การเปลี่ยนแปลงรายการทางทะเบียนบริษัทมหาชน แก้ไขเอกสารบริษัทมหาชน
นาราการบัญชี บริการ เปลี่ยนแปลง แก้ไข รายการจดทะเบียน บริษัทมหาชน (เอกสารจดทะเบียนของ บริษัทมหาชน)
- ชื่อและตราประทับ
- ที่ตั้งสำนักงาน
- เปลี่ยนแปลง เพิ่มเติม แก้ไข วัตถุประสงค์
- เปลี่ยนแปลงกรรมการ/ อำนาจกรรมการ
- เปลี่ยนแปลง บัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น
- เพิ่มสาขา
- เปลี่ยนแปลงข้อบังคับ
- เพิ่มทุน – ลดทุน
หมายเหตุ ทนายและผู้สอบบัญชีรับอนุญาต ของเราได้ขึ้นทะเบียนเป็นผู้รับรองลายมือชื่อ ตามความในข้อ 3 (2) แห่งกฎกระทรวง พ.ศ. 2535 ออกตามความในพระราชบัญญัติบริษัทมหาชน พ.ศ. 2535 แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 6 (พ.ศ. 2539) ท่านจึงมั่นใจในงานบริการ จดทะเบียน เปลี่ยนแปลง รายการสำคัญของบริษัทมหาชน เป็นไปโดยถูกต้อง
เพิ่มเติม
การเปลี่ยนแปลงรายการทางทะเบียน
เมื่อได้จดทะเบียนเป็นบริษัทมหาชนจำกัดตามพระราบัญญัติบริษัทมหาชนจำกัด พ.ศ. 2535 แล้ว หากมีการเปลี่ยนแปลงรายการทางทะเบียนกรรมการผู้ัมีอำนาจลงนามแทนบริษัทอย่างน้อย 1 คน เป็นผู้มายื่นขอจดทะเบียน
การเปลี่ยนแปลงบางรายการกฎหมายกำหนดระยะเวลาในการยื่นจดทะเบียนไว้ ดังต่อไปนี้
- การแก้ไขเพิ่มเติมหนังสือบริคณห์สนธิบริษัท ได้แก่ ชื่อบริษัท วัตถุประสงค์ เพิ่มทุน-ลดทุนจดทะเบียน จังหวัดที่ตั้งสำนักงานใหญ่ และข้อบังคับของบริษัท ต้องไปยื่นจดทะเบียนภายใน 14 วัน นับแต่วันที่ประชุมผู้ถือหุ้นลงมติ ถ้าไม่ดำเนินการปรับบริษัทไม่เกินสองหมื่นบาท และปรับกรรมการ ไม่เกินสองหมื่นบาท
- การเปลี่ยนแปลงทุนชำระแล้ว ต้องไปยื่นจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงทุนชำระแล้วภายใน 14 วัน นับแต่วันที่ได้รับชำระค่าหุ้นครบตามจำนวนที่เสนอขาย ถ้าไม่ดำเนินการมีความผิด ปรับ บริษัทไม่เกิน สองหมื่นบาท และปรับกรรมการ อีกไม่เกินสองหมื่นบาท
- การเปลี่ยนแปลงกรรมการเข้า/ออก การเปลี่ยนแปลงจำนวนและชื่อกรรมการ ซึ่งมีอำนาจลงลายมือชื่อผูกพันบริษัทและข้อจำกัดอำนาจของกรรมการ ต้องไปยื่นจดทะเบียนภายใน 14 วัน นับแต่วันที่มีการเปลี่ยนแปลง ถ้าไม่ดำเนินมีความผิด ปรับบริษัท ไม่เกินสองหมื่นบาท และปรับกรรมการอีก ไม่เกิน สองหมื่นบาท
- การเปลี่ยนแปลงที่ตั้งสำนักงานใหญ่ แะล/หรือ สำนักงานสาขา ของบริษัทมหาชนจำกัด ต้องไปยื่นจดทะเบียนภายใน 14 วัน นับแต่วันที่มีการเปลี่ยนแปลง ถ้าไม่ดำเนินการมีความผิด ปรับบริษัท ไม่เกินสองหมื่นบาท และปรับกรรมการอีกไม่เกินสองหมื่นบาท
- การจัดตั้งสำนักงานสาขาของบริษัท ให้จดทะเบียนสำนักงานสาขาก่อนดำเนินการ ถ้าไม่ดำเนินการมีความผิด ปรับบริษัท ไม่เกินสองหมื่นบาท และปรับกรรมการ อีกไม่เกินสองหมื่นบาท
- การยกเลิกสำนักงานสาขาของบริษัท ให้จดทะเบียนบกเลิกสำนักงานสาขาภายใน 14 วัน นับแต่วันที่เบลิกสำนักงาสาขานั้น ถ้าไม่ดำเนินการมีความผิด ปรับ บริษัท ไม่เกินสองหมื่นบาท และปรับ กรรมการอีกไม่เกินสองหมื่นบาท
- การควบบริษัท ต้องไปขอจดทะเบียนภายใน 14 วัน นับแต่วั้นที่เสร็จสิ้นการประชุมควบบริษัท ถ้าไม่ดำเนินการ มีความผิด ปรับคณะกรรมการบริษัทมหาชนจำกัด ไม่เกิน สองหมื่นบาท
- การแปรสภาพบริษัทเอกชนเป็นบริษัทมหาชนจำกัด ต้องไปขอจดทะเบียนภายใน 14 วัน นับแต่วันที่เสร็จสิ้นการประชุมแปรสภาพ ถ้าไม่ดำเนินการมีความผิด ปรับ คณะกรรมการ ไม่เกินสองหมื่นบาท
การเลิกบริษัทมหาชน
เมื่อบริษัทมหาชนจำกัด มีความประสงค์จะเลิกบริษัท ให้จัดประชุมผู้ถือหุ้นลงมติด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่า 3 ใน 4 ของจำนวนเสียงทั้งหมดของผู้ถือหุ้นที่มาประชุมและมีสิทธิออกเสียงให้เลิกบริษัทมหาชนจำกัดและตั้งผู้ชำระบัญชี จากนั้น ผู้ชำระบัญชีมีหน้าที่ดำเนินการ ดังนี้
- ให้ผู้ชำระบัญชียื่นขอจดทะเบียนเป็นผู้ชำระบัญชีและขอจดทะเบียนเลิกบริษัท ภายใน 7 วัน นับแต่วันที่มีมติตั้งผู้ชำระบัญชี ถ้าไม่ดำเนินการมีความผิด ปรับผู้ชำระบัญชี ไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท
- ในระหว่างชำระบัญชี ถ้ามีการเปลี่ยนตัวผู้ชำระบัญชี ต้องยื่นจดทะเบียนเปลี่ยนตัวผู้ชำระบัญชี ภายใน 7 วัน นับแต่วันที่ผู้ชำระบัญชีคนใหม่ได้รับการแต่งตั้ง ถ้าไม่ดำเนินการมีความผิด ปรับ ผู้ชำระบัญชี ไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท
- ให้ผู้ชำระบัญชี จัดทำรายงานการชำระบัญชีพร้อมกับบัญชีรับจ่ายเสนอต่อนายทะเบียนทุกระยะ 3 เดือน นับแต่วันที่ได้รับการแต่งตั้งจนกว่าการชำระบัญชีจะเสร็จสิ้น และหากการชำระบัญชีไม่อาจทำให้เสร็จได้ภายใน 1 ปี นับแต่วันจดทะเบียนเลิกบริษัท ให้ผู้ชำระบัญชีเรียกประชุมผู้ถือหุ้นทุกรอบปีภายใน 4 เดือน นับแต่วันครบรอบปี เพื่อรายงานผลการชำระบัญชีที่ได้กระทำและจะกระทำต่อไป พร้อมด้วยงบดุล และบัญชีกำไรขาดทุนให้ผู้ถือหุ้นทราบ
- เมื่อชำระบัญชีเสร็จแล้ว ผู้ชำระบัญชีต้องจดทะเบียนเสร็จการชำระบัญชี ภายใน 14 วัน นับแต่วันประชุมอนุมัติรายงานการชำระบัญชี ถ้าไม่ดำเนินการมีความผิด ปรับ ผู้ชำระบัญชี ไม่เกินสองหมื่นบาท
- ให้ผู้ชำระบัญชีจัดทำรายงานผลการชำระบัญชีพร้อมบัญชีรับจ่าย ให้ที่ประชุมผู้ถือหุ้นอนุมัติภายใน 4 เดือน นับแต่วันเสร็จการชำระบัญชี ถ้าไม่ดำเนินการมีความผิด ปรับผู้ชำระชำระบัญชี ไม่เกิน สองหมื่นบาท
เกี่ยวกับ บริษัทมหาชน
บริษัทมหาชนจำกัด คือ บริษัทประเภทซึ๋งตั้งขึ้นด้วยประสงค์ที่จะเสนอขายหุ้นต่อประชาชน โดยผู้ถือหุ้นมีความรับผิดจำกัดไม่เกินจำนวนเงินค่าหุ้นที่ต้องชำระ และบริษัทดังกล่าวได้ระบุความประสงค์เช่นนั้นไว้ในหนังสือบริคณห์สนธิ
ลักษณะโทครงสร้างของบริษัทมหาชนจำกัด มีดังนี้
- จำนวนผู้ถือหุ้นตั้งแต่ 15 คนขึ้นไป
- ไม่กำหนดจำนวนทุนจดทะเบียนขั้นต่ำ
- หุ้นของบริษัทมหาชนจำกัดแต่ละหุ้นจะต้องมีมูลค่าเท่ากัน และต้องชำระค่าหุ้นครั้งเดียวเต็มมูลค่าหุ้น
- จำนวนกรรมการของบริษัทมหาชนจำกัด จะต้องมี่ไม่น้อยกว่า 5 คน และกรรมการไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งต้อมีที่อยุ่ในประเทศไทย
เมื่อจดทะเบียนบริษัทมหาชนจำกัดแล้ว จะมีสภาพเป็นนิตบุคคลตามกฎหมายแยกต่างหากจากผู้ถือหุ้น และได้รับเลขทะเบียนนิติบุคคล 13 หลัก ซึ่งจะถูกใช้เป็นเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของกรมสรรพากรด้วย
สำหรับชื่อบริษัท ต้องใช้คำว่า “บริษัท” ไว้หน้าชื่อ และ “จำกัด” (มหาชน) ไว้ท้ายชื่่อด้วย หรือใช้่อักษรย่อว่า “บมจ” แทน ถ้าเแป็นอักษรต่างประเทศต้องเขียนเป็นภาษาอังกฤษ ซึ่งออกเสียงตรงหรือมีความหมายตรงกับชื่อภาษาไทย โดยมีคำว่า “Public Company Limited” ต่อท้ายชื่อ ถ้าไม่ปฎิบัติตามบริษัทมีความผิด ปรับบริษัท ไม่เกินสองหมื่นบาท
หน้าที่ของบริษัทมหาชนจำกัด
การที่บริษัทมีสภาพเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายทำให้มีสิทธิ หน้าที่รับผิดชอบที่จะต้องปฏิบัติให้ถูกต้องตามกฎหมาย ได้แก่ พระราชบัญญัติบริษัทมหาชนจำกัด พ.ศ. 2535 พระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. 2543 รวมทั้งต้องปฏิบัติให้ถูกต้องตามมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ดังนี้
- ต้องมีที่ตั้งสำนักงานซึ่งถือเป็นภูมิลำเนาของบริษัทที่สามารถติดต่อได้
ถ้าไม่ดำเนินการมีความผิด ปรับ
- บริษัท ไม่เกินสองหมื่นบาท
- กรรมการ ไม่เกินสองหนึ่งบาท
- แสดงชื่อ ที่ตั้งสำนักงาน และเลขทะเบียนบริษัทไว้ในจดหมายประกาศ ใบแจ้งความ ใบส่งของ และใบเสร็จรับเงิน
ถ้าไม่ดำเนินการมีความผิด ปรับ
- บริษัท ไม่เกินสองหมื่นบาท
- กรรมการ ไม่เกินสองหมื่นบาท
- แสดงชื่อบริษัทไว้ในดวงตรา (ถ้ามี)
ถ้าไม่ดำเนินการมีความผิด ปรับ
- บริษัท ไม่เกินสองหมื่นบาท
- กรรมการ ไม่เกินสองหมื่นบาท
- ต้องมีป้ายชื่อไว้หน้าสำนักงานใหญ่ และสำนักงานสาขา (ถ้ามี)
ภายใน 14 วัน นับแต่วันจดทะเบียนบริษัท แลไม่ให้มีป้ายชื่อดังกล่าวในกรณีที่ไม่ใช้สถานที่นั้นเป็นสำนักงานใหญ่หรือสำนักงานสาขา ภายใน 14 วัน นับแต่วันที่ไม่ใช้สถานที่นั้นเป็นสำนักงานใหญ่หรือสำนักงานสาขาแล้ว
ถ้าไม่ดำเนินการมีความผิด ปรับ
- บริษัท ไม่เกินสองหมื่น
- กรรมการ ไม่เกินสองหมื่นบาท
- จัดทำใบหุ้น มอบให้แก่ผู้ถือหุ้นไว้เป็นหลักฐานภายใน 2 เดือน นับแต่วันที่ได้รับจดทะเบียนเป็นบริษัทมหาชนจำกัด หรือนับแต่วันที่ได้รับเงินค่าหุ้นครบและจดได้ทะเบียนแล้ว
ถ้าไม่ดำเนินการมีความผิด ปรับ
- บริษัท ไม่เกินสองหมื่นบาท
- กรรมการ ไม่เกินสองหมื่น
รายละเอียดในใบหุ้นต้องมีชื่อบริษัท เลขทะเบียนบริษัท วันที่จดทะเบียนบริษัท เลขที่ใบหุ้น ชนิดของหุ้น มูลค่าหุ้น จำนวนหุ้น ชื่อของผู้ถือหุ้น วันที่ออกใบหุ้น และมีกรรมการหรือบุคคลที่ได้รับมอบหมายให้เป็นนายทะเบียนหุ้นลงลายมือชื่อหรือพิมพ์ไว้อย่างน้อย 1 คน
- จัดทำทะเบียนผู้ถือหุ้น และเก็บรักษาไว้ ณ สำนักงานใหญ่ของบริษัทหรือเก็บไว้ที่บุคลอื่นที่ได้แจ้งไว้ให้นายทะเบียนทราบ
ถ้าไม่ดำเนินการมีความผิด ปรับ
- บริษัท ไม่เกินห้าหมื่นบาท
- กรรมการ ไม่เกินห้าหมื่นบาท
หากทะเบียนผู้ถือหุ้นสูญหาย ลบเลือน หรือชำรุด ให้แจ้งต่อนายทะเทียนภายใน 14 วัน นับแต่ วันที่ทราบหรือควรทราบถึงการสูญหาย ลบเลือน หรือชำรุดนั้นและจัดทำหรือซ่อมแซมทะเบียนผู้ถือหุ้นให้เสร็จภายใน 1 เดือนนับแต่วันที่แจ้ง
ถ้าไม่ดำเนินการภายในเวลาที่กำหนดมีความผิด ปรับ
- บริษัท ไม่เกินสองหมื่นบาท
- กรรมการ ไม่เกินสองหมื่นบาท
รายละเอียดในทะเบียนผู้ถือหุ้นต้องมีชื่อ สัญชาติ ที่อยู่ของผู้ถือหุ้น ชนิดของหุ้น เลขที่ใบหุ้น มูลค่าหุ้น จำนวนหุ้น วันที่ลงทะเบียนเป็นหรือขาดจากการเป็นผู้ถือหุ้น
- จัดทำทะเบียนกรรมการ รายงานการประชุมคณะกรรมการ และรายงานการประชุมผู้ถือหุ้น และเก็บรักษาไว้ ณ สำนักงานใหญ่ของบริษัท หรือเก็บไว้ที่บุคคลอื่นที่ได้แจ้งไว้ให้นายทะเบียนทราบแล้ว
รายละเอียดในทะเบียนผู้ถือหุ้นต้องมีชื่อ สัญชาติ ที่อยู่ของผู้ถือหุ้น ชนิดของหุ้น เลขที่ใบหุ้น มูลค่าหุ้น จำนวนหุ้นที่กรรมการแต่ละคนถือ วันที่เป็นหรืขาดจากการเป็นกรรมการ
สำหรับรายงานการประชุมคณะกรรมการ และรายงานการประชุมผู้ถือหุ้น ต้องจัดทำให้เสร็จภายใน 14 วัน นับแต่วันปะชุม
- จัดทำงบการเงิน และให้ผู้สอบบัญชีตรวจสอบและแสดงความเห็นในงบการเงิน แล้วนำงบการเงินที่ได้รับการตรวจสอบเสนอในที่ประชุมผู้ถือหุ้นเพื่อพิจารณาอนุมัติภายในสี่เดือนนับแต่วันที่ปิดบัญชี
ถ้าไม่ดำเนินการมีความผิด ปรับ คณะกรรมการ ไม่เกินสองหมื่นบาท
- ต้องส่งรายงานประจำปีของคณะกรรมการ งบการเงินที่ผู้สอบบัญชีตรวจสอบและแสดงความเห็นแล้ว ให้ถือหุ้นพร้อมหนังสือนัดประชุมสามัญประจำปี
ถ้าไม่ดำเนินการมีความผิด ปรับ คณะกรรมการ ไม่เกินสองหมื่น
- ต้องโฆษณาทางหนังสือพิมพ์ เกี่ยวกับเอกสารดังต่อไปนี้
10.1 หนังสือนัดประชุมตั้งบริษัท ต้องโฆษณาคำบอกกล่าวนัดประชุมไม่น้อยกว่า 3 วัน ก่อนวันประชุม กำหนดเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่า 3 วัน
10.2 หนังสือนัดประชุมผู้ถือหุ้น ต้องโฆษณาคำบอกกล่าวนัดประชุมไม่น้อยกว่า 3 วัน ก่อนวันประชุม กำหนดเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่า 3 วัน
10.3 การจ่ายเงินปันผล ต้องโฆษณาคำบอกกล่าวการจ่ายเงินปันผลในหนังสือพิมพ์ด้วย กำหนดเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่า 3 วัน
ถ้าไม่ดำเนินการมีความผิด ปรับ คณะกรรมการ ไม่เกินสองหมื่น
10.4 งบดุลที่ผู้ถือหุ้นอนุมัติ ต้องโฆษณาให้ประชาชนทราบอย่างน้อย 1 วัน
ถ้าไม่ดำเนินการภายในเวลาที่กำหนดมีความผิด ปรับ
- คณะกรรมการ ไม่เกินสองหมื่น
- กรรมการ ไม่เกินสองหมื่นบาท
10.5 การเพิ่มทุนและลดทุนภายหลังได้รับจดทะเบียนแล้ว ต้องโฆษณาอย่างน้อยหนึ่งฉบับภายใน 14 วัน นับแต่วันที่ได้จดทะเบียนเพิ่มทุนหรือลกทุน กำหนดเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่า 3 วัน
ถ้าไม่ดำเนินการภายในเวลาที่กำหนดมีความผิด ปรับ
- คณะกรรมการ ไม่เกินสองหมื่น
- กรรมการ ไม่เกินสองหมื่นบาท
จัดทำบัญชี
บริษัทมหาชนจำกัด เป็นผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี โดยจะให้กรรมการบริษัทเป็นผู้ดำเนินการแทน ซึ่งหน้าที่และความรับผิดชอบของผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีตามพระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. 2543 มีดังนี้
- จัดทำบัญชีรายวัน บัญชีแยกประเภท บัญชีสินค้า และบัญชีประเภทอื่นตามความจำเป็นแก่การทำบัญชี โดยเริ่มตั้งแต่วันที่จดทะเบียนเป็นบริษัท
ถ้าไม่จดทะเบียนมีความผิด ปรับ
- บริษัท ไม่เกินสามหมื่นบาทและปรับเป็นรายวันอีกไม่เกินวันละหนึ่งพันบาท จนกว่าจะปฏิบัติให้ถูกต้อง
- กรรมการผู้จัดการ ไม่เกินสามหมื่นบาทและปรับเป็นรายวันอีกไม่เกินวันละหนึ่งพันบาท จนกว่าจะปฏิบัติให้ถูกต้อง
- จัดให้มีผู้ทำบัญชีเพื่อเป็นผู้รับผิดชอบในการจัดทำบัญชีของบริษัท ซึ่งอาจเป็นพนักงานของบริษัท ผู้รับจ้างทำบัญชีอิสระ หรือสำนักงานรับจ้างทำบัญชีก็ได้ ซึ่งเป็นผู้ที่จบไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่าเป็นผู้ทำบัญชีให้ ซึ่งบริษัทจะต้องควบคุมดูแลผู้ทำบัญชีให้จัดทำบัญชีให้ตรงต่อความเป็นจริงและเป็นไปตามมาตรฐานการรายงานการเงิน
ถ้าไม่ดำเนินการมีความผิด ปรับ
- บริษัท ไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท
- กรรมการผู้จัดการ ไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท
- ต้องส่งมอบเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชี ได้แก่ บันทึกหนังสือ หรือเอกสารใดๆ ที่ใช้เป็นหลักฐานในการลงรายการในบัญชี ให้แก่ผู้ทำบัญชีให้ครบถ้วนถูกต้อง เพื่อให้บัญชีที่จัดทำขึ้นสามารถแสดงผลการดำเนินฐานะการเงิน หรือการเปลี่ยนแปลงฐานะการเงินที่เป็นอยู่ตามความเป็นจริงและตามมาตรฐานการรายงานทางการเงิน
ถ้าไม่ดำเนินการมีความผิด ปรับ
- บริษัท ไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท
- กรรมการผู้จัดการ ไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท
- ต้องปิดบัญชีครั้งแรกภายใน 12 เดือน นับแต่วันเริ่มทำบัญชีและให้ปิดบัญชีทุกรอบ 12 เดือน นับแต่วันปิดบัญชีครั้งก่อน เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากสารวัตรใหญ่บัญชีหรือสารวัตรบัญชีให้เปลี่ยนรอบปีบัญชีแล้ว อาจปิดบัญชีก่อนครบรอบ 12 เดือนได้
ถ้าไม่ดำเนินการมีความผิด ปรับ
- บริษัท ไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท
- กรรมการผู้จัดการ ไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท
- จัดทำงบการเงิน ประกอบด้วย งบแสดงฐานะการเงิน งบกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จ งบแสดงการเปลี่ยนแปลงส่วนของผู้ถือหุ้น งบกระแสเงินสด หมายเหตุประกอบงบการเงิน และงบการเงินเปรียบเทียบกับปีก่อน
ถ้าไม่ดำเนินการมีความผิด ปรับ
- บริษัท ไม่เกินห้าหมื่นบาท
- กรรมการผู้จัดการ ไม่เกินห้าหมื่นบาท
โดยงบการเงินต้องได้รับการตรวจสอบและแสดงความเห็นจากผู้สอบบัญชีรับอนุญาต
ถ้าไม่ดำเนินการมีความผิด ปรับ
- บริษัท ไม่เกินสองหมื่นบาท
- กรรมการผู้จัดการ ไม่เกินสองหมื่นบาท
- จัดส่งงบการเงินที่ได้รับอนุมัติจากที่ประชุมใหญ่ ผ่านทางระบบอิเล็กทรอนิกส์ (DBD e-Filing) ไปยังกรมพัฒนาธุรกิจการค้าภายในหนึ่งเดือนนับแต่วันที่งบการเงินได้อนุมัติจากการที่ประชุมใหญ่
ถ้าไม่ดำเนินการมีความผิด ปรับ
- บริษัท ไม่เกินห้าหมื่นบาท
- กรรมการผู้จัดการ ไม่เกินห้าหมื่นบาท
- เก็บรักษาบัญชีและเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชีไว้ ณ สถานที่ทำการ หรือสถานที่ที่ใช้ผลิตหรือเก็บสินค้าเป็นประจำ หรือสถานที่ที่ใช้เป็นที่ทำงาน เป็นเวลาไม่น้อยกว่า 5 ปี นับแต่วันปิดบัญชี เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจาสารวัตรใหญ่บัญชีให้เก็บไว้ ณ สถานที่อื่นได้ แต่ถ้าบัญชีหรือเอกสารประกอบการลงบัญชีสูญหายหรือเสียหาย บริษัทต้องแจ้งสารวัตรใหญ่บัญชี หรือสารวัตรบัญชีภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ทราบหรือควรทราบ
ถ้าไม่ดำเนินการมีความผิด ปรับ
- บริษัท ไม่เกินห้าพันบาท
กรรมการผู้จัดการ ไม่เกินห้าพันบาท
สนใจบริการ หรือ ข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ
บริษัท นารา การบัญชี จำกัด
กรณีเร่งด่วน/ หลังเลิกงาน โทร 080 175 2000 คุณ ธนา
Line ID: @nara53 |
แผนที่
https://goo.gl/maps/GBPpLfS42QsZg4jf6
เดินทาง รถไฟฟ้า สายสีเหลือง สถานี โชคชัย 4 ประตูทางออก 4 นาราฯ อยู่ในซอยลาดพร้าว 52
34,079 total views, 6 views today