ค่าปรับกับภาษีมูลค่าเพิ่ม
หลายคนพอได้ยินคำว่า “ภาษีมูลค่าเพิ่ม” หรือ “VAT” แล้วจะหยุดชะงักหรือหยุดคิดที่ค่อนไปทางสร้างความหนักใจและยุ่งยากใจเพราะเป็นเรื่องเข้าใจยากและเป็นปัญหาของการดำเนินธุรกิจที่จะทำให้ปวดหัว ไม่ว่าจะเป็นเบี้ยปรับหรือเงินเพิ่มสำหรับกรณียื่นแบบ ภ.พ.30ล่าช้า และหากรายได้ถึงเกณฑ์จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มแต่ไม่ได้ดำเนินการจดทะเบียนให้ถูกต้องก็ต้องเสียเงินค่าปรับอาญาอีก วารสารสรรพากรจึงขอนำเรื่องค่าปรับอาญาเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่มที่หลายคนอาจไม่รู้มานำเสนอเป็นข้อมูลให้ได้รู้และเข้าใจเพื่อจะได้ปฏิบัติให้ถูกต้องและไม่สิ้นเปลืองเงินในกระเป๋าเรื่องค่าปรับนี้อีกต่อไป
ค่าปรับอาญา เป็นบทลงโทษอย่างหนึ่งตามประมวลรัษฎากร ที่กำหนดโทษเป็นจำนวนเงินที่กฎหมายกำหนดขึ้นเพื่อลงโทษทางอาญาแก่ผู้กระทำความผิดต่อกฎหมายหรือกำหนดโทษเป็นจำคุก หรือทั้งปรับทั้งจำซึ่งมีบทกำหนดโทษ ดังนี้
บทกำหนดโทษกรณีปฏิบัติฝ่าฝืนเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม
กรณีปฏิบัติฝ่าฝืน | ฐานความผิด | ปฏิบัติฝ่าฝืน | โทษ |
1. ผู้ประกอบการซึ่งมีหน้าที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มประกอบกิจการโดยไม่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม | มาตรา 90/2 | มาตรา 85/1 | จำคุกไม่เกิน 1 เดือน/
ปรับ 5,000 บาท หรือ ทั้งจำทั้งปรับ |
2. ผู้ประกอบการจดทะเบียนมีการเปลี่ยนแปลงไม่แจ้ง
2.1 การเปลี่ยนแปลงรายการทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม 2.2 เปิดสถานประกอบการเพิ่มเติมหรือปิดสถานประกอบการบางแห่ง 2.3 ย้ายสถานประกอบการ 2.4 โอนกิจการบางส่วน หรือรับโอนกิจการบางส่วน 2.5 เลิกประกอบกิจการหรือโอนกิจการทั้งหมด 2.6 หยุดประกอบกิจการทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มหรือปิดสถานประกอบการบางแห่งชั่วคราวเกิน 30 วัน |
มาตรา 90/7
มาตรา 90/1(3)
มาตรา 90/(9) มาตรา 90/1(4)
มาตรา 90/1(5)
มาตรา 90/(10) |
มาตรา 85/6
มาตรา 85/7
มาตรา 85/8 มาตรา 85/13
มาตรา 85/13วรรค 1 หรือมาตรา 85/15 มาตรา 85/12 |
ปรับไม่เกิน 2,000 บาท
ปรับไม่เกิน 5,000 บาท
ปรับไม่เกิน 2,000 บาท ปรับไม่เกิน 5,000 บาท
ปรับไม่เกิน 5,000 บาท
ปรับไม่เกิน 2,000 บาท |
3. ผู้ประกอบการจดทะเบียน
ไม่คืนใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
|
มาตรา 90/(8) | มาตรา 85/7 วรรค 3
มาตรา 85/8 วรรค 2 มาตรา 85/15วรรค 2 มาตรา 85/17วรรค 2 |
ปรับไม่เกิน 2,000 บาท |
4. ผู้ประกอบการจดทะเบียนเจตนาหลีกเลี่ยง หรือพยายามหลีกเลี่ยง
ภาษีมูลค่าเพิ่ม ออกใบกำกับภาษี ใบเพิ่มหนี้ หรือใบลดหนี้โดยไม่มีสิทธิที่จะออก |
มาตรา 90/4(1) | มาตรา 86 วรรค 2
หรือมาตรา 86/1 |
จำคุกตั้งแต่ 3เดือนถึง 7 ปีและปรับตั้งแต่
2,000-200,000 บาท |
5. ผู้ประกอบการเจตนานำใบกำกับภาษีปลอม หรือใบกำกับภาษีที่ออกโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายไปใช้ในการเครดิตภาษี | มาตรา 90/4(7) | จำคุกตั้งแต่ 3 เดือน
ถึง 7 ปี และปรับตั้งแต่ 2,000-200,000 บาท |
|
6. ผู้ประกอบการจดทะเบียน
ไม่จัดทำรายงาน |
มาตรา 90/3(3) | มาตรา 87 หรือ 87/1 | จำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาทหรือทั้งจำทั้งปรับ |
7. ผู้ประกอบการจดทะเบียน
ไม่ยื่นแบบแสดงรายการภาษี |
มาตรา 90(2) | มาตรา 83 หรือ 83/1 | ปรับไม่เกิน 2,000 บาท |
8. จงใจไม่เก็บและรักษาใบกำกับ
ภาษีหรือสำเนาใบกำกับภาษี |
มาตรา 90(16) | มาตรา 87/3 | ปรับไม่เกิน 2,000 บาท |
9. ไม่ปฏิบัติตามหมายเรียก
หรือคำสั่งของเจ้าพนักงาน ประเมิน |
มาตรา 90/2(7) | มาตรา 88/4 | จำคุกไม่เกิน 1 เดือน หรือปรับไม่เกิน 5,000 บาทหรือทั้งจำทั้งปรับ |
นอกจากบทกำหนดโทษเป็นค่าปรับทางอาญาตามประมวลรัษฎากรดังกล่าวแล้วยังมีบทลงโทษกรณีไม่ปฏิบัติตามกฎหมายอีกหลายกรณี ซึ่งท่านคงมองเห็นปัญหาที่จะตามมากันบ้างแล้ว ทางออกที่ดีที่สุดคือเลือกปฏิบัติให้ถูกต้องดีกว่า
6,773 total views, 4 views today