080 175 2000 info@53ac.com

ทำธุรกิจแบบไหนดี ระหว่าง บุคคลธรรมดา กับนิติบุคคล

การตัดสินใจทำธุรกิจ สิ่งที่ผู้ประกอบการจำเป็นต้องรู้ และทำความเข้าใจ มีหลายประเด็นด้วยกันทั้งต้องรู้จักกับประเภทของกิจการ และต้องรู้หน้าที่สำคัญที่ต้องดำเนินการ รวมทั้งต้องศึกษาเงื่อนไขต่าง ๆ เพื่อตัดสินใจเลือกรูปแบบธุรกิจว่าจะเลือกทำธุรกิจแบบไหนดี ระหว่างเป็นกิจการรูปแบบบุคคลธรรมดา หรือแบบนิติบุคคล ดังนั้น เพื่อเป็นข้อมูลในการตัดสินใจ จึงมีข้อมูลเปรียบเทียบของธุรกิจทั้ง 2 แบบ มานำเสนอ เพื่อให้ง่ายต่อการตัดสินใจยิ่งขึ้น ดังนี้

 

ประเด็น บุคคลธรรมดา นิติบุคคล
จำนวนผู้ลงทุน

หรือเจ้าของกิจการ

1 คน 2 คนขึ้นไป

– ห้างหุ้นส่วน 2 คนขึ้นไป

– บริษัท 3 คนขึ้นไป

การจัดทำบัญชี

และตรวจสอบบัญชี

จัดทำบัญชี รายรับ – รายจ่าย

ตามประมวลรัษฎากร เพื่อควบคุม

รายได้ รายจ่าย และเก็บไว้เป็น

หลักฐาน เมื่อเจ้าหน้าที่ขอตรวจสอบ

จัดทำบัญชีตามมาตรฐานการบัญชี

และต้องมีการรับรองโดยผู้ตรวจสอบบัญชี ที่ได้รับอนุญาต

การหักค่าใช้จ่าย มี 2 แบบ

– หักค่าใช้จ่ายตามจริง

– หักค่าใช้จ่ายเหมาตามอัตราที่กำหนด

หักค่าใช้จ่ายตามจริง ต้องมีหลักฐานการรับและจ่ายเงินที่ถูกต้องตามหลักการบัญชี และเป็นไปตามประมวลรัษฎากร
อัตราภาษี

และการเสียภาษี

เสียภาษีอัตราก้าวหน้า 5% – 35%

จากรายได้หักค่าใช้จ่ายหักลดหย่อนแล้วค่อยนำมาคำนวณภาษี (เงินได้สุทธิ = รายได้ -ค่าใช้จ่าย -ค่าลดหย่อน) เงินได้สุทธิ x อัตราภาษี

เสียภาษีในอัตรา 15% – 20% จากยอดกำไรสุทธิหักค่าใช้จ่ายแล้ว

(กำไรสุทธิ = รายได้ – รายจ่าย)

กำไรสุทธิ x อัตราภาษี

ภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีเงินได้เกิน 1.8 ล้าน

ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม

กรณีเงินได้เกิน 1.8 ล้าน

ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม

ภาษีหัก ณ ที่จ่าย เมื่อมีการจ่ายเงินได้

ส่วนใหญ่ไม่ต้องหัก ณ ที่จ่าย

เมื่อมีการจ่ายเงินได้ ตั้งแต่ 1,000 บาทต้องหัก ณ ที่จ่าย ยกเว้น สัญญาต่อเนื่องที่ต้องหักแม้ยอดไม่ถึง และนำส่งกรมสรรพากร
ผลประกอบการมีกำไร เจ้าของกิจการรับเพียงผู้เดียว จัดสรรให้ผู้ถือหุ้นตามสัดส่วนของ

เงินลงทุน

ผลประกอบการขาดทุน – เสียภาษีขั้นต่ำ อัตรา 0.5% ของ

เงินได้ ถ้าภาษีไม่ถึง 5,000 บาท

ได้รับยกเว้น

– ผลขาดทุนไม่สามารถนำไปหัก

เงินได้ของปีอื่น

– ไม่ต้องเสียภาษี

– ผลขาดทุนสามารถนำไปหัก

จากกำไรปีอื่นได้ไม่เกิน 5 ปี

ความรับผิดชอบ รับผิดชอบหนี้สินที่เกิดขึ้นโดยไม่จำกัด หนี้สินของกิจการไม่เกี่ยวกับผู้ถือหุ้นผู้ถือหุ้นรับผิดไม่เกินมูลค่าหุ้น

ที่ค้างชำระ

 

จากข้อมูลข้างต้น เป็นเพียงข้อมูลบางส่วนสำหรับผู้ที่สนใจจะเริ่มต้นประกอบธุรกิจได้เห็นภาพชัดเจนขึ้นว่าจะเลือกแบบใด และแบบไหนจะเหมาะสมกับตนเอง ซึ่งทั้ง 2 รูปแบบ ต้องมีการจัดทำบัญชีให้ชัดเจน เพื่อควบคุมรายได้รายจ่าย และปฏิบัติทางภาษีให้ถูกต้องตามข้อกำหนดของกฎหมาย โดยหวังว่าข้อมูลเปรียบเทียบคงเป็นประโยชน์สำหรับผู้ที่กำลังตัดสินใจจะประกอบธุรกิจไม่มากก็น้อย

 

 2,848 total views,  1 views today