บริการงบเปล่า (ทำบัญชี-ตรวจสอบ-ภาษี+นำยื่น) 6,500 บาท ทั่วประเทศ
** ค่าบริการ อาจเปลี่ยนแปลง ในเดือน พฤษภาคม ของทุกปี
ครอบคลุมงานบริการ
- จัดทำงบการเงิน(รับรองโดยผู้สอบบัญชีรับอนุญาต)
- จัดทำเอกสารลงบัญชีตามที่กฎหมายกำหนด ได้แก่ สมุดรายวัน บัญชีแยกประเภท งบทดลอง และงบการเงิน
- จัดทำแบบภาษีเงินได้นิติบุคคล (ภงด. 50)
- จัดทำเอกสารประกอบการยื่น เช่น แบบนำส่งงบการเงิน (สบช.3) , บัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น (บอจ.5 )
- ขึ้นทะเบียนเป็นผู้ทำบัญชีตามที่กฎหมายกำหนด(วุฒิปริญญาตรี)
- นำยื่นต่อหน่วยงานราชการต่างๆ ได้แก่ สรรพากร , กระทรวงพาณิชย์
- กรมสรรพากรนำยื่นภายใน 150 วันนับจากวันสิ้นรอบบัญชี
- กระทรวงพาณิชย์นำยื่นผ่านระบบ e-filing
- นำส่งบัญชีผู้ถือหุ้นภายใน 14 วัน นับจากวันประชุมสามัญผู้ถือหุ้น
- งบการเงินนำยื่นภายใน 1 เดือนนับจากวันประชุมฯอนุมัติงบ
- การส่งจดหมายเชิญประชุม และลงประกาศในหนังสือพิมพ์ท้องถิ่น (หากท่านต้องการ)
- นำยื่นภาษีหัก ณ ที่จ่าย เฉพาะที่เกี่ยวกับการจ่ายชำระค่าบริการ ทำบัญชี และตรวจสอบบัญชี (ภงด.3 และ ภงด.53)
- นำยื่น ภาษีธุรกิจเฉพาะ สำหรับกรณีที่มีเงินให้กู้ยืมแก่กรรมการ แสดงอยู่ในงบการเงิน (แบบ ภธ.40)
หมายเหตุ
- งบเปล่า คือ งบที่ยังไม่ได้ดำเนินธุรกิจ หรือไม่มีกิจกรรมการดำเนินงาน ซึ่งส่วนใหญ่จะมีรายการบัญชีที่เกี่ยวกับการรักษาสภาพธุรกิจ
-
ค่าบริการ จะปรับเพิ่ม ระหว่าง เดือน พฤษภาคม ของทุกปี
- สำนักงานฯ ยินดีให้คำปรึกษาทางด้านบัญชีและภาษีอากรต่อท่าน โดยไม่คิดมูลค่า
เรามีพนักงานไม่น้อยกว่า 30 ท่าน ซึ่งทุกท่านสำเร็จการศึกษาขั้นต่ำระดับปริญญาตรี เรามีทีมงานชาวต่างชาติซึ่งปฏิบัติงานเต็มเวลาคอยประสานงานสำหรับกลุ่มลูกค้าต่างประเทศ ท่านจึงสามารถไว้ใจในงานบริการของเราได้ว่า ไม่เกิดปัญหาเรื่องการสื่อสารอย่างแน่นอน
เมื่อตัดสินใจ ใช้บริการ จัดทำงบเปล่า กับ นาราการบัญชี ดังนี้
- จัดเตรียมเอกสาร แล้ว แสกนไฟล์ทางอีเมล์ หรือ ถ่ายรูป ส่งไลน์ รายละเอียดเอกสารที่ต้องเตรียม คลิ๊กที่นี้
- ใบเสนอราคา จัดส่งให้ภายใน 1 ชั่วโมง เมื่อได้รับเอกสารทางอีเมล์ หรือ ไลน์
- จ่ายชำระค่าบริการ ส่วนแรก 50%
- ลูกค้า เซ็นต์งบการเงิน และแบบภาษีที่เกี่ยวข้อง (ลูกค้ากรุงเทพฯ เซ็นต์ที่ นาราการบัญชี กรณีต่างจังหวัดจะจัดส่งเอกสารให้ทางไปรษณีย์ ) พร้อมจ่าย ชำระค่าบริการส่วนที่เหลือ
- รับหลักฐาน การยื่นงบการเงินและยื่นภาษีที่เกี่ยวข้องคืนทางไปรษณีย์ ส่วนฉบับจริงจะแสกนไฟล์ (pdf.file) ส่งทางอีเมล์
เงื่อนไขการเสนอค่าบริการ
- กรณีมีรายละเอียดต้นงวดยกมาที่เป็นสาระสำคัญ ซึ่งจำเป็นต้องพิสุจน์ความถูกต้อง ไม่ถือว่าเป็นงบเปล่าในความหมายนี้
- กรณีในระหว่างปี มีการเคลื่อนไหวของรายการธนาคาร หรือมีการยื่นแบบภาษี(ที่ไม่ใช่แบบเปล่า) จะไม่ใช่งบเปล่า ตามความหมายนี้ นาราฯ อาจเรียกเก็บเพิ่มตามเความเหมาะสม
- ค่าบริการดังกล่าวสำหรับธุรกิจที่มีทุนไม่เกิน 5 ล้านบาท เท่านั้น กรณีที่ทุนจดทะเบียนมากกว่า อาจ เรียกเก็บเพิ่มตามความเหมาะสม
- เอกสารที่ต้องเตรียม NAC003-fs-doc
- เราไม่ประสงค์ที่จะให้บริการผ่านนายหน้า หรือคนกลาง ทั้งนี้เพื่อที่ เราจะได้ให้บริการด้วยราคาที่สมเหตุสมผล และเพื่อให้งานบริการเรามีประสิทธิภาพสูงสุด (ขออภัยด้วยครับ)
หน้าที่บริษัท เกี่ยวกับ จัดทำบัญชี
บริษัทจำกัด เป็นผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี โดยจะให้กรรมการบริษัทเป็นผู้ดำเนินการแทน ซึ่งหน้าที่และความรับผิดชอบของผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีตามพระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. 2543 มีดังนี้
- จัดทำบัญชีรายวัน บัญชีแยกประเภท บัญชีสินค้า และบัญชีประเภทอื่นตามความจำเป็นแก่การทำบัญชี โดยเริ่มตั้งแต่วันที่จดทะเบียนเป็นบริษัท ถ้าไม่จัดทำบัญชีมีความผิด ปรับ
- บริษัท ไม่เกินสามหมื่นบาท และปรับเป็นรายวันอีกไม่เกินวันละหนึ่งพันบาทจนกว่าจะปฏิบัติให้ถูกต้อง
- กรรมการผู้จัดการ ไม่เกินสามหมื่นบาท และปรับเป็นรายวันอีกไม่เกินวันละหนึ่งพันบาทจนกว่า จะปฏิบัติให้ถูกต้อง
- จัดให้มีผู้ทำบัญชีที่มีคุณสมบัติครบถ้วนตามกฎหมาย เพื่อเป็นผู้รับผิดชอบในการจัดทำบัญชีของบริษัท ซึ่งอาจเป็นพนักงานของบริษัท ผู้รับจ้างทำบัญชีอิสระ หรือสำนักงานรับจ้างทำบัญชีก็ได้ ซึ่งเป็นผู้ที่จบไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีทางการบัญชี หรือเทียบเท่าเป็นผู้ทำบัญชีให้ ยกเว้นบริษัทจำกัดที่มีทุนจดทะเบียนไม่เกิน 5 ล้านบาท มีสินทรัพย์รวมไม่เกิน 30 ล้านบาท และมีรายได้รวมไม่เกิน 30 ล้านบาท สามารถให้ผู้ที่จบไม่ต่ำกว่าอนุปริญญา หรือประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ทางการบัญชีหรือเทียบเท่าเป็นผู้ทำบัญชีก็ได้ ซึ่งบริษัทจะต้องควบคุมดูแลผู้ทำบัญชีให้จัดทำบัญชีให้ตรงต่อความเป็นจริงและเป็นไปตามมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ถ้าไม่จัดให้มีผู้ทำบัญชีมีความผิด ปรับ
- บริษัท ไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท
- กรรมการผู้จัดการ ไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท
- ต้องส่งมอบเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชี ได้แก่ บันทึก หนังสือ หรือเอกสารใดๆ ที่ใช้เป็นหลักฐานในการลงรายการในบัญชี ให้กับผู้ทำบัญชีให้ครบถ้วนถูกต้อง เพื่อให้บัญชีที่จัดทำขึ้นสามารถแสดงผลการดำเนินงาน ฐานะการเงิน หรือการเปลี่ยนแปลงฐานะการเงินที่เป็นอยู่ตามความเป็นจริงและตามมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ถ้าไม่จัดให้มีผู้ทำบัญชีมีความผิด ปรับ
- บริษัท ไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท
- กรรมการผู้จัดการ ไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท
4.ต้องปิดบัญชีครั้งแรกภายใน 12 เดือน นับแต่วันเริ่มทำบัญชีและให้ปิดบัญชีทุกรอบ 12 เดือน นับแต่วันปิดบัญชีครั้งก่อน เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากสารวัตรใหญ่บัญชีหรือสารวัตรบัญชีให้เปลี่ยนรอบปี บัญชีแล้ว อาจปิดบัญชีก่อนครบรอบ 12 เดือนได้ ถ้าไม่จัดให้มีผู้ทำบัญชีมีความผิด ปรับ
- บริษัท ไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท
- กรรมการผู้จัดการ ไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท
5.จัดทำงบการเงิน ประกอบด้วย งบแสดงฐานะการเงิน งบกำไรขาดทุน งบแสดงการเปลี่ยนแปลงในส่วนของเจ้าของ หมายเหตุประกอบงบการเงิน และ งบการเงินเปรียบเทียบกับปีก่อน ถ้าไม่จัดทำมีความผิด ปรับ
- บริษัท ไม่เกินห้าหมื่นบาท
- กรรมการผู้จัดการ ไม่เกินห้าหมื่นบาท
โดยงบการเงินต้องได้รับการตรวจสอบและแสดงความเห็นจากผู้สอบบัญชีรับอนุญาต ถ้าไม่ดำเนินการมีความผิด ปรับ
- บริษัท ไม่เกินสองหมื่นบาท
- กรรมการผู้จัดการ ไม่เกินสองหมื่นบาท
- จัดส่งงบการเงินที่ได้รับอนุมัติจากที่ประชุมใหญ่ ผ่านทางระบบอิเล็กทรอนิกส์ (DBD e-Filing) ไปยังกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ภายในหนึ่งเดือนนับแต่วันที่งบการเงินได้รับอนุมัติจากที่ประชุมใหญ่ ถ้าไม่ดำเนินการมีความผิด ปรับ
- บริษัท ไม่เกินห้าหมื่นบาท
- กรรมการผู้จัดการ ไม่เกินห้าหมื่นบาท
- เก็บรักษาบัญชีและเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชีไว้ ณ สถานที่ทำการ หรือสถานที่ที่ใช้ผลิตหรือเก็บสินค้าเป็นประจำ หรือสถานที่ที่ใช้เป็นที่ทำงานประจำ เป็นเวลาไม่น้อยกว่า 5ปี นับแต่วันปิดบัญชี เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากสารวัตรใหญ่บัญชีหรือสารวัตรบัญชีให้เก็บไว้ ณ สถานที่อื่นได้ แต่ถ้บัญชีหรือเอกสารประกอบการลงบัญชีสูญหายหรือเสียหาย บริษัทต้องแจ้ง สารวัตรใหญ่บัญชี หรือสารวัตรบัญชีภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ทราบหรือ ควรทราบ โดยทั้งหมดนี้ ให้ยื่นเรื่องผ่านระบบงานการอนุญาต (DBD e-Permit) ถ้าไม่ดำเนินการมีความผิด ปรับ
- บริษัท ไม่เกินห้าพันบาท
- กรรมการผู้จัดการ ไม่เกินห้าพันบาท
เรามุ่งมั่นพัฒนาระบบงาน เพื่อให้บริการต่อลูกค้าจำนวนมาก ด้วยราคายุติธรรม
ถาม – ตอบ เรื่องงบเปล่า การจัดทำงบเปล่า ยื่นงบเปล่า
ถาม 1: ดิฉันสนใจให้จัดทำบัญชีคะ แต่ไม่ทราบว่าเป็นแบบงบเปล่า หรือไม่ คือว่า ตั้งแต่เปิดมา ยังไม่ได้ทำธุรกิจอะไรเลย และ บริษัทตั้งอยู่ที่จังหวัดชลบุรี ไม่ทราบว่าบริการให้ได้หรือเปล่าคะ แล้วต้องเตรียมเอกสารอะไรบ้าง จะทำงานร่วมกันได้อย่างไรนาราฯ: ขอบคุณมากครับสำหรับการติดต่อมาและสนใจในบริการของนาราการบัญชี เท่าที่ทราบข้อมูลก็คืองบเปล่า ครับ ค่าบริการจัดทำงบเปล่า พร้อมนำยื่น คือ 6,500 บาท (เมษายน – พฤษภาคม ราคาอาจเปลี่ยนแปลง) นาราการบัญชี จะส่งเอกสารให้ท่านเซ็นต์ทางไปรษณีย์แล้ว นาราการบัญชี จะนำยื่นเอกสารต่อหน่วยงานราชการแทนท่านในกรุงเทพฯ เอกสารที่ต้องใช้สำหรับการจัดทำงบเปล่าประกอบด้วย
หมายเหตุ งบเปล่า คืองบที่ยังไม่ได้ดำเนินธุรกิจ จึงไม่มีรายได้และค่าใช้จ่าย เว้นแต่ ค่าใช้จ่ายเพื่อรักษาสภาพทางธุรกิจ เท่านั้น |
ถาม 2 – บริษัทเราผู้บริหารเป็นคนอินเดีย จดทะเบียนจัดตั้งเมื่อ เมษายน 2560 แต่ยังไม่ได้ทำธุรกรรมอะไรเลย แต่มีเงินโอนเข้ามาตอนเปิดบริษัทจาก ประเทศอินเดีย จำนวน 1 ล้านบาท เพื่อชำระค่าหุ้น และมีค่าใช้จ่ายเดินทางของผู้บริหาร และค่าโรงแรม ที่เรียกเก็บบริษัทอีกหนึ่งเที่ยว ไม่ทราบว่าคิดราคางบเปล่า ได้ไหมคะ และเป็นไปได้ไหม ที่จะเสร็จในวันเดียวนาราฯ – อันที่จริง งบเปล่า ต้องเป็นงบการเงินที่ยังไม่ได้ดำเนินงาน ครับ ซึ่งก็ไม่ควรมีค่าใช้จ่าย แต่ถ้าไม่มาก ทาง นาราฯ ก็ยินดีบันทึกให้ได้ครับ โดยเราสามารถทำให้แล้วเสร็จ ได้ในวันเดียวเช่นกันครับ ดังนั้น ผู้บริหารท่าน สามารถเซ็นต์เอกสารได้ภายใน 24 ชั่วโมงครับ แต่สำหรับการนำยื่น เราก็สามารถยื่นได้ทันที่ ทั้งกรมพัฒน์และสรรพากร เว้นแต่ ภงด.53 ที่ทำจ่ายค่าจ้างให้ บริษัท นาราการบัญชี จำกัด สำหรับค่าบริการนี้ สรรพากรจะเปิดรับแบบภาษี ในวันที่ 1 – 7 ของเดือนถัดไป |
สนใจบริการ หรือ ข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ
บริษัท นารา การบัญชี จำกัด
กรณีเร่งด่วน/ หลังเลิกงาน โทร 080 175 2000 คุณ ธนา
Line ID: @nara53 |
แผนที่
https://goo.gl/maps/GBPpLfS42QsZg4jf6
เดินทาง รถไฟฟ้า สายสีเหลือง สถานี โชคชัย 4 ประตูทางออก 4 นาราฯ อยู่ในซอยลาดพร้าว 52
บริการครบ สำหรับบริษัท ที่ไม่ได้ดำเนินธุรกิจ
- จดทะเบียนเปิด พร้อมวางแผนภาษี เพื่อประหยัดและลดภาระ
- แก้ไข เปลี่ยนแปลง รายการสำคัญ เอกสารของบริษัท
- จัดทำงบการเงิน ตรวจสอบ และนำยื่น / งบเปล่า
- จดทะเบียนเลิก ปิดบริษัท ชำระบัญชี เคลียร์ภาษีย้อนหลัง
- เป็นตัวแทน เข้าพบ และชี้แจง กรณี ที่หน่วยงานราชการ เชิญพบ
- หมายเรียกตำรวจ เคลียร์ค่าปรับ
- ให้ใช้ที่อยู่ในการจดทะเบียนบริษัท
- จัดเก็บเอกสารบัญชี เพื่อรอทำลาย ตามกฎหมาย
งบเปล่า – งบไม่ดำเนินธุรกิจ ประเด็นต้องรู้
- ตรวจสอบสถานะบริษัท คงอยู่ หรือ ร้าง
บริการฟรี เพื่อตรวจสถานะให้กับลูกค้า เพื่อให้รู้ว่าบริษัทยังคงสถานะ (ไม่ได้ร้าง) รวมถึงตรวจสอบเรื่อง จดทะเบียนภาษีมุลค่าเพิ่มด้วย
- คัดเอกสารการจดทะเบียน งบเปล่า
เอกสารสำคัญบริษัท เช่น หนีังสือรับรอง บอจ.5 เรามีบริการคัดเอกสาร เสร็จภายใน 1 วันทำการ
- การเก็บหรือ คงสภาพ บริษัท เป็นงบเปล่า
บริษัทยังมีสถานะเป็นบริษัท ได้ตลอดไป ตราบเท่าที่ไม่มีการประกาศให้เป็นบริษัทร้าง หรือเพิกถอนทะเบียนนิติบุคคล
- บริษัท-งบเปล่า ที่จด VAT และ ไม่จด VAT
บริษัทที่ยังไม่ได้ดำเนินธุรกิจ มีสิทธิ์เลือกที่จะจด ภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) หรือไม่จด VAT ก็ได้ โดยปกติแล้ว บริษัทที่ยังไม่ดำเนินธุรกิจ ไม่ควรจด VAT เพราะไม่เข้าเงื่อนไขของผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม และการทีไม่ VAT จะมีผลดีต่อบริษัทดังนี้
1. ไม่ต้องนำยื่น แบบภาษีมูลค่าเพิ่ม รายเดือน (ภพ.30)
2. ไม่ต้องถูกตรวจสอบ หรือควบคุม โดยทีมตรวจสอบภาษี
- ภาษีเงินได้นิติบุคคล สำหรับงบเปล่า
เกณฑ์การเสียภาษี สำหรับบริษัทไม่ดำเนินธุรกิจ ก็เช่นเดียวกับ บริษัทขนาดกลางและขนาดย่อม SME กล่าวคือ
– กำไรสุทธิ ส่วนที่ไม่เกิน 300,000 บาท
– ส่วนที่เกิน 300,000 แต่ไม่เกิน 3 ล้าน เสีย 15%
– ส่วนที่เกิน 3 ล้านบาท เสียภาษี 20%
- การวางแผนภาษี สำหรับงบเปล่า
จำเป็นอย่างมา ที่ต้องวางแผน ตั้งแต่ก่อนการจดทะเบียน เพราะทุนจดทะเบียนมีผลโดยตรง ต่อภาษีเงินได้นิติบุคคล(CIT) และภาษีธุรกิจเฉพาะ (SBT)
– ตัวอย่าง ทุน 10 ล้านบาท เสียภาษีรวม —- บาท
– ตัวอย่าง ทุน 0.25 ล้าน เสียภาษีแค่ —– บาท
(ดูตัวอย่าง คลิ๊กที่นี้)
- ภาษีธุรกิจเฉพาะ สำหรับ บริษัทงบเปล่า
สำหรับบริษัทที่จดทะเบียนแต่ไม่ได้ชำระค่าหุ้นสำหรับทุนจดทะเบียน ในทางบัญชี จะต้องบันทึกเงินรายการชำระค่าหุ้นเป็นเงินให้กู้ยืมแก่กรรมการ และคิดดอกเบียนจากเงินให้กู้ยืมดังกล่าว แล้วเสียภาษีธุรกิจเฉพาะสำหรับรายได้ดอกเบี้ย นี้ในอัตรา 3.3%
- อัตราค่าปรับ ยื่นล่าช้า และไม่ได้ยื่นงบการเงิน
ปกติ จะแบ่งค่าปรับออกเป็น 2 กรณี คือ ล่าช้าเกิน 1 เดือน นับจากวันประชุมผู้ถือหุ้น ค่าปรับสูงสุด 12,000 ส่วนค่าปรับที่กรมสรรพากร จะเสียค่าปรับ 4,000 บาท (ยื่นแบบภงด.50 ล่าช้า และงบการเงินล่าช้า) สำหรับล่าช้าอีกกรณีคือ ประชุมล่าช้าเกิน 4 เดือน นับจากวันสิ้นรอบ เสียค่าปรับ 12,000 บาท สำหรับสรรพากรยังคงเดิม คือถ้าเกิน 150 วัน จะต้องเสียค่าปรับสูงสุด 4,000 บาท
- ทำงบการเงินย้อนหลัง และชำระค่าปรับที่ค้างทั้งหมด
กรณีที่ท่าน ไม่ได้ยื่นงบมาหลายปี งบการเงินเหล่านั้น ต้องจัดทำ แล้วต้องดำเนินการตรวจสอบ โดยผู้สอบบัญชี
- บริษัทไม่ดำเนินธุรกิจ/ งบเปล่า สามารถไม่ดำเนินงาน ได้นาน แค่ไหน
ไม่มีข้อกำหนดในส่วนนี้ ตราบใดที่งบการเงินยังคงยื่น ก็เหมือน รักษาสภาพไว้ อย่างไรเสีย หากท่านไม่ยื่นงบการเงินเกิน 3 ปี กรมพัฒน์ อาจดำเนินการตัดท่านจากการเป็น บริษัทจำกัด อย่างไรเสีย ก่อนที่กรมฯ จะตัดบริษัทท่านทิ้ง กรมฯ จะมีหน้งสือแจ้งให้ท่านทราบก่อน
- บริษัทร้าง หรือ สิ้นสภาพการเป็นบริษัท เพราะเหตุถูกเพิกถอน จากกระทรวงพาณิชย์
บริษัทที่ไม่ได้ยื่นงบการเงินเกิน 3 ปี อาจถูกตัดสินให้สิ้นสภาพการเป็นบริษัท แม้ว่าบริษัทดังกล่าว ท่านก็สามารถฟื้นคืนบริษัทกลับมาทำธุรกิจได้ ครั้งหนึ่ง
- ฟื้นบริษัท ที่ถูกร้าง
ปกติ ท่านสามารถฟื้นบริษัทเพื่อนำมาใช้ประกอบธุรกิจได้ การฟื้นบริษัท ท่านต้องอาศัยทนายความ
- บริษัทไม่ดำเนินธุรกิจ/ งบเปล่า กับ บัญชีเงินฝากธนาคาร
กฎหมายไม่ได้บังคับให้เปิด จึงไม่ต้องเปิด แต่ถ้าหากท่านเปิดบัญชีธนาคาร สิ้นปีต้องให้ข้อมูลเพื่อทำบัญชีและตรวจสอบบัญชี ด้วย
- บริษัทไม่ดำเนินธุรกิจ/ งบเปล่า กับ การถือครองอสังหาริมทรัพย์
บริษัทย่อมตั้งมาเพื่อค้ากำไร เมื่อทรัพย์สิน สรรพากรอาจประเมินว่า ทรัพย์สินดังกล่าวนั้นก่อให้เกิดรายได้ และเสียภาษีจากค่าเช่า ถ้ามีการใช้ประโยชน์นั้น โดยบริษัทหรือบุคคลอื่น
- การปิดบริษัทไม่ดำเนินธุรกิจ/ งบเปล่า
ปกติแล้วใช้เวลาไม่เกิน 3 อาทิตย์ แต่กรณีที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มด้วย กระบวนการอาจต้องรอคิวตรวจสอบ จากเจ้าหน้าที่ และยังคงต้องยื่นแบบ ภพ.30 ไปอีกประมาณ 6 เดือน จนกว่า จะมีหนังสือแจ้งกลับจากสรรพากร
- การโอนบริษัทที่ไม่ได้ดำเนินธุรกิจ
สามารถทำได้ แต่ท่านต้องมั่นใจว่าบริษัท ที่รับโอนไม่มีมีภาระความเสี่ยงทางดานหนี้สิน และทางด้านกฎหมาย และในการโอนควรดำเนินการให้ถูกต้องตามกฎหมาย
- การประชุมผู้ถือหุ้น เพื่อรับรองงบบริษัทไม่ดำเนินธุรกิจ/ งบเปล่า
ปกติแล้วจะต้องจัดให้มีการประชุม ภายใน 4 เดือน นับจากวันสิ้นรอบบัญชี ในบางรายอาจไม่มีการประชุมจริง แต่อย่างไรเสีย ยังคงต้องระบุวันประชุมในงบการเงิน เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมาย
- ภาษีธุรกิจเฉพาะ และการจ่ายชำระค่าหุ้น บริษัทไม่ดำเนินธุรกิจ
หลายบริษัท เลือกที่จะไม่จ่ายชำระค่าหุ้นจริง และสรรพากร ก็ยอมรับได้หากว่า บันทึกเงินชำระค่าหุ้นเป็นเงินให้ยืมกรรมการ และชำระภาษีธุรกิจเฉพาะ จากรายได้ดอกเบี้ยรับดังกล่าว ในอัตรา 3.3% เมื่อมีการรับชำระค่าดอกเบี้ย
- การวางแผน สำหรับการเปิดบริษัท – จดทะเบียนบริษัทที่ไม่ดำเนินธุรกิจ/ งบเปล่า
หลายบริษัทอาจต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะที่เกิดจากเงินทุนจดทะเบียน ในอัตรา ปีละหลายหมื่น ถึงแสน ต่อปี หรือ อาจต้องเสียค่าทำภาษีรายเดือน เพราะไม่ได้เข้าใจเรื่องการวางแผน แนะนำให้ท่านจดทะเบียน ด้วยทุนน้อยที่สุด อาจเริ่มจากทุน แค่ 15 บาท ก็ทำธุรกิจได้ แต่ที่เหมาะสมอาจเป็น 1 ล้านบาท แล้วเรียกชำระบางส่วน อย่างต่ำ 25% และที่สำคัญหากยังไม่ดำเนินธุรกิจ ก็ไม่ควรจดทะเบียนภาษีมลค่าเพิ่ม เพื่อลดภาระในการยื่นภาษีในแต่ละเดือน
- การทิ้งบริษัท (โดยไม่จดทะเบียนเลิก) สำหรับบริษัทที่ไม่ได้ดำเนินธุรกิจ/ งบเปล่า
เป็นเรื่อง ที่ผิดกฎหมาย ถึงแม้ว่า หากท่านไม่นำยื่นงบการเงิน 3 ปี ติดต่อกัน จะได้รับการพิจารณาให้เพิกถอนบริษัท จากกระทรวงพาณิชย์ แต่ในเชิงภาษี ยังมีภาระที่ต้องจ่ายโดยไม่มีการกำหนดอายุความ และที่สำคัญ เมื่อท่านไม่ได้ยื่นงบการเงิน กระทรวงพาณิชย์จะส่งเรื่องให้ ตำรวจออกหมายเรียก ต่อท่าน เพื่อดำเนินคดีต่อไป
- หมายเรียกตำรวจ สำหรับบริษัทไม่ดำเนินธุรกิจ/ งบเปล่า
หากท่านไม่ได้ยื่นงบการเงินต่อกระทรวงพาณิชย์ กระทรวงฯ จะแจ้งให้ตำรวจ ออกหมายเรียกต่อท่าน เพื่อดำเนินชำระค่าปรับ และนำยื่นงบให้ถูกต้อง กรณีท่านเพิกเฉยจะส่งเรื่องต่อศาลเพื่อพิพากษาลงโทษต่อไป โดยมีอายุความ 5 ปี นับจากวันพิพากษา
- บริษัทไม่ดำเนินธุรกิจ กับ การขอใบอนุญาตทำงานให้ชาวต่างชาติ
ไม่สามารถขอใบอนุญาตทำงานให้ชาวต่างชาติ เนื่องจากไม่มีรายได้มากพอที่จะจ่ายค่าใช้จ่ายบริษัทโดยเฉพาะค่าจ้างแรงงาน สำหรับคนต่างชาติและพนักงานคนไทย อีก 4 คน ตามเกณฑ์ของ Immigration Office ซึ่งโดยปกติจะมีการกำหนดขั้นต่ำเกี่ยวกับ เงินเดือนและภาษีที่ต้องชำระ
งบเปล่า กับ ประเด็นที่น่าสนใจ
88,851 total views, 2 views today