้ที่บุคคลอื่นที่ได้แจ้งไว้ให้นายทะเบียนทราบแล้ว

รายละเอียดในทะเบียนผู้ถือหุ้นต้องมีชื่อ สัญชาติ ที่อยู่ของผู้ถือหุ้น ชนิดของหุ้น เลขที่ใบหุ้น มูลค่าหุ้น จำนวนหุ้นที่กรรมการแต่ละคนถือ วันที่เป็นหรืขาดจากการเป็นกรรมการ

สำหรับรายงานการประชุมคณะกรรมการ และรายงานการประชุมผู้ถือหุ้น ต้องจัดทำให้เสร็จภายใน 14 วัน นับแต่วันปะชุม

  1. จัดทำงบการเงิน และให้ผู้สอบบัญชีตรวจสอบและแสดงความเห็นในงบการเงิน แล้วนำงบการเงินที่ได้รับการตรวจสอบเสนอในที่ประชุมผู้ถือหุ้นเพื่อพิจารณาอนุมัติภายในสี่เดือนนับแต่วันที่ปิดบัญชี

ถ้าไม่ดำเนินการมีความผิด ปรับ คณะกรรมการ ไม่เกินสองหมื่นบาท

  1. ต้องส่งรายงานประจำปีของคณะกรรมการ งบการเงินที่ผู้สอบบัญชีตรวจสอบและแสดงความเห็นแล้ว ให้ถือหุ้นพร้อมหนังสือนัดประชุมสามัญประจำปี

ถ้าไม่ดำเนินการมีความผิด ปรับ คณะกรรมการ ไม่เกินสองหมื่น

  1. ต้องโฆษณาทางหนังสือพิมพ์ เกี่ยวกับเอกสารดังต่อไปนี้

10.1 หนังสือนัดประชุมตั้งบริษัท ต้องโฆษณาคำบอกกล่าวนัดประชุมไม่น้อยกว่า 3 วัน ก่อนวันประชุม กำหนดเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่า 3 วัน

10.2 หนังสือนัดประชุมผู้ถือหุ้น ต้องโฆษณาคำบอกกล่าวนัดประชุมไม่น้อยกว่า 3 วัน ก่อนวันประชุม กำหนดเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่า 3 วัน

10.3  การจ่ายเงินปันผล ต้องโฆษณาคำบอกกล่าวการจ่ายเงินปันผลในหนังสือพิมพ์ด้วย กำหนดเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่า 3 วัน

ถ้าไม่ดำเนินการมีความผิด ปรับ คณะกรรมการ ไม่เกินสองหมื่น

 

10.4 งบดุลที่ผู้ถือหุ้นอนุมัติ ต้องโฆษณาให้ประชาชนทราบอย่างน้อย 1 วัน

ถ้าไม่ดำเนินการภายในเวลาที่กำหนดมีความผิด ปรับ

  • คณะกรรมการ ไม่เกินสองหมื่น
  • กรรมการ ไม่เกินสองหมื่นบาท

10.5  การเพิ่มทุนและลดทุนภายหลังได้รับจดทะเบียนแล้ว ต้องโฆษณาอย่างน้อยหนึ่งฉบับภายใน 14 วัน นับแต่วันที่ได้จดทะเบียนเพิ่มทุนหรือลกทุน กำหนดเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่า 3 วัน

ถ้าไม่ดำเนินการภายในเวลาที่กำหนดมีความผิด ปรับ

  • คณะกรรมการ ไม่เกินสองหมื่น
  • กรรมการ ไม่เกินสองหมื่นบาท

จัดทำบัญชี

บริษัทมหาชนจำกัด เป็นผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี โดยจะให้กรรมการบริษัทเป็นผู้ดำเนินการแทน ซึ่งหน้าที่และความรับผิดชอบของผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีตามพระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. 2543 มีดังนี้

  1. จัดทำบัญชีรายวัน บัญชีแยกประเภท บัญชีสินค้า และบัญชีประเภทอื่นตามความจำเป็นแก่การทำบัญชี โดยเริ่มตั้งแต่วันที่จดทะเบียนเป็นบริษัท

ถ้าไม่จดทะเบียนมีความผิด ปรับ

  • บริษัท ไม่เกินสามหมื่นบาทและปรับเป็นรายวันอีกไม่เกินวันละหนึ่งพันบาท จนกว่าจะปฏิบัติให้ถูกต้อง
  • กรรมการผู้จัดการ ไม่เกินสามหมื่นบาทและปรับเป็นรายวันอีกไม่เกินวันละหนึ่งพันบาท จนกว่าจะปฏิบัติให้ถูกต้อง
  1. จัดให้มีผู้ทำบัญชีเพื่อเป็นผู้รับผิดชอบในการจัดทำบัญชีของบริษัท ซึ่งอาจเป็นพนักงานของบริษัท ผู้รับจ้างทำบัญชีอิสระ หรือสำนักงานรับจ้างทำบัญชีก็ได้ ซึ่งเป็นผู้ที่จบไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่าเป็นผู้ทำบัญชีให้ ซึ่งบริษัทจะต้องควบคุมดูแลผู้ทำบัญชีให้จัดทำบัญชีให้ตรงต่อความเป็นจริงและเป็นไปตามมาตรฐานการรายงานการเงิน

ถ้าไม่ดำเนินการมีความผิด ปรับ

  • บริษัท ไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท
  • กรรมการผู้จัดการ ไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท
  1. ต้องส่งมอบเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชี ได้แก่ บันทึกหนังสือ หรือเอกสารใดๆ ที่ใช้เป็นหลักฐานในการลงรายการในบัญชี ให้แก่ผู้ทำบัญชีให้ครบถ้วนถูกต้อง เพื่อให้บัญชีที่จัดทำขึ้นสามารถแสดงผลการดำเนินฐานะการเงิน หรือการเปลี่ยนแปลงฐานะการเงินที่เป็นอยู่ตามความเป็นจริงและตามมาตรฐานการรายงานทางการเงิน

ถ้าไม่ดำเนินการมีความผิด ปรับ

  • บริษัท ไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท
  • กรรมการผู้จัดการ ไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท
  1. ต้องปิดบัญชีครั้งแรกภายใน 12 เดือน นับแต่วันเริ่มทำบัญชีและให้ปิดบัญชีทุกรอบ 12 เดือน นับแต่วันปิดบัญชีครั้งก่อน เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากสารวัตรใหญ่บัญชีหรือสารวัตรบัญชีให้เปลี่ยนรอบปีบัญชีแล้ว อาจปิดบัญชีก่อนครบรอบ 12 เดือนได้

ถ้าไม่ดำเนินการมีความผิด ปรับ

  • บริษัท ไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท
  • กรรมการผู้จัดการ ไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท
  1. จัดทำงบการเงิน ประกอบด้วย งบแสดงฐานะการเงิน งบกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จ งบแสดงการเปลี่ยนแปลงส่วนของผู้ถือหุ้น งบกระแสเงินสด หมายเหตุประกอบงบการเงิน และงบการเงินเปรียบเทียบกับปีก่อน

 

ถ้าไม่ดำเนินการมีความผิด ปรับ

  • บริษัท ไม่เกินห้าหมื่นบาท
  • กรรมการผู้จัดการ ไม่เกินห้าหมื่นบาท

โดยงบการเงินต้องได้รับการตรวจสอบและแสดงความเห็นจากผู้สอบบัญชีรับอนุญาต

ถ้าไม่ดำเนินการมีความผิด ปรับ

  • บริษัท ไม่เกินสองหมื่นบาท
  • กรรมการผู้จัดการ ไม่เกินสองหมื่นบาท
  1. จัดส่งงบการเงินที่ได้รับอนุมัติจากที่ประชุมใหญ่ ผ่านทางระบบอิเล็กทรอนิกส์ (DBD e-Filing) ไปยังกรมพัฒนาธุรกิจการค้าภายในหนึ่งเดือนนับแต่วันที่งบการเงินได้อนุมัติจากการที่ประชุมใหญ่

ถ้าไม่ดำเนินการมีความผิด ปรับ

  • บริษัท ไม่เกินห้าหมื่นบาท
  • กรรมการผู้จัดการ ไม่เกินห้าหมื่นบาท
  1. เก็บรักษาบัญชีและเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชีไว้ ณ สถานที่ทำการ หรือสถานที่ที่ใช้ผลิตหรือเก็บสินค้าเป็นประจำ หรือสถานที่ที่ใช้เป็นที่ทำงาน เป็นเวลาไม่น้อยกว่า 5 ปี นับแต่วันปิดบัญชี เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจาสารวัตรใหญ่บัญชีให้เก็บไว้ ณ สถานที่อื่นได้ แต่ถ้าบัญชีหรือเอกสารประกอบการลงบัญชีสูญหายหรือเสียหาย บริษัทต้องแจ้งสารวัตรใหญ่บัญชี หรือสารวัตรบัญชีภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ทราบหรือควรทราบ

ถ้าไม่ดำเนินการมีความผิด ปรับ

  • บริษัท ไม่เกินห้าพันบาท

กรรมการผู้จัดการ ไม่เกินห้าพันบาท

​สนใจบริการ หรือ ข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ

บริษัท นารา การบัญชี จำกัด

โทร 080 173 2000 ; 080 174 2000
โทร 02 933 5511

กรณีเร่งด่วน/ หลังเลิกงาน โทร 080 175 2000 คุณ ธนา

อีเมล์: info@53ac.com , สำเนา CC: 53ac.com@gmail.com

Line ID: @nara53

เพิ่มเพื่อน

แผนที่

https://goo.gl/maps/GBPpLfS42QsZg4jf6

เดินทาง รถไฟฟ้า สายสีเหลือง สถานี โชคชัย 4 ประตูทางออก 4 นาราฯ อยู่ในซอยลาดพร้าว 52

บริการคุณภาพ

  • 300 บาท คัดหนังสือรับรองบริษัท/ห้างหุ้นส่วน
  • 3,500 บาท จดทะเบียนบริษัท-เขตกทม.
  • 7,500 บาท งบเปล่า จัดทำ-ตรวจสอบ-นำยื่น
  • 15,000 บาท เลิกบริษัท ปิดบริษัท
  • 500 บาท แปลเอกสารบริษัท
  • 1,000 บาท โนตารี่พับลิค-รับรองเอกสาร
  • 500 บาท แปลเอกสารจดทะเบียนบริษัท

คลิ๊กภาพ เพื่อดูรายละเอียด

Tags

กรรมการผู้มีอำนาจ กระทรวงพาณิชย์ จดทะเบียนบริษัท ขอใบอนุญาตนำเข้า-ส่งออก ขอใบอนุญาตนำเที่ยว ขอใบอนุญาตเคาน์เตอร์แลกเงิน คัดโฉนดที่ดิน คัดโฉนดที่ดินทั่วประเทศ จดจัดตั้งบริษัท จดทะเบียนจัดตั้งบริษัท จดทะเบียนบริษัท จดทะเบียนภาษีธุรกิจเฉพาะ จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม จดทะเบียนเปลี่ยนแปลงข้อมูล จดทะเบียนเปลี่ยนแปลงชื่อบริษัท จดทะเบียนเปลี่ยนแปลงตราประทับ จดทะเบียนเปลี่ยนแปลงวัตถุประสงค์ จดทะเบียนเลิกบริษัท จดทะเบียนเสร็จชำระบัญชี จดเลิกกิจการ จดเลิกบริษัท จดใบอนุญาตนำเที่ยว จัดทำใบหุ้น ธนาคารแห่งประเทศไทย ธุรกิจนำเที่ยว ธุรกิจเคาน์เตอร์แลกเงิน ธุรกิจแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ นำส่งบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นเชียงราย บริการคัดโฉนดที่ดิน บัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น เขตจอมทอง บุคคลรับอนุญาตเคาน์เตอร์แลกเงิน ประกอบธุรกิจนำเที่ยว ยื่นงบการเงิน สมุดทะเบียนผู้ถือหุ้น สำนักงานผู้แทน ออกใบหุ้น เคาน์เตอร์แลกเงิน เปลี่ยนชื่อบริษัท เขตบางกอกใหญ่ เปลี่ยนตราประทับบริษัท เขตหนองแขม เปลี่ยนแปลงบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น เชียงราย เลขที่ดิน เลิกบริษัท เสร็จชำระบัญชี ใบหุ้น ใบอนุญาตท่องเที่ยว กรุงเทพ ใบอนุญาตเคาน์เตอร์แลกเงิน

 34,367 total views,  2 views today