คดีล้มละลาย ต้องรู้
เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ คือใคร
เจ้าพนักงานพิทักษืทรัพย์ คิือ เจ้าพนักงานตามกฎหมายล้มละลายที่มีอำนาจหน้าที่ในการจัดการรวบรวมทรัพย์สินของลูกหนี้หรือบุคคลล้มละลายและดำเนินการแบ่งทรัพย์สินที่รวบรวมได้ให้กับบรรดาเจ้าหนี้ทั้งหลายของลุกหนี้หรือบุคคลล้มละลาย
เมื่อศาลสั่งให้พิทักษ์ทรัพย์แล้วลูกหนี้ต้องทำอย่างไร
ก่อนอื่นลูกหนี้ต้องไปพบเจ้าหน้าที่พิทักษ์ทรัพย์เพื่อให้การสาบานตัวและให้ถ้อยคำชี้แจงเกี่ยวกับทรัพย์สินของตนเองว่ามีประการใดบ้าง รวมทั้งต้องส่งมอบทรัพย์สินบัญชีและเอกสวารอื่นๆ อันเกี่ยวกับทรัพย์สินต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ กรณีลูกหนี้ที่เป็นนิติบุคคล ผู้ที่มีหน้าที่นี้ก็คือ กรรมการผู้มีอำนาจกระทำการหรือหุ้นส่วนผู้จัดการ โดยต้องนำส่งดวงตราของห้างฯ หรือบริษัทด้วย ซึ่งการไปให้การสอบสวนนี้ต้องไปด้วยตนเอง จะมอบอำนาจห้บุคคลอื่นไปแทนไม่ได้ เนื่องจากเป็นเรื่องเฉพาะตัว ซึ่งในวัสอบสวนลูกหนี้ต้องทำบัญชีแสดงกิจการและทรัพย์สินยื่นไว้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ด้วย เพื่อที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะได้นำเสนอให้ที่ประชุมเจ้าหนี้พิจารณา
หลังจากให้การสอบสวนต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แล้ว ลูกหนี้มีหน้าที่อย่างอื่นอีกหรือไม่
ลูกหนี้ยังคงมีหน้าที่ไปร่วมประชุมเจ้าหนี้ทุกครั้ง และต้องไปศาลในวันนัดไต่สวนลูกหนี้โดยเปิดเผย หากลูกหนี้มีสิทธิได้รับทรัพย์สินจะต้องรายงานต่อเจ้าพนักงานพิทักษืทรัพย์และจะต้องจัดทำบัญชี รับ – จ่าย มาแสดงทุก 6 เดือน และในกรณีย้ายที่อยู่ใหม่จะต้องแจ้งให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ทราบด้วย
ลูกหนี้มีสิทธิทำอะไรได้บ้าง
นอกจากจะมีสิทธิจัดการทรัพย์สินของตนเองตามที่ได้รับความเห็นชอบจากศาล เจ้าพนักงานพิทักษืทรัพย์หรือที่ปรชุมเจ้าหนี้ดังกล่าว ลูกหนี้ก็ยังมีสิทธิที่จะยื่นคำขอประนอมหนี้ ไม่ว่ก่อนการล้มละลายหรือภายหลังการล้มละลายแล้วนอกจานี้ยังมีสิทธิขอให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์กำหนดค่าเลี้ยงชีพให้ ถ้าหากมีทรัพย์สินที่รวบรวมมาได้ระหว่างการล้มละลาย และอาจขอให้ปลดจากการล้มละลายหรือยกเลิกการล้มละลายของตนเองได้ภายต้เงื่อนไขที่กฎหมายกำหนดและเมื่อหลุดพ้นจากการล้มละลายแล้ว หากมีเงินเหลือก็มีสิทธิ์ได้รับคืนด้วยในกรณีที่ไม่เห็นด้วยกับคำสั่งของเจข้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ก็สามารถยื่นคำร้องคัดค้านต่อศาลได้
นอกจากการห้ามจัดการเกี่ยวกับทรัพย์สินของตนแล้ว ยังห้ามทำอะไรอีก
ก็มี คือ ถูกห้ามเดินทางออกนอกประเทศ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์หรือศาล นอกจากนั้นจะต้องมารายงานตัวต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ภายใน 7 วัน นับแต่เดินทางกลับเข้ามาในราชอาณาจักร ถ้าไม่มารายงานตัวอาจเป็นเหตุให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่อนุญาตให้เดินทางออกนอกราชอาณาจักรได้ และก็ห้ามรับสินเชื่อจากบุคคลอื่นที่มีจำนวนตั้งแต่หนึ่งร้อยบาทขึ้นไป เว้นแต่จะได้แจ้งให้บุคคลนั้นทราบว่าตนเป็นบุคคลล้มละลาย อีกประการหนึ่งคือ ห้ามดำเนินคดีใดๆ อันเกี่ยวกับทรัพย์สินของตนเองด้วย
จะทราบได้อย่างไร ว่ามีเจ้าหนี้กี่ราย และจำนวนที่ขอรับชำระหนี้มีเท่าใด
จะทราบได้ในวันที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ตรวจคำขอรับชำระหนี้ ก็คือ เมื่อศาลมีคำสั่งให้พิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้แล้วเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ก็จดำเนินการประกาศคำสั่งในหนังสือพิมพ์รายวันหนึ่งฉบับ และนำไปลงในราชกิจจานุเบกษาด้วย ซึ่งเจ้าหนี้ทั้งหลายหากประสงค์จะได้รับชำระหนี้จากกองทืรัพย์สินของลูกหนี้ ก็ต้องมายื่นขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าหน้าที่พิทักษ์ทรัพย์ภายในกำหนดเวลา 2 เดือนนับแต่วันที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ประกาศโฆษณาคำสั่ง ซึ่งในทางปฎิบัติจะเริ่มนับตั้งแต่วันที่ลงในพระราชกิจจานุเบกษา เพราะป็นวันที่หลังจาการประกาศในหนังสือพิมพ์ หากเจ้าหนี้ไม่มายื่นขอชำระหนี้จากลบูกหนี้อีก แม้ภายหลังลูกหนี้จะพ้นจากการล้มละลายไปแล้วก็ตาม เว้นแต่เจ้าหนี้ที่มีประกันเหนือทรัพย์สินของลูกหนี้กตอรับชำระหนี้ก็ต้องยอมให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ตรวจดูทรัพย์สินอันเป็นหลักประกัน แต่หากประสงค์จะขอรับชำระหนี้ ก็ต้องดำเนินการภายในกำหนดเวลาดังกล่าวเช่นกันโดยต้องระบุเงื่อนไขในการขอรับชำระหนี้ไว้ตามกฎหมาย
ถ้าเห็นว่าหนี้ เจ้าหนี้นำมายื่นขอรับชำระหนี้นั้นไม่ถูกต้อง จะคัดค้านได้หรือไม่
ได้แน่นอน ทั้งนี้ไม่ว่าจะเป็นบรรดาเจ้าหนี้ด้วยกันหรือลูกหนี้ก็สามารถโต้แยงการยื่นขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้ได้หากเห็นว่าไม่ถูกต้อง โดยต้องยื่นคำโต้แย้งเป็นหนังสือพร้อมสำเนาภายใน 7 วัน นับแต่ตรวจคำขอรับชำระหนี้ และต้องนำพยานหลักฐานมาให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์สอบสวนตามกำหนดนัดต่อไป
10,587 total views, 4 views today