080 175 2000 info@53ac.com

Heart Attack หรือภาวะหัวใจวาย

เป็นภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดหล่อเลี้ยง กระทันหัน ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจส่วนนั้นตาย ไม่สามารถบีบตัวเพื่อสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงร่างกายได้ตามปกติ ถ้ากล้ามเนื้อหัวใจตายเป็นบริเวณกว้าง อาจเป็นเหตุให้เสียชีวิตได้

อาการอย่างไรบ่งบอกว่าจะเป็น Heart Attack

อาการที่บ่งบอกว่าจะเป็น Heart Attack ได้แก่ อาการเจ็บหน้าอก ผู้ป่วยจะมีอาการเจ็บแน่นหน้าอก เป็นๆหายๆ ครั้งละประมาณ 5-10 นาที มักเจ็บตรงกลางหน้าอก หรือบริเวณหน้าอกซีกซ้าย เจ็บแน่นๆหนักๆ คล้ายมีอะไรบีบหรือกดทับ รู้สึกอึดอัดหายใจไม่สะดวก เหงื่อออก – ตัวเย็น อาจเจ็บร้าวไปที่หัวไหล่ หรือแขนข้างซ้าย อาการเจ็บแน่นหน้าอกมักเกิดเวลามีกิจกรรมต่างๆ เช่น เดินเร็ว,วิ่ง,ยกของหนัก แต่ถ้ารุนแรงก็เจ็บหน้าอกได้ แม้เวลานั่งหรือนอน
อาการที่พบได้ แต่ไม่บ่อยนัก ได้แก่ ปวดกราม จุกแน่นบริเวณใต้ลิ้นปี่ เหนื่อยง่ายผิดปกติ

สาเหตุ

จากหลอดเลือดหัวใจตีบ เนื่องจากมีก้อนไขมัน (Plaque) เกาะที่หลอดเลือด ทำให้เลือดไหลไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจไม่สะดวก ทำให้เกิดอาการเจ็บแน่นหน้าอก ดังกล่าวข้างต้น ถ้าโชคร้ายก้อนไขมันแตก จะเกิดลิ่มเลือดอุดหลอดเลือดกระทันหัน ทำให้เลือดไหลไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจไม่ได้ เป็นเหตุให้เกิด Heart Attack ขึ้น ผู้ป่วยเหล่านี้มักมีปัจจัยเสี่ยง ได้แก่ เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันสูง อ้วน สูบบุหรี่ เครียด

การป้องกัน

ด้วยการลดปัจจัยเสี่ยง ได้แก่
1. ควบคุมอาหาร หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันสูง โดยเฉพาะไขมันอิ่มตัว อาหารรสหวานจัด หรือเค็มจัด
2. ควบคุมน้ำหนัก ให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ
3. ออกกำลังกายสม่ำเสมอ ตามความเหมาะสมของแต่ละบุคคล
4. ควบคุมโรคที่เป็นอยู่ ได้แก่ เบาหวาน ความดันสูง ไขมันสูง ทานยาสม่ำเสมอและพบแพทย์ตามนัดหมาย
5. เลิกสูบบุหรี่
6. ลดความเครียด

การรักษา

เมื่อมีอาการเจ็บหน้าอก หรือเหนื่อยง่ายผิดปกติควรปรึกษาแพทย์ เพื่อตรวจรักษาแต่เนิ่นๆ ในกรณีที่อาการไม่รุนแรง แพทย์จะให้การรักษาด้วยการรับประทานยา ได้แก่ ยาต้านเกล็ดเลือด ยาลดไขมันและยาอื่นๆ ตามภาวะของผู้ป่วยแต่ละราย
ในกรณีที่อาการรุนแรง แพทย์จะต้องฉีดสีดูหลอดเลือดหัวใจ เพื่อจะดูตำแหน่งและและความรุนแรงของการตีบ จากนั้นจึงทำการขยายหลอดเลือดส่วนที่ตีบนั้น ด้วยการใช้บอลลูน ตามด้วยการถ่างหลอดเลือดที่ขยายแล้วด้วยขดลวด
ในกรณีที่หลอดเลือดตีบหลายต่ำแหน่ง ไม่สามารถทำบอลลูนได้ จะต้องทำการรักษาด้วยการผ่าตัด ทำทางเบี่ยงหลอดเลือดส่วนที่ตีบนั้น ที่เรียกกันว่า ทำผ่าตัด BYBASS ( CORONARY ARTERY BYPASS GRAFT )

ที่มา: ข้อมูลและภาพจาก โรงพยาบาลธนบุรี
http://thonburihospital.com/

 

 66,080 total views,  1 views today