080 175 2000 info@53ac.com

การร้องทุกข์ของลูกจ้าง – ร้องเรียนนายจ้างโรงแรม-ผู้ประกอบการ-ผู้ว่าจ้าง

ลูกจ้างเรียกร้องสิทธิของตนอันเนื่องมาจากการฝ่าฝืนกฎหมายแรงงาน ของนายจ้างได้โดย
– ลูกจ้างนำคดีไปฟ้องศาลแรงงาน
– ลูกจ้างยื่นคำร้องทุกข์ต่อพนักงานตรวจแรงงาน

การยื่นคำร้องทุกข์ของลูกจ้างหรือทายาท
– ยื่นคำร้องทุกข์ตามแบบที่อธิบดีกำหนด
– ยื่นต่อพนักงานตรวจแรงงานในท้องถิ่นที่ลูกจ้างทำงานยู่

การพิจจารณาคำร้องทุกข์ของพนักงานตรวจแรงงาน
– เร่งสอบสวนข้อเท็จจริงจากนายจ้าง ลูกจ้าง และพยานโดยเร็ว รวมทั้งการรวบรวมหลักฐานที่เกี่ยวข้องด้วยเมื่อสอบสวนข้อเท็จจริงแล้ว ต้องมีคำสั่งให้นายจ้างจ่ายเงิน หรือยกคำร้องทุกข์ของลูกจ้างอย่างใดอย่างหนึ่ง
– การรวบรวมข้อเท็จจริง และการมีคำสั่งต้องกระทำให้แล้วเสร็จ ภายใน 60 วัน นับแต่วันรับคำร้องทุกข์ไว้ดำเนินการ
– ถ้า ไม่สามารถดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน 60 วัน ให้ขอขยายระยะเวลา ต่ออธิบดีหรือผู้ว่าราชการจังหวัดโดยขอขยายระยะเวลาได้ไม่เกิน 30 วัน

การฝ่าฝืนกฏหมายแรงงาน
– อธิบดีมีอำนาจเปรียบเทียบปรับสำหรับความผิดที่เกิดขึ้นใน กรุงเทพฯผู้ว่าราชการจังหวัดมีอำนาจเปรียบเทียบปรับสำหรับความผิด ที่เกิดขึ้นภายในจังหวัดชำระค่าปรับภายใน 30 วัน นับเท่าวันที่ได้รับแจ้ง
– ผลคดี คดีอาญา เป็นอันเลิกกัน ถ้าไม่ยอมเปรียบเทียบปรับหรือไม่ชำระค่าปรับภายในกำหนด พนักงานสอบสวน (ตำรวจ) จะดำเนินการตามขั้นตอนของกฏหมาย ต่อไป

 4,403 total views,  2 views today