080 175 2000 info@53ac.com

โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ (Coronary artery disease :CAD) หรือ โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด ( HEART ATTACK)

เกิดจากหลอดเลือดเลี้ยงหัวใจมีการตีบแคบลง เพราะ มีคราบไขมันและหินปูน เกาะภายในผนังหลอดเลือด ทำให้ปริมาณเลือดไหลผ่านไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจไม่เพียงพอกับความต้องการ

ปัจจัยเสื่ยง  ที่ทำให้หลอดเลือดหัวใจตีบเร็ว ได้แก่

– อายุ  ผู้ชายอายุมากกว่า 45 ปี ผู้หญิงอายุมากกว่า 55 ปี

– เบาหวาน

– ความดันโลหิตสูง

– สูบบุหรี่

– ไขมันในเลือดสูง

– กรรมพันธุ์       มีญาติพี่น้องสายตรงเป็นโรคนี้ก่อนอายุ 55 ปี ในผู้ชาย หรือ 65 ปีในผู้หญิง

– ภาวะเครียด

– การขาดการออกกำลังกาย

– ความอ้วน

อาการ ผู้ป่วยมีอาการเจ็บปวด หรือ เสียด หรือ แน่นหน้าอกทั่วกลางหน้าอก หรือ อาจค่อนไปทางด้านซ้าย หรือ ด้านขวาได้ อาการมักร้าวไปที่กราม คอ หัวไหล่ และแขนด้านใน  อาการมักเกิดขึ้นในขณะใช้กำลัง เช่น ออกกำลังกาย เดินขึ้นที่สูง ยกของ หรือ อาจจะเกิดหลังทานอาหารอิ่มมากๆ อาการเป็นอยู่ประมาณ 2 – 3 นาที เป็นอย่างน้อย และมักดีขึ้นหลังจากได้พัก หรือ อมยาใต้ลิ้น  ในกรณีที่กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดรุนแรงนานอย่างน้อย 30 นาที ร่วมกับมีเหงื่อออกท่วมตัว คลื่นไส้ อาเจียน ตัวซีดเป็นลม ในบางกรณี เช่น ผุ้สูงอายุ หรือ ผู้ป่วยเบาหวาน อาจไม่มีอาการที่หน้าอก แต่อาจมีอาการหอบเหนื่อย ซึม ใจสั่น เป็นลมหมดสติ

การตรวจวินิจฉัย

– การซักถามประวัติอาการเจ็บหน้าอกร่วมกับการตรวจร่างกาย

– การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ

– การตรวจคลื่นเสียงสะท้อนความถี่สูง

– การเดินสายพาน

– การตรวจด้วยสายสวนและฉีดสีหลอดเลือดหัวใจ

– การตรวจหลอดเลือดหัวใจด้วยเอกซเรย์คอมพิวเตอร์

– การตรวจโดยการบันทึกภาพสะท้อนจากคลื่นแม่เหล็ก

– การตรวจหัวใจทางเวชศาสตร์นิวเคลียร์

การรักษาและการป้องกัน

1. รักษาด้วยยา

ยาแก้อาการเจ็บปวด หรือ เสียดแน่นหน้าอก เช่น ยาขยายหลอดเลือด ยาลดการทำงานของกล้ามเนื้อหัวใจ ยาป้องกันหลอดเลือดอุดตัน หรือ ยาสลายลิ่มเลือดที่อุดตันหลอดเลือดหัวใจ

2. การขยายหลอดเลือดด้วยบอลลูน

ใช้ในกรณีที่ยาไม่สามารถควบคุมอาการได้ หรือ มีผลข้างเคียงจากการใช้ยา

3.การผ่าตัดหลอดเลือดหัวใจ หรือ ทำบายพาสหลอดเลือดหัวใจ

ใช้ในกรณีที่ไม่สามารถขยายหลอดเลือดด้วยบอลลูน หรือ มีหลอดเลือดตีบหลายเส้น

4.ควบคุม หรือ กำจัดปัจจัยเสี่ยง

เช่น ควบคุมเบาหวาน ไขมัน ความดันโลหิต งดสูบบุหรี่ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ ควบคุมน้ำหนักตัว อาหาร เครื่องดื่ม ผ่อนคลายจากความเครียด

ที่มา: ศูนย์หัวใจ โรงพยาบาลธนบุรี 

http://thonburihospital.com/

 67,469 total views,  3 views today