มาตรการภาษีเพื่อส่งเสริมระบบนิเวศวิสาหกิจเริ่มต้นของประเทศ
ในช่วงระยะเวลาที่ผ่านมา ธุรกิจเกิดใหม่ทางเทคโนโลยีที่มีการเติบโตสูงหรือธุรกิจ Start-Up ได้สร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจให้กับประเทศอย่างมหาศาล ถึงแม้ว่าจำนวนผู้ประกอบการสำหรับธุรกิจดังกล่าวในประเทศจะมีไม่มาก แต่ภาครัฐให้การสนับสนุนกลุ่มธุรกิจเหล่านี้อย่างต่อเนื่อง การส่งเสริมธุรกิจ Start-Up ผ่านกลไกต่างๆมีความเชื่อมโยงไปสู่องค์ประกอบอื่นมากมาย ทั้งในกิจการ Start-Up การลงทุน การส่งเสริมผ่านหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน ซึ่งสิ่งเหล่านี้เรียกว่า “ระบบนิเวศวิสาหกิจเริ่มต้น (Start-Up Ecosystem)” กรมสรรพากรจึงได้มีมาตรการภาษีหลายมาตรการเพื่อส่งเสริมระบบนิเวศของ Start-Up ของประเทศ สรุปได้ดังนี้
ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลให้กับธุรกิจ Start-Up
อยากได้สิทธิต้องทำอย่างไร
จดทะเบียนจัดตั้งที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้า
ขอรับรองอุตสาหกรรมเป้าหมายจาก สวทช.
ยื่นคำร้องขออนุมัติทาง online กับกรมสรรพากร
ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 60 – 31 ธ.ค. 60 ภายใน 31 ธ.ค. 61
พระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 637) พ.ศ. 2560 (ประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 302) พ.ศ. 2560)
ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 61 – 31 ธ.ค. 61 ภายใน 31 ธ.ค. 62
พระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 658) พ.ศ. 2561 (ประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 320) พ.ศ. 2561)
ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 58 – 31 ธ.ค. 63 ภายใน 31 ธ.ค. 64
(เฉพาะเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจ)
พระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 627) พ.ศ. 2560 (ประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 284) พ.ศ. 2560)
สิทธิประโยชน์ทางภาษีสำหรับ Start-Up มีผลใช้บังคับมาตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2558 เป็นต้นมา โดยยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลเป็นระยะเวลา 5 รอบระยะเวลาบัญชีให้กับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่จดทะเบียนจัดตั้งตามเงื่อนไขเวลาที่กฎหมายกำหนด ซึ่งต้องมีทุนจดทะเบียนชำระแล้วในวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชีไม่เกิน 5 ล้านบาทและมีรายได้จากการขายสินค้าและบริการในรอบระยะเวลาบัญชีไม่เกิน 30 ล้านบาท บริษัทฯ ต้องประกอบกิจการในอุตสาหกรรมเป้าหมาย 10 กลุ่มอุตสาหกรรมที่ผ่านการรับรองจากสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ต่อมาได้มีการขยายเวลามาตรการออกไป ซึ่งจะสิ้นสุดภายในวันที่ 31 ธันวาคม 2561 นี้ แต่ยังมีเวลาเตรียมตัวในการขอรับรองกิจการในกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมายกับ สวทช. และยื่นคำร้องขออนุมัติสิทธิประโยชน์ทางภาษีกับกรมสรรพากรได้จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2562 นอกจากนี้ยังมีมาตรการส่งเสริม Start-Up สำหรับ 3 จังหวัดภาคใต้ได้แก่ จังหวัดยะลา ปัตตานี และนราธิวาส ซึ่งกำหนดระยะเวลาจัดตั้ง ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2558 – 31 ธันวาคม 2563 ให้อีกด้วยครับ
ส่งเสริมการเข้าถึงแหล่งเงินทุนของ Start-Up ผ่านกิจการเงินร่วมลงทุน
พระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 636) พ.ศ. 2560 ประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 289) พ.ศ. 2560
ผู้ลงทุนในกิจการเงินร่วมลงทุน
ยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับเงินปันผลกำไรจากการขายหรือโอนหุ้น รายได้จาก CVC ที่เลิกกันเป็นเวลา 10 ปีหรือ 10 รอบระยะเวลาบัญชี
กิจการเงินร่วมลงทุน
ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับเงินปันผล กำไรจากการขายหรือโอนหุ้นเป็นเวลา 10 รอบระยะเวลาบัญชีCVC ที่จดแจ้งกับสำนักงาน ก.ล.ต. ภายใน 31 ธันวาคม 2561
การเข้าถึงแหล่งเงินทุนของ Start-Up เป็นอุปสรรคสำคัญของการเริ่มต้นธุรกิจในยุคปัจจุบัน สถาบันการเงินทั่วไปจะให้สินเชื่อคงลำบากเนื่องจากมีความเสี่ยงสูงและเพิ่งก่อตั้งได้ไม่นาน การจัดหาแหล่งเงินทุนผ่านกิจการเงินร่วมลงทุนถือเป็นทางเลือกสำคัญของธุรกิจ Start-Up เพื่อนำมาบริหารจัดการธุรกิจให้เติบโตและมั่นคง จึงได้มีมาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนกิจการเงินร่วมลงทุนเพื่อเพิ่มโอกาสการเข้าถึงแหล่งเงินทุนให้กับ Start-Up โดยยกเว้นภาษีเงินได้ให้แก่บริษัทฯ ซึ่งประกอบกิจการเงินร่วมลงทุนรวมถึงทรัสต์ และผู้ลงทุนในกิจการเงินร่วมลงทุน สำหรับเงินปันผลหรือรายได้ที่ได้จากการโอนหุ้นในกิจการในกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมาย เป็นระยะเวลา 10 รอบระยะเวลาบัญชีนับแต่วันที่จดแจ้งการเป็นกิจการเงินร่วมลงทุนกับสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) โดยจะสิ้นสุดลงในวันที่ 31 ธันวาคม 2561 นี้ครับ
เพิ่มโอกาสการลงทุนกับ Start-Up ผ่าน ANGEL INVESTOR
กฏกระทรวง ฉบับที่ 337 พ.ศ. 2561
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 289) พ.ศ. 2560
ANGEL FUND ลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
- จ่ายเป็นเงินลงทุนในหุ้น หรือลงทุนในหุ้นเพิ่มทุนของ Start-Up ที่ผ่านการรับรองจาก สวทช.
- ต้องถือหุ้น Start-Up ไม่น้อยกว่า 2 ปีต่อเนื่องกัน
- ลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 100,000 บาท
- ใช้สิทธิลดหย่อนได้ในปี 2561 และ 2562
ในยุคที่ธุรกิจ Start-Up กำลังเฟื่องฟู จะมีนักลงทุนรายย่อยกลุ่มหนึ่งให้การสนับสนุนการเข้าถึงแหล่งเงินทุนของธุรกิจเกิดใหม่ นักลงทุนกลุ่มนี้มีความกล้าที่จะควักเงินส่วนตัวเพื่อลงทุนในธุรกิจ Start-Up ที่มีความเสี่ยงสูงมาก หรือเรียกนักลงทุนกลุ่มนี้ว่า Angel Investor ซึ่งอยู่ในรูปของบุคคลธรรมดานั่นเองครับ สำหรับสิทธิประโยชน์ที่ Angel Investor จะได้รับคือ สามารถนำรายจ่ายจากการลงทุนในหุ้นเพื่อจัดตั้งหรือลงทุนในหุ้นเพิ่มทุนของธุรกิจ Start-Up นำมาเป็นค่าลดหย่อนในการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาได้ตามที่จ่ายจริงสูงสุดไม่เกิน 100,000 บาทสำหรับปีภาษี พ.ศ. 2561-2562 โดย Angel Investor ต้องถือหุ้นในธุรกิจ Start-Up ไม่น้อยกว่า 2 ปีต่อเนื่องกันด้วย
ธุรกิจ Start-Up ที่ต้องการพัฒนารูปแบบของธุรกิจให้แตกต่างและแข่งขันได้ในยุคปัจจุบัน อาจมีค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากการทำวิจัย พัฒนาเทคโนโลยี และนวัตกรรม หรือ R&D&I ซึ่งหาก Start-Up มีค่าใช้จ่ายดังกล่าวที่เกิดขึ้นตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2558 – 31 ธันวาคม 2562 สามารถหักรายจ่ายได้เพิ่มขึ้นสูงสุด 3 เท่า
ผู้ลงทุนในกิจการเงินร่วมลงทุน
ยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและภาษีเงินได้นิติบุคคล
สำหรับเงินปันผล กำไรจากการขายหรือโอนหุ้นรายได้จาก CVC ที่เลิกกันเป็นเวลา 10 ปี หรือ10 รอบระยะเวลาบัญชี
กิจการเงินร่วมลงทุน
ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล
สำหรับเงินปันผล กำไรจากการขายหรือโอนหุ้นเป็นเวลา 10 รอบระยะเวลาบัญชี CVC ที่จดแจ้งกับสำนักงาน ก.ล.ต. ภายใน 31 ธันวาคม 2561
SME New Start-Up
ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล 5 รอบระยะเวลาบัญชี
– บริษัทฯ จัดตั้งใหม่ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2560ถึง 31 ธันวาคม 2560
– บริษัทฯ จัดตั้งใหม่ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2561ถึง 31 ธันวาคม 2561
– บริษัทฯ จัดตั้งใหม่เฉพาะจังหวัดยะลา ปัตตานีและนราธิวาส ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2558ถึง 31 ธันวาคม 2563
หักรายจ่ายการทำ R&D&I ได้สูงสุด 300%
รายจ่ายที่เกิดขึ้นตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2558ถึง 31 ธันวาคม 2562
ANGEL FUND
ลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
– จ่ายเป็นเงินลงทุนในหุ้น หรือลงทุนในหุ้นเพิ่มทุนของ Start-Up โดยถือหุ้น Start-Upไม่น้อยกว่า 2 ปีต่อเนื่องกัน
– ลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 100,000 บาท
– ใช้สิทธิลดหย่อนได้ในปี 2561 และ 2562
มาตรการภาษีเพื่อส่งเสริมระบบนิเวศวิสาหกิจเริ่มต้น แม้จะเป็นการดำเนินมาตรการในช่วงเวลาสั้น ๆแต่สิ่งที่ธุรกิจ Start-Up จะได้รับถือว่าคุ้มค่าและครบวงจร เป็นการลดภาระด้านค่าใช้จ่าย เพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินธุรกิจ ซึ่งจะส่งผลถึงการสร้างฐานภาษีอย่างยั่งยืนและเสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศในระยะยาวอีกด้วย
2,436 total views, 1 views today