จับตาใบกำกับภาษีปลอม
เรื่องการใช้ใบกำกับภาษีปลอมเพื่อเลี่ยงภาษีนี้ เป็นเรื่องที่กรมสรรพากรไม่ได้นิ่งนอนใจแต่อย่างใดจึงได้พยายามป้องกันและแก้ปัญหาช่องว่างของการเก็บภาษีอากรที่เกิดขึ้นมาโดยตลอด โดยได้มีกฎหมายกำหนดบทลงโทษอย่างหนักทั้งทางแพ่งและทางอาญากับผู้ออกและผู้ใช้ใบกำกับภาษีปลอมนี้โดยบทลงโทษและความผิดของการใช้ใบกำกับภาษีปลอมมีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
นิยาม
ใบกำกับภาษีปลอมในทางแพ่ง หมายถึง ใบกำกับภาษีที่ถูกผู้อื่นปลอมขึ้นและกฎหมายยังให้ความหมายรวมถึงในกรณีใบกำกับภาษีที่ผู้รับประโยชน์ไม่สามารถนำพิสูจน์ได้ว่า บุคคลใดเป็นผู้ออกใบกำกับภาษีกฎหมายให้ถือว่าเป็นใบกำกับภาษีปลอม
ใบกำกับภาษีปลอมในทางอาญา หมายถึง ใบกำกับภาษีที่ผู้อื่นทำปลอมขึ้น โดยการปลอมทั้งฉบับหรือแต่ส่วนหนึ่งส่วนใด เติม หรือตัดทอนข้อความ หรือแก้ไขด้วยประการใด ๆ ในใบกำกับภาษีที่แท้จริงประทับตราปลอมหรือลงลายมือชื่อปลอมในใบกำกับภาษี
โทษของการออกใบกำกับภาษีปลอม
ประเด็น | ความรับผิดทางแพ่ง | โทษทางอาญา |
1. ออกใบกำกับภาษี ใบเพิ่มหนี้
ใบลดหนี้ โดยไม่มีสิทธิออกตาม กฎหมาย |
1. เสียเบี้ยปรับอีก 2 เท่าของจำนวนภาษีตามใบกำกับภาษี ใบเพิ่มหนี้ ใบลดหนี้ (มาตรา 89(6))
2. เสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 1.5 ต่อเดือนหรือเศษของเดือนของเงินภาษีที่ต้องชำระหรือนำส่ง (มาตรา 89/1) |
1. ระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 3 เดือน
ถึง 7 ปี และปรับตั้งแต่ 2,000 บาท ถึง 200,000 บาท (มาตรา 90/4(3)) |
2. นำใบกำกับภาษีปลอมไม่ว่า
ทั้งหมดหรือบางส่วนมาใช้ในการ คำนวณภาษี |
1. เสียเบี้ยปรับอีก 2 เท่าขอจำนวนภาษีตามใบกำกับภาษีนั้น (มาตรา 89(7))
2. เสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 1.5 ต่อเดือน หรือเศษของเดือนของเงินภาษีที่ต้องชำระหรือนำส่ง (มาตรา 89/1) |
1. เสียเบี้ยปรับอีก 2 เท่าขอจำนวนภาษีตามใบกำกับภาษีนั้น (มาตรา
89(7)) 2. เสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 1.5 ต่อเดือน หรือเศษของเดือนของเงินภาษีที่ต้องชำระหรือนำส่ง (มาตรา 89/1) |
จะเห็นได้ว่า หากเป็นผู้กระทำความผิดแล้ว ไม่ว่าจะเป็นผู้ใช้หรือผู้ออกใบกำกับภาษีปลอมต่างก็มีบทลงโทษไม่ต่างกัน ดังนั้น การปฏิบัติทางภาษีอย่างถูกต้องครบถ้วน จะช่วยให้สามารถประกอบธุรกิจต่อไปได้อย่างมั่นใจ ไม่ต้องคอยห่วงหน้าพะวงหลังอีกต่อไปหากประกอบธุรกิจอยู่ในกติกาที่กฎหมายกำหนด ซึ่งจะเป็นประโยชน์แก่ทุกฝ่ายด้วย
2,329 total views, 1 views today