การนำผลขาดทุนสะสม ไปใช้ในการคำนวณภาษี
ในการประกอบธุรกิจ แน่นอนว่าเจ้าของกิจการคงอยากได้ยินคำว่า กำไร มากกว่าที่จะได้ยินคำว่า ขาดทุน ซึ่งในทางปฏิบัติเกี่ยวกับภาษีอากรแล้ว เมื่อกิจการมีกำไรสุทธิก็ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล แต่หากกิจการขาดทุนสุทธิก็ไม่ต้องเสียภาษี แต่เพื่อให้ไม่ต้องเกิดความเสียหายต่อกิจการที่มีผลขาดทุนนั้น จึงได้มีกฎหมายประมวลรัษฎากรมาตรา 65 ตรี (12) ที่ยอมให้กิจการสามารถนำผลขาดทุนสุทธิไปหักออกจากกำไรสุทธิในปีถัด ๆ ไปได้อีกภายใน 5 ปี
ในที่นี้มีตัวอย่างของการนำผลขาดทุนสุทธิสะสมมาใช้ในการคำนวณภาษีมาแนะนำเพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติทางบัญชี โดยได้ยกตัวอย่างกรณีบันทึกผลขาดทุนสะสมที่ถูกต้องและที่มีข้อผิดพลาด รวมทั้งการปรับปรุงผลขาดทุนสะสมเพื่อนำไปใช้ในการคำนวณภาษีได้อย่างถูกต้องต่อไป ดังนี้
- กรณีบันทึกผลขาดทุนสะสมถูกต้อง หน่วย : ล้านบาท
รอบระยะ
เวลาบัญชี |
กิจการที่ต้องเสียภาษีเงินได้ | ใช้ผล
ขาดทุน |
ผลขาดทุน
สะสม คงเหลือ |
หมายเหตุ | |
กำไรสุทธิ | ขาดทุนสุทธิ | ||||
2554 | – | 90 | – | 90 | ไม่เสียภาษีเพราะขาดทุน |
2555 | 15 | – | 15 | 75 | ไม่เสียภาษีเพราะนำขาดทุนสะสม
มาหักออกจากกำไร |
2556 | 20 | – | 20 | 55 | ไม่เสียภาษีเพราะนำขาดทุนสะสม
มาหักออกจากกำไร |
2557 | 10 | – | 10 | 45 | ไม่เสียภาษีเพราะนำขาดทุนสะสม
มาหักออกจากกำไร |
2558 | 7 | – | 7 | 38 | ไม่เสียภาษีเพราะนำขาดทุนสะสม
มาหักออกจากกำไร |
2559 | 18 | – | 18 | 20 | ไม่เสียภาษีเพราะนำขาดทุนสะสม
มาหักออกจากกำไร |
2560 | 25 | – | – | – | เสียภาษีจากกำไร 25 ล้าน เพราะ
ขาดทุนสะสมเกิน 5 รอบฯ |
ผลขาดทุนไม่เกิน 5 รอบระยะเวลาบัญชี หมายความว่าการนำผลขาดทุนยกมาตามวิธีการบัญชี โดย
นำผลขาดทุน มาหักกับกำไรสุทธิแต่ละรอบระยะเวลาบัญชี ถ้าหักแล้วยังขาดทุนเหลืออยู่ก็สามารถยกไปหักในปีถัดไปได้ ต้องยกไล่ตามลำดับของรอบระยะเวลาบัญชี ทำเช่นนี้เรื่อยไปจนกว่าผลขาดทุนสะสมจะหมดแต่ถ้าเกิน 5 รอบระยะเวลาบัญชี ก็จะไม่สามารถนำผลขาดทุนสะสมที่เหลือมาหักได้อีกตามตัวอย่างข้างต้น
- กรณีบันทึกผลขาดทุนผิดพลาด หน่วย : ล้านบาท
รอบระยะ
เวลาบัญชี |
กิจการที่ต้องเสียภาษีเงินได้ | ใช้ผล
ขาดทุน |
ผลขาดทุน
สะสม คงเหลือ |
หมายเหตุ | |
กำไรสุทธิ | ขาดทุนสุทธิ | ||||
2554 | 100 | ||||
2555 | 90 | ||||
2556 | 86 | ||||
2557 | 95 | 95 | |||
2558 | 85 | 180 | |||
2559 | 70 | 60 | 120 | ใช้ผลขาดทุนผิด | |
2560 | 110 | 110 | 10 |
จากการใช้ผลขาดทุนผิดพลาดในรอบระยะเวลาบัญชีปี 2559 ซึ่งที่ถูกสามารถนำผลขาดทุนมาใช้ 70 ล้านบาท แต่ได้นำผลขาดทุนมาใช้เพียง 60 ล้านบาทเท่านั้น ทำให้ต้องเสียภาษีจากกำไร 10 ล้านบาท และกิจการยังคงนำผลขาดทุน 120 ล้านบาทยกไปใช้ในรอบระยะเวลาบัญชีปี 2560 เพียง 110 ล้านบาท ซึ่งยังคงเหลือผลขาดทุนยกไป 10 ล้านบาท โดยมีตัวอย่างที่จะเป็นการปรับปรุงผลขาดทุนที่ใช้ผิดพลาด ดังนี้
หน่วย : ล้านบาท
รอบระยะ
เวลาบัญชี |
กิจการที่ต้องเสียภาษีเงินได้ | ใช้ผล
ขาดทุน |
สละสิทธิ์ | ผลขาดทุนสะสมคงเหลือ | |
กำไรสุทธิ | ขาดทุนสุทธิ | ||||
2554 | 100 | ||||
2555 | 90 | ||||
2556 | 86 | ||||
2557 | 95 | 95 | |||
2558 | 85 | 180 | |||
2559 | 70 | 60 | 120 | 0 | |
2560 | 110 | 0 | 0 |
การนำผลขาดทุนมาใช้ในการคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคล ต้องนำผลขาดทุนสะสมทางภาษีย้อนหลังไม่เกิน 5 รอบระยะเวลาบัญชีมาหักในปีที่มีกำไรเพื่อคำนวณภาษี จะต้องใช้อย่างต่อเนื่อง จะข้ามหรือเว้นเพื่อหักในรอบระยะเวลาบัญชีอื่นไม่ได้ ดังนั้นรอบระยะเวลาบัญชีปี 2559 เท่ากับว่าต้องสละสิทธิ์ผลขาดทุนสะสมที่ไม่ได้นำมาใช้ 120 ล้านบาท และสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีปี 2560 จะต้องเสียภาษีจากกำไรสุทธิ 110 ล้านบาท
ข้างต้นเป็นเพียงตัวอย่างประกอบเพื่อแสดงให้ท่านเข้าใจมากขึ้นเท่านั้น ซึ่งในทางปฏิบัติทางภาษีอากรหากทำการศึกษาจะพบว่า มีกฎหมายให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีค่อนข้างมาก และหากมีการปฏิบัติถูกต้องก็ไม่ต้องเสียผลประโยชน์จากการบันทึกบัญชี รวมทั้งจะได้เป็นการลดความเสี่ยงต่อการต้องถูกประเมินเรียกเก็บภาษีเพิ่มเติมในภายหลังได้ด้วย