080 175 2000 info@53ac.com

รู้จักและเข้าใจ Banking Agent

ตามที่ได้มีกระแสข่าวเรื่องร้านสะดวกซื้อรายใหญ่แห่งหนึ่ง จะทำหน้าที่รับฝากเงินและถอนเงินทำให้เกิดความเข้าใจผิดไปว่า ร้านสะดวกซื้อดังกล่าวจะเปิดบริการเป็นธนาคารได้เลย ในเรื่องนี้ธนาคารแห่งประเทศไทยจึงได้ออกมาจบข่าวลือ โดยชี้แจงว่ายังไม่มีแผนแต่งตั้งหรืออนุญาตให้มีการตั้งธนาคารแห่งใหม่แต่อย่างใด เพียงแต่มีการออกประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สนส. 3/2561 ซึ่งได้ปรับปรุงหลักเกณฑ์เกี่ยวกับช่องทางให้บริการของธนาคารพาณิชย์ให้มีความทันสมัย มีความคล่องตัว ทั้งแก่ ธนาคารและผู้ใช้บริการมากขึ้น โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 5 มีนาคม 2561 เป็นต้นไป ซึ่งสาระสำคัญของประกาศฉบับนี้ พอสรุปได้ว่า เป็นการเปิดช่องให้ธนาคารพาณิชย์สามารถขออนุญาตตั้งตัวแทนในการให้บริการแทน หรือ Banking Agent ในธุรกรรมบางประเภทได้เพิ่มขึ้น จากเดิมที่มีการแต่งตั้ง Banking Agent แล้ว ได้แก่ บริษัทไปรษณีย์ไทย บุญเติม เติมสบาย แอร์เพย์ และเคาน์เตอร์เซอร์วิส เท่านั้น

 

แล้ว Banking Agent คืออะไร? ทำหน้าที่อย่างไร?

ตามประกาศนี้ Banking Agent คือ ตัวแทนของธนาคารพาณิชย์ โดยธนาคารพาณิชย์สามารถแต่งตั้งตัวแทน

เพื่อให้บริการรับฝากเงิน รับถอนเงิน จ่ายเงินสำหรับผู้ใช้บริการรายย่อย จ่ายเงินสำหรับผู้ใช้บริการรายใหญ่

รับชำระเงินหรือบริการอื่นตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยอนุญาต แก่ผู้ใช้บริการแทนธนาคารพาณิชย์ ธนาคารพาณิชย์ยังคงต้องเป็นผู้รับผิดชอบในการให้บริการเสมือนเป็นผู้ดำเนินการเอง โดยการแต่งตั้งตัวแทนของธนาคารพาณิชย์ต้องเป็นไปตามขอบเขตและเงื่อนไข ดังนี้

1.ประเภทตัวแทน (Banking Agent)

1.ธนาคารพาณิชย์อื่น

2.สถาบันการเงินเฉพาะกิจ

3.บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด

4.ผู้ให้บริการการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ที่ประกอบธุรกิจบริการที่ต้องได้รับอนุญาตก่อนให้บริการตามบัญชี ค ท้ายพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการควบคุมดูแลธุรกิจบริการการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2551

  1. นิติบุคคลอื่นนอกจากข้อ 1-4 เช่น ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด บริษัทมหาชนจำกัด กองทุนหมู่บ้าน และสหกรณ์

 

2.ขอบเขตและเงื่อนไขการให้บริการของตัวแทนของธนาคารพาณิชย์

1.เป็นตัวแทนให้บริการรับฝากเงินได้

2.เป็นตัวแทนให้บริการรับถอนเงินได้

3.เป็นตัวแทนจ่ายเงินสำหรับผู้ใช้บริการรายย่อยได้

4.เป็นตัวแทนรับถอนเงินและตัวแทนจ่ายเงินสำหรับผู้ใช้บริการรายย่อยสามารถให้บริการได้ ไม่เกิน 5,000 บาทต่อรายการและไม่เกิน 20,000 บาทต่อวัน สำหรับผู้ใช้บริการแต่ละราย

5.ตัวแทนจ่ายเงินสำหรับผู้ใช้บริการรายใหญ่ (ที่เป็นนิติบุคคล องค์กร และวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม หรือธุรกิจ SMEs) ให้เฉพาะธนาคารพาณิชย์อื่นและสถาบันการเงินเฉพาะกิจเป็นผู้ดำเนินการเท่านั้น

 

ตารางสรุปการแต่งตั้งตัวแทนของธนาคารพาณิชย์ (Banking Agent)

ประเภทของธุรกรรม/

ประเภทของตัวแทน

ธนาคารพาณิชย์

อื่น

สถาบัน

การเงิน

เฉพาะกิจ

บริษัท

ไปรษณีย์ไทย

จำกัด

ผู้ให้บริการ

การชำระเงินทาง

อิเล็กทรอนิกส์

นิติบุคคลอื่น
ตัวแทนรับฝากเงิน ü ü ü ü ü
ตัวแทนรับถอนเงิน* ü ü ü ü ü
ตัวแทนจ่ายเงินสำหรับผู้ใช้บริการรายย่อย* ü ü ü ü ü
ตัวแทนจ่ายเงินสำหรับผู้ใช้บริการรายใหญ่ ü ü
ตัวแทนรับชำระเงิน ü ü ü ü ü

* ให้บริการได้ไม่เกิน 5,000 บาทต่อรายการ และไม่เกิน 20,000 บาทต่อวัน สำหรับผู้ใช้บริการแต่ละราย

 

จะเห็นได้ว่า Banking Agent จะเป็นประโยชน์สำหรับประชาชนทั่วไป เพราะเพิ่มช่องทางให้สามารถทำธุรกรรมทางการเงินได้มากขึ้นโดยไม่จำเป็นต้องไปธนาคาร อีกทั้งเป็นผลดีต่อธนาคารที่สามารถลดจำนวนสาขา ปรับเปลี่ยนเป็นการให้บริการผ่าน Banking Agent โดยเลือกนิติบุคคล เช่น ร้านสะดวกซื้อ สหกรณ์ บริษัทจำกัด ห้างหุ้นส่วนต่าง ๆ มาเพื่อให้บริการด้านนี้แทน ธนาคารเองก็สามารถไปเน้นการบริการในด้านอื่น เช่น สินเชื่อ QR Payment เป็นต้น ถือว่าเป็นประโยชน์กับผู้ให้บริการและผู้รับบริการ ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าติดตามกันว่าจะมีการประกาศ Banking Agent รายใหม่ ๆ ออกมาให้ทราบกันอีกหรือไม่อย่างไรต่อไป

 

 3,323 total views,  1 views today