บริการจดทะเบียนบริษัท
ค่าบริการ 5,000 บาท
(ราคานี้ลดพิเศษ ไม่รวม จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม คิดเพิ่ม 2,000 บาท)
(กรณี ทุนจดทะเบียนเกิน 5 ล้านบาท หรือมีต่างชาติร่วมถือหุ้นหรือเป็นกรรมการ ค่าบริการจะเรียกเก็บเพิ่ม ตามความเหมาะสม)
ประมาณการค่าใช้จ่ายในการจัดตั้งบริษัท สำหรับเงินทุนจดทะเบียนไม่เกิน 1 ล้านบาท
บริการ |
ค่าบริการ |
จดทะเบียนบริษัท (ธรรมดา/ออนไลน์) | 5,000 |
พยานรับรองเอกสาร – ฟรี | – 0 – |
จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ออนไลน์) | – 0 – |
ค่าทำตราประทับ (ธรรมดา/ออนไลน์) | 500 |
ค่าธรรมเนียม – กรมพัฒนาธุรกิจการค้า | 6,500 |
รวมกรณีจดทะเบียน ภาษีมูลค่าเพิ่ม ค่าบริการ 2,000 บาท กรณีจดทะเบียนต่างจังหวัด มีคาเดินทาง |
12,000
|
เมื่อตัดสินใจใช้บริการ กรุณาให้รายละเอียด ตามแบบสอบถามนี้
- กรอก แบบสอบถาม — ดาว์นโหลด แบบสอบถาม — แบบ pdf.file ลิงค์ หรือ/ แบบสอบถาม แบบ word.file (เวิร์ดไฟล์) ลิงค์ ( ดู ตัวอย่าง-กรอกแบบ ลิงค์ )
- หมายเหตุ – กรณีมีชาวต่างชาติ ร่วมถือหุ้นหรือ ร่วมเป็นกรรมการ จะมีคิดค่าบริการเพิ่มเติม โดยคนไทยจะเริ่มต้นที่ 5,000 บาท (กรณีมีต่างชาติ มีค่าบริการเพิ่ม)
- กรณีจดทะเบียนต่างจังหวัดจะมีบวกค่าเดินทางเพิ่มเติม
ครอบคลุมขอบเขตบริการต่างๆ ดังต่อไปนี้
- จดทะเบียน ต่างๆ ณ จังหวัดท่าน โดยครอบคลุมงานจดทะเบียน ดังต่อไปนี้
- จดทะเบียนบริษัท
- ขอหมายเลขผู้เสียภาษี
- จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
- จัดส่งเจ้าหน้าที่ของ นาราฯ นำเอกสารให้ท่านเซ็นต์ยังจังหวัดของท่าน
- ค่าบริการ – ไม่รวมการจัดทำใบหุ้น สมุดทะเบียนผู้ถือหุ้น จดทะเบียนประกันสังคม
- ค่าบริการ – ไม่รวมแปลเอกสารเป็นภาษาอังกฤษ โดยที่เรามีเจ้าหน้าที่ต่างชาติซึ่งปฎิบัติงานเต็มเวลาดำเนินการประสานงาน
ขั้นตอนการจดทะเบียน (แบบธรรมดา ยื่นกระดาษ)
ขั้นตอน | วิธีการ | ระยะเวลา | ดำเนินการโดย |
ขั้นตอนที่ 1 | ดำเนินการจองชื่อ ซึ่งจะทราบผลทันทีที่ทำการจองและจัดเตรียมเอกสารแบบฟอร์มสำหรับยื่นจดทะเบียน | 5 นาที | นาราการบัญชี |
ขั้นตอนที่ 2 | ดำเนินการลงนามในเอกสารแบบฟอร์มจดทะเบียนที่นาราการบัญชีเตรียมให้ | ภายใน 24 ชม. นับจาก จองชื่อ | ผู้เริ่มก่อการและกรรมการ |
ขั้นตอนที่ 3 |
ดำเนินการยื่นจดทะเบียนต่อกรมพัฒฯ และจะได้รับเอกสารภายในวันเดียวกันที่ยื่นจดทะเบียน **กรณีจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ดำเนินการยื่นเอกสารต่อกรมสรรพากร ในวันถัดไป |
1 วันทำการ หรือ ตามคิวงาน นับจากวันที่ท่านเซ็นต์แบบฟอร์ม | นาราการบัญชี |
ขั้นตอนการจดทะเบียน (แบบออนไลน์) —- ห ยุ ด บริการจดทะเบียน ออนไลน์ ชั่วคราว
ขั้นตอน | วิธีการ | ระยะเวลา | ดำเนินการโดย |
ขั้นตอนที่ 1 | ดำเนินการยื่นคำขอจดทะเบียนผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Registration) | 2 ชั่วโมง | นาราการบัญชี |
ขั้นตอนทีี่ 2 | รอนายทะเบียนตรวจสอบ | 1-3 วัน | นายทะเบียน |
ขั้นตอนที่ 3 | ลงลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์โดยแสดงตัวผ่าน link ที่ได้รับทาง e-mail | 1 ชั่วโมง | ผู้ประกอบการ |
ขั้นตอนที่ 4 | ยื่นคำขอและชำระค่าธรรมเนียม | 1 ชั่วโมง | นาราการบัญชี |
ขั้นตอนที่ 5 | ดำเนินการขอคัดเอกสารสำคัญของบริษัท | 1 ชั่วโมง | นาราการบัญชี |
ข้อมูล/เอกสารที่ต้องใช้สำหรับการจดทะเบียนบริษัท/ จดทะเบียน ห้างหุ้นส่วน ได้แก่
- กรอกแบบสอบถาม รายละเอียดการจัดตั้งบริษัท (นาราการบัญชี ส่งแบบฟอร์มให้)
- สำเนาของบัตรประชาชนของผู้เริ่มก่อการและกรรมการทุกท่าน
- สำเนาบัตรประชาชนของพยาน 2 ท่าน (นาราการบัญชี จัดเตรียมให้)
- สำเนาทะเบียนบ้านที่ตั้งสำนักงาน
- แผนที่ตั้งสำนักงาน
สิ่งที่ต้องทราบ ก่อนจดทะเบียนบริษัท/ จดทะเบียนห้างหุ้นส่วน
- ทุนจดทะเบียน ท่านสามารถแสดงทุนจดทะเบียน โดยเริ่มต้นตั้งแต่ 10 บาท ก็ได้ แต่ควรเริ่มที่ขั้นต่ำ 1 ล้านบาท เนื่องจากเสียค่าธรรมเนียมเท่ากัน และให้ข้อสังเกตุว่า หากท่านจดทะเบียนด้วยทุนที่น้อยกว่า 1 ล้าน แล้วต่อไปเมื่อท่านมีการเพิ่มทุน ท่านต้องเสียค่าธรรมเนียมอีกครั้ง แล้วยังต้องเสียค่าบริการในการเพิ่มทุนอีกด้วย
- ทุนจดทะเบียน (บริษัท) อาจเรียกชำระแค่เพียงบางส่วน ก็ได้ แต่ต้องไม่น้อยกว่า 25% โดยการเรียกชำระค่าหุ้น หรือ ทุน เพียงบางส่วนนี้ จะมีทั้งข้อดี และข้อเสีย ดังนี้
- ข้อดี – กรณีที่ท่าน ไม่ได้ชำระค่าหุ้นหรือทุนจดทะเบียนจริง จะทำให้ท่านเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ จากทุนจดทะเบียน น้อยลง กล่าวคือ ภาษีธุรกิจเฉพาะจะคำนวณจาก ส่วนของค่าหุ้นที่เรียกชำระแล้วแต่ท่านยังไม่ได้ชำระ (ไม่ใช่จาก ทุนที่ยังไม่ได้เรียกชำระ)
- ข้อเสีย – ผู้ถือหุ้น ยังคงมีภาระหนี้สิน เท่ากับทุนที่ยังไม่ได้เรียกชำระ กล่าวคือ อีก 75% ที่เหลือ กล่าวคือ ในอนาคตถ้าหากถูกฟ้องร้อง ท่านยังคงมีภาระต้องจ่ายอีก ตามสัดส่วนของการถือหุ้นสำหรับ 75% ที่เหลือ
- การถือหุ้นโดยคนต่างชาติหรือบริษัทต่างชาติ ในกรณีที่มีการลงทุนต่ำกว่า 50% หรือมีชาวต่างชาติร่วมเป็นกรรมการ ผู้ถือหุ้นคนไทยทุกคนต้องแสดงแหล่งที่มาของเงินทุน ที่ออกโดยธนาคาร (อ้างถึง คำสั่ง สำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัท เลขที่ 205/5555)
- รอบบัญชี เป็นเรื่องสำคัญที่ต้องนำมาพิจารณา โดยส่วนใหญ่บริษัททั่วไปจะกำหนดรอบบัญชีสิ้นสุด 31 ธ้ันวาคม ซึ่งจะง่ายต่อการจดจำ กำหนดการทางภาษีและการยื่นงบการเงิน อย่างไรก็ตามท่านสามารถเลือกรอบบัญชีได้เองแต่ต้องไม่เกิน 365 วัน หากจำเป็นต้องเลือกเป็นรอบอื่น (นอกจาก 31 ธันวาคม) ท่านควรกำหนดวันสิ้นรอบเป็นวันสิ้นเดือนเพื่อให้ง่ายต่อการจัดทำบัญชีและการนำยื่นภาษีต่างๆ
เอกสาร ที่ใช้สำหรับจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT registration)
- สำเนาบัตรประชาชนของกรรมการผู้มีอำนาจ
- สำเนาทะเบียนบ้านกรรมการผู้มีอำนาจ
- สำเนาหนังสือรับรองกระทรวงพาณิชย์ไม่เกิน 6 เดือน
- สำเนาหนังสือบริคณห์สนธิ
- สำเนาบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น (บอจ.5)
- สำเนาใบสำคัญแสดงรายการจดทะเบีียนห้างหุ้นส่วน/บริษัท
- บัตรประจำตัวผู้เสียภาษีของบริษัท (หากจดทะเบียนตั้งแต่เดือน กุมภาพันธ์ 2555 ไม่ต้องใช้บัตรผู้เสียภาษี)
- หนังสือยินยอมให้ใช้สถานประกอบการ หรือ สัญญาเช่า (อย่างใดอย่างหนึ่ง)
- สำเนาทะเบียนบ้านของสถานประกอบการ
- สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้านของเจ้าของกรรมสิทธิ์ กรณีกรรมสิทธิ์ในอาคารเป็นของนิติบุคคล ต้องแนบหนังสือรับรองนิติบุคคลและสำเนาบัตรประชาชนของกรรมการผู้ลงนาม
- เอกสารแสดงกรรมสิทธิ์ที่ตั้งสถานประกอบการ เช่น สัญญาซื้อขายออกโดยกรมที่ดิน, ใบอนุญาตก่อสร้าง, คำขอเลขที่บ้าน (ใช้อย่างใดอย่างหนึ่ง)
- แผนที่ตั้งพอสังเขป 1 ชุด (พร้อมรับรองสำเนา)
- รูปถ่ายสถานประกอบการ 1 ชุด (ถ่ายให้เห็นชื่อบริษัทและเลขที่บ้านสถานประกอบการอย่างชัดเจนพร้อมรับรองสำเนา)
- ตราประทับ
ข้อมูลเพิ่มเติม – การจดทะเบียนบริษัทจำกัด บริษัทจำกัด คือบริษัทประเภทซึ่งตั้งขึ้นด้วยแบ่งทุนเป็นหุ้นแต่ละหุ้นมีมูลค่าเท่า ๆ กัน โดยผู้ถือหุ้นต่างรับผิดจำกัดเพียงไม่เกินจำนวนเงินที่ตนยังส่งใช้ไม่ครบมูลค่าของหุ้นที่ตนถือ โครงสร้างของ “บริษัทจำกัด”
- ต้องมีผู้ร่วมลงทุน อย่างน้อย 2 คน
- แบ่งทุนออกเป็นหุ้น และมีมูลค่าหุ้นละเท่าๆ กัน
- มูลค่าหุ้นจะต้องไม่ต่ำกว่า 5 บาท
- ความรับผิดชอบของผู้ถือหุ้นมีจำกัด (เฉพาะจำนวนเงินค่าหุ้นที่ยังส่งใช้ไม่ครบ)
- ต้องจดทะเบียนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
การดำเนินการจัดตั้งบริษัทจำกัด ในการจัดตั้งบริษัทจำกัดนั้น จะต้องดำเนินการตามลำดับขั้นตอน ดังนี้
|
หน้าที่ของบริษัทจำกัด
การที่บริษัทมีสภาพเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายทำให้มีสิทธิ หน้าที่รับผิดชอบที่จะต้องปฏิบัติให้ถูกต้องตามกฎหมาย ได้แก่ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ พระราชบัญญัติกำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด สมาคม และมูลนิธิ พ.ศ. 2499 พระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. 2543 รวมทั้งต้องปฏิบัติให้ถูกต้องตามมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ดังนี้
- ต้องมีที่ตั้งสำนักงานซึ่งถือเป็นภูมิลำเนาของบริษัทที่สามารถติดต่อได้ หากมีการย้ายที่ตั้งสำนักงานจากที่จดทะเบียนไว้ ก็ต้องยื่นคำขอจดทะเบียนย้ายที่ตั้งสำนักงานต่อนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัท ถ้าไม่ดำเนินการมีความผิด ปรับ
- บริษัท ไม่เกินสองหมื่นบาท
- กรรมการที่กระทำหรือละเว้น ไม่เกินห้าหมื่นบาท
- จัดทำสมุดทะเบียนผู้ถือหุ้น ให้จัดทำตั้งแต่วันที่ได้จดทะเบียนเป็นบริษัทจำกัด เพื่อบันทึกข้อมูลของผู้ถือหุ้น จำนวนหุ้น และการเข้า-ออกจากการเป็นผู้ถือหุ้น รวมทั้งรายละเอียดเกี่ยวกับการโอนหุ้นและการเปลี่ยนแปลงรายการต่างๆ และต้องเก็บรักษาไว้ที่สำนักงานของบริษัท สมุดทะเบียนผู้ถือหุ้นต้องเปิดให้ผู้ถือหุ้นดูได้ในระหว่างเวลาทำการไม่น้อยกว่าวันละ 2 ชั่วโมง โดยไม่เก็บค่าธรรมเนียม ถ้าไม่จัดทำ ไม่เก็บรักษา หรือไม่ให้ผู้ถือหุ้นดูสมุดทะเบียนผู้ถือหุ้นมีความผิด ปรับ
- บริษัท ไม่เกินสองหมื่นบาท
- กรรมการที่กระทำหรือละเว้น ไม่เกินห้าหมื่นบาท
นอกจากนี้ยังต้องจัดทำใบหุ้นให้แก่ผู้ถือหุ้นทุกคนไว้เป็นหลักฐานเพื่อแสดง การเป็นเจ้าของหุ้นและจะเก็บค่าธรรมเนียมก็ได้แต่ต้องไม่เกินสิบบาท โดยรายละเอียดในใบหุ้นต้องมีชื่อบริษัท หมายเลขหุ้น มูลค่าของหุ้นชำระค่าหุ้นแล้ว หุ้นละเท่าใด มีชื่อของผู้ถือหุ้นหรือคำว่าใบหุ้นออกให้แก่ผู้ถือ และให้กรรมการอย่างน้อย 1 คน ลงลายมือชื่อเป็นสำคัญ ถ้าไม่ทำใบหุ้น หรือเรียกค่ำธรรมเนียมเกิน หรือ มีรายละเอียดในใบหุ้นไม่ครบถ้วนมีความผิด ปรับ
- บริษัท ไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท
- กรรมการที่กระทำหรือละเว้น ไม่เกินห้าหมื่นบาท
- หลังจากนั้นภายใน 6 เดือน นับจากวันที่ได้จดทะเบียนเป็นบริษัทจะต้องจัดให้มีการประชุมสามัญผู้ถือหุ้นขึ้นเป็นครั้งแรก และต่อจากนั้นในทุกๆ รอบ ระยะเวลา 12 เดือนก็ต้องจัดประชุมแบบนี้อีกอย่างน้อยหนึ่งครั้ง การประชุม ที่นอกเหนือจากนี้เรียกว่าการประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้น ถ้าไม่เรียกประชุมมีความผิด ปรับ
- บริษัท ไม่เกินสองหมื่นบาท
- กรรมการที่กระทำหรือละเว้น ไม่เกินห้าหมื่นบาท
สำหรับวิธีการจัดประชุมผู้ถือหุ้นของบริษัททุกครั้ง จะต้องนัดประชุมผู้ถือหุ้น โดยวิธีการลงโฆษณาในหนังสือพิมพ์ในท้องที่ และส่งหนังสือนัดประชุมทางไปรษณีย์ ตอบรับไปยังผู้ถือหุ้นทุกคนล่วงหน้าก่อนวันประชุมไม่น้อยกว่า 7 วัน เว้นแต่นัดประชุม เพื่อพิจารณาเรื่องที่จะต้องลงมติพิเศษให้กระทำการดังกล่าวข้างต้นก่อนวันประชุม ไม่น้อยกว่า 14 วัน โดยข้อความในหนังสือนัดประชุมต้องระบุสถานที่ วัน เวลา และ เรื่องที่จะพิจารณากัน กับข้อความที่จะนำเสนอให้ลงมติพิเศษ ซึ่งเรื่องที่กฎหมายกำหนดให้ต้องมีการลงมติพิเศษ คือ การเพิ่มทุน การลดทุน การแก้ไขข้อบังคับ การควบบริษัท การแก้ไขหนังสือบริคณห์สนธิ การเลิกบริษัท และการแปรสภาพ เป็นบริษัทมหาชนจำกัดกัด
ทั้งนี้ ก่อนจะทำการนัดประชุมผู้ถือหุ้นของบริษัท จะต้องนัดประชุม คณะกรรมการเพื่อพิจารณากำหนด วัน เวลา สถานที่ และเรื่องที่จะเสนอให้ที่ประชุม ผู้ถือหุ้นพิจารณาเสียก่อน ถ้าไม่ลงโฆษณา ไม่ส่งหนังสือนัดประชุม ไม่ระบุ รายละเอียดในหนังสือนัดประชุมมีความผิด ปรับ
- บริษัท ไม่เกินสองหมื่นบาท
- กรรมการที่กระทำหรือละเว้น ไม่เกินห้าหมื่นบาท
และทุกครั้งที่มีการประชุมต้องทำการจดบันทึกรายงานการประชุม มติของ ที่ประชุมไว้ในสมุดให้ถูกต้อง ทั้งต้องเก็บรักษาสมุดจดบันทึกรายงานการประชุมไว้ ณ สำนักงานของบริษัท ถ้าไม่จดบันทึก หรือไม่เก็บรักษาสมุดมีความผิด ปรับ กรรมการ ไม่เกินห้าหมื่นบาท
- ต้องส่งสำเนาบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นทั้งหมดและผู้ที่ไม่ได้เป็นผู้ถือหุ้นแล้วในวันประชุมสำมัญ ไปยังนายทะเบียนหุ้นส่วนนบริษัท อย่างน้อยปีละครั้งแต่ไม่ให้ ช้ากว่า 14 วัน นับแต่วันประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ถ้าไม่ส่งสำเนาบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นมีความผิด ปรับ กรรมการ ไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท
- ต้องรีบนัดประชุมวิสำมัญผู้ถือหุ้นทันที เมื่อบริษัทขาดทุนถึงครึ่งหนึ่งของทุนจดทะเบียนเพื่อแจ้งให้ผู้ถือหุ้นทราบ หรือภายใน 30 วัน เมื่อมีผู้ถือหุ้น ซึ่งมีหุ้นรวมกันไม่น้อยกว่า 1 ใน 5 ร้องขอให้เรียกประชุม ถ้าไม่นัดประชุมมีความผิด ปรับ กรรมการ ไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท
- ต้องจัดให้มีผู้สอบบัญชีหนึ่งคนหรือหลายคนมาตรวจสอบงบการเงิน แล้วต้องนำงบการเงินที่ได้รับการตรวจสอบเสนอในที่ประชุมผู้ถือหุ้นเพื่ออนุมัติภายใน สี่เดือนนับแต่วันที่ปิดบัญชี โดยต้องส่งสำเนางบการเงินให้ผู้ถือหุ้นดูล่วงหน้าก่อนวันประชุมไม่น้อยกว่า 3 วัน และมีสำเนางบการเงินเปิดเผยไว้นสำนักงานของบริษัท ถ้าไม่ดำเนินการมีความผิด ปรับ
- บริษัท ไม่เกินสองหมื่นบาท
- กรรมการที่กระทำหรือละเว้น ไม่เกินห้าหมื่นบาท
จัดทำบัญชี
บริษัทจำกัด เป็นผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี โดยจะให้กรรมการบริษัทเป็นผู้ดำเนินการแทน ซึ่งหน้าที่และความรับผิดชอบของผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีตามพระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. 2543 มีดังนี้
- จัดทำบัญชีรายวัน บัญชีแยกประเภท บัญชีสินค้า และบัญชีประเภทอื่นตามความจำเป็นแก่การทำบัญชี โดยเริ่มตั้งแต่วันที่จดทะเบียนเป็นบริษัท ถ้าไม่จัดทำบัญชีมีความผิด ปรับ
- บริษัท ไม่เกินสามหมื่นบาท และปรับเป็นรายวันอีกไม่เกินวันละหนึ่งพันบาทจนกว่าจะปฏิบัติให้ถูกต้อง
- กรรมการผู้จัดการ ไม่เกินสามหมื่นบาท และปรับเป็นรายวันอีกไม่เกินวันละหนึ่งพันบาทจนกว่า จะปฏิบัติให้ถูกต้อง
- จัดให้มีผู้ทำบัญชีที่มีคุณสมบัติครบถ้วนตามกฎหมาย เพื่อเป็นผู้รับผิดชอบในการจัดทำบัญชีของบริษัท ซึ่งอาจเป็นพนักงานของบริษัท ผู้รับจ้างทำบัญชีอิสระ หรือสำนักงานรับจ้างทำบัญชีก็ได้ ซึ่งเป็นผู้ที่จบไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีทางการบัญชี หรือเทียบเท่าเป็นผู้ทำบัญชีให้ ยกเว้นบริษัทจำกัดที่มีทุนจดทะเบียนไม่เกิน 5 ล้านบาท มีสินทรัพย์รวมไม่เกิน 30 ล้านบาท และมีรายได้รวมไม่เกิน 30 ล้านบาท สามารถให้ผู้ที่จบไม่ต่ำกว่าอนุปริญญา หรือประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ทางการบัญชีหรือเทียบเท่าเป็นผู้ทำบัญชีก็ได้ ซึ่งบริษัทจะต้องควบคุมดูแลผู้ทำบัญชีให้จัดทำบัญชีให้ตรงต่อความเป็นจริงและเป็นไปตามมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ถ้าไม่จัดให้มีผู้ทำบัญชีมีความผิด ปรับ
- บริษัท ไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท
- กรรมการผู้จัดการ ไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท
- ต้องส่งมอบเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชี ได้แก่ บันทึก หนังสือ หรือเอกสารใดๆ ที่ใช้เป็นหลักฐานในการลงรายการในบัญชี ให้กับผู้ทำบัญชีให้ครบถ้วนถูกต้อง เพื่อให้บัญชีที่จัดทำขึ้นสามารถแสดงผลการดำเนินงาน ฐานะการเงิน หรือการเปลี่ยนแปลงฐานะการเงินที่เป็นอยู่ตามความเป็นจริงและตามมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ถ้าไม่จัดให้มีผู้ทำบัญชีมีความผิด ปรับ
- บริษัท ไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท
- กรรมการผู้จัดการ ไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท
4.ต้องปิดบัญชีครั้งแรกภายใน 12 เดือน นับแต่วันเริ่มทำบัญชีและให้ปิดบัญชีทุกรอบ 12 เดือน นับแต่วันปิดบัญชีครั้งก่อน เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากสารวัตรใหญ่บัญชีหรือสารวัตรบัญชีให้เปลี่ยนรอบปี บัญชีแล้ว อาจปิดบัญชีก่อนครบรอบ 12 เดือนได้ ถ้าไม่จัดให้มีผู้ทำบัญชีมีความผิด ปรับ
- บริษัท ไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท
- กรรมการผู้จัดการ ไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท
5.จัดทำงบการเงิน ประกอบด้วย งบแสดงฐานะการเงิน งบกำไรขาดทุน งบแสดงการเปลี่ยนแปลงในส่วนของเจ้าของ หมายเหตุประกอบงบการเงิน และ งบการเงินเปรียบเทียบกับปีก่อน ถ้าไม่จัดทำมีความผิด ปรับ
- บริษัท ไม่เกินห้าหมื่นบาท
- กรรมการผู้จัดการ ไม่เกินห้าหมื่นบาท
โดยงบการเงินต้องได้รับการตรวจสอบและแสดงความเห็นจากผู้สอบบัญชีรับอนุญาต ถ้าไม่ดำเนินการมีความผิด ปรับ
- บริษัท ไม่เกินสองหมื่นบาท
- กรรมการผู้จัดการ ไม่เกินสองหมื่นบาท
- จัดส่งงบการเงินที่ได้รับอนุมัติจากที่ประชุมใหญ่ ผ่านทางระบบอิเล็กทรอนิกส์ (DBD e-Filing) ไปยังกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ภายในหนึ่งเดือนนับแต่วันที่งบการเงินได้รับอนุมัติจากที่ประชุมใหญ่ ถ้าไม่ดำเนินการมีความผิด ปรับ
- บริษัท ไม่เกินห้าหมื่นบาท
- กรรมการผู้จัดการ ไม่เกินห้าหมื่นบาท
- เก็บรักษาบัญชีและเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชีไว้ ณ สถานที่ทำการ หรือสถานที่ที่ใช้ผลิตหรือเก็บสินค้าเป็นประจำ หรือสถานที่ที่ใช้เป็นที่ทำงานประจำ เป็นเวลาไม่น้อยกว่า 5ปี นับแต่วันปิดบัญชี เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากสารวัตรใหญ่บัญชีหรือสารวัตรบัญชีให้เก็บไว้ ณ สถานที่อื่นได้ แต่ถ้บัญชีหรือเอกสารประกอบการลงบัญชีสูญหายหรือเสียหาย บริษัทต้องแจ้ง สารวัตรใหญ่บัญชี หรือสารวัตรบัญชีภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ทราบหรือ ควรทราบ โดยทั้งหมดนี้ ให้ยื่นเรื่องผ่านระบบงานการอนุญาต (DBD e-Permit) ถ้าไม่ดำเนินการมีความผิด ปรับ
- บริษัท ไม่เกินห้าพันบาท
- กรรมการผู้จัดการ ไม่เกินห้าพันบาท
จดทะเบียนบริษัท อะไร ติดต่อหน่วยงานไหน
(อยู่ระหว่างการรวบรวม ข้อมูล)
จดทะเบียนบริษัท เพื่อทำธุรกิจ ขายของผ่านเว็บไซท์ e-Commerce
การทำธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ หรือทำธุรกิจออนไลน์ ขายสินค้า e-Commerce
การทำธุรกิจออนไลน์ เป็นการเริ่มต้นธุรกิจที่ตัดค่าใช้จ่ายการเปิดหน้าร้าน/บริหารจัดการ สามารถขยายตลาดในวงกว้าง และเริ่มต้นได้ทันทีเหมาะสมกับยุคสมัย เป็นที่นิยมของลูกค้า อีทั้งบริการได้ทุกวันตลอดเวลา อย่างไรก็ตามต้องกำหนดกลุ่มเป้าหมายให้ชัดเจน การวางระบบการจัดหาสินค้าที่เหมาะสม การจัดส่ง และการชำระเงินที่น่าเชื่อถือ
ทั้งนี้ผู้ประกอบการธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ จะต้องจดทะเบียน จัดตั้งเป็นหน่วยธุรกิจ ซึ่งอาจอยู่ในรูป
- นิติบุคคล (ตามบริการที่เสนอข้างต้น) หรือ
- อยู่ในรูปบุคคลธรรมดา เป็นแบบทะเบียนพาณิชย์ ก็ต้องไปจดทะเบียนที่ สำนักงานเขต (ในกรุงเทพฯ) เมืองพัทยา เทศบาลหรือองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.)
หลังจากนั้น กรมพัฒนาธุรกิจการค้าจะทำการประเมินคุณสมบัติของเว็บไซต์ที่มีการจดทะเบียนพาณิชย์เพื่อให้เครื่องหมายรับรอง DBD registered (เครื่องหมายรับรองความน่าเชื่อถือ) โดยผู้ประกอบธุรกิจสามารถนำเครื่องหมายดังกล่าวไปติดบนเว็บไซต์ของตน อันเป็นการยืนยันการมีตัวตนอยู่จริงของผู้ประกอบกิจการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ สร้างความมั่นใจให้แก่ผู้บริโภคในการซื้อสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์มากขึ้น
เว็บไซต์ www.trustmarkthai.com เป็นเว็บไซต์ที่ให้บริการตรวจสอบข้อมูลธุรกิจและยืนยันตัวตนของผู้ประกอบการ e-Commerce ที่จดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์กับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เพื่อสร้างความมั่นใจเบื้องต้นใหผู้บริโภคก่อนตัดสินใจซื้อสินค้าและบริการออนไลน์
จดทะเบียนบริษัท เพื่อทำธุรกิจ ท่องเที่ยว
จดทะเบียนบริษัท เพื่อทำธุรกิจ จัดหางาน
จดทะเบียนบริษัท เพื่อทำธุรกิจ ร้านอาหาร ขายอาหารและเครื่องดื่ม
จดทะเบียนบริษัท เพื่อทำธุรกิจ นำเข้า ส่งออก
จดทะเบียนบริษัท เพื่อทำธุรกิจ สถาบันสอนภาษา ที่ไม่ใช้โรงเรียนตามกฎกระทรวงศึกษาธิการ
จดทะเบียนบริษัท เพื่อขอรับการส่งเสริม บีโอไอ BOI
ถาม – ตอบ (QA) – จดทะเบียนบริษัท
ถาม 1 – สำหรับบริษัทที่จดทะเบียนใหม่ ไม่ทราบว่า ทุนจดทะเบียนจะมีผลต่อการเสียภาษีหรือไม่ อย่างไรตอบ 1 – แน่นอนครับ ทุนจดทะเบียน หากไม่ได้รับเงินชำระค่าหุ้น เข้ามาลงทุนในกิจการหรือนำฝากธนาคารจริง จะส่งผลต่อการเสียภาษี สำหรับ 2 ประเภท
ขอให้พิจารณาตัวอย่างข้างล่างนี้
คำแนะนำ สำหรับทุนจดทะเบียนของบริษัท แยกตามกรณีดังต่อไปนี้ กรณีที่ 1 จดทะเบียนบริษัทด้วยทุนที่ไม่เกิน 5 ล้านบาท
กรณีที่ 2 จดทะเบียนบริษัทด้วยทุนที่ไม่เกิน 5 ล้านบาท แต่เรียกชำระค่าหุ้นเพียงแค่ 25%
กรณีที่ 3 สำหรับทางออกที่ดีที่สุด ขอเสนอดังนี้ จดทะเบียนบริษัทด้วยทุน 1 ล้านบาท แต่เรียกชำระค่าหุ้นเพียงแค่ 25%
สรุป ในกรณีที่ 3 น่าจะเป็นคำตอบที่ดีที่สุดครับ เพราะเสียค่าภาษีแค่ 330 บาท (ประหยัดภาษีได้ถึง 100,270 บาท) |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ถาม 2 – ภายหลังการจัดตั้งบริษัทเรียบร้อยแล้ว บริษัทมีภาระหน้าที่อย่างไรบ้างตอบ 2 – หน่วยงานหลักที่ควบคุมการทำธุรกิจ ของบริษัท-ห้างหุ้นส่วนในประเทศไทยนั้น ได้แก่ กรมสรรพากร และ กรมพัฒนาธุรกิจและการค้า กระทรวงพาณิชย์ ในเบื้องต้นขอกล่าวเพียงแค่ 2 หน่วยงานนี้เท่านั้น (แต่สำหรับบางประเภทกิจการ อาจต้องปฎิบัติตามข้อกำหนดของหน่วยงานอื่นด้วย เช่น กรมโรงงาน การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย เป็นต้น)
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ถาม 3 – จดภาษีมูลค่าเพิ่ม ดีหรือไม ทำไมต้องจดภาษีมูลค่าเพิ่มนารา 3 – การจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม จะต้องจดด้วยเหตุผลอย่างใด อย่างหนึ่งดังต่อไปนี้
ข้อดี
ข้อเสีย
หมายเหตุ ท่านสามารถศึกษาเพิ่มเติม เรื่องภาษีมูลค่าเพิ่ม อย่างละเอียด ได้ที่ http://www.52accounting.com/znews-029vat.html |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ถาม 4 – ต้องการจดทะเบียนบริษัท แต่มีชาวต่างชาติมาถือหุ้นด้วย ไม่ทราบว่ามีวิธีการและขั้นตอนที่แตกต่างบริษัทไทยทั่วไปหรือไม่คะตอบ 4 – แน่นอนครับ มีกรรมวิธีที่สับซ้อนกว่าเยอะครับ เนื่องจากบ้านเราค่อนข้างระมัดระวังเกี่ยวกับการเข้ามาทำธุรกิจของชาวต่างชาติ จึงได้มีการออก “พระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. 2542” เข้ามาควบคุมการทำธุรกิจของคนต่างด้าว (ไม่ขอพูดในรายละเอียดครับ มันยาวมาก มาก) ขอสรุปง่ายๆ ดังนี้ครับ ถ้าคนต่างชาติมาถือหุ้นไม่เกิน 49% (ส่วนที่เหลือเป็นคนไทย 51% หรือมากกว่า) ก็ถือเป็นบริษัทไทย ไม่ต้องไปสนใจ พรบ.การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. 2542 ดังกล่าว แต่การถือหุ้นโดยคนต่างชาติหรือบริษัทต่างชาติ ในกรณีที่มีการลงทุนต่ำกว่า 50% หรือมีชาวต่างชาติร่วมเป็นกรรมการ ผู้ถือหุ้นคนไทยทุกคนต้องแสดงแหล่งที่มาของเงินทุน ที่ออกโดยธนาคาร (อ้างถึง คำสั่ง สำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัท เลขที่ 205/5555) เพิ่มเติมครับ หลักฐานแสดงทีีมาของเงินลงทุนที่ออกโดยธนาคาร จะต้องเป็น หนังสือรับรองที่ธนาคารออกให้เพื่อยืนยันเงินคงเหลือในบัญชี (ไม่ใช่ สำเนาสมุดธนาคารหรือบัญชีเงินฝากธนาคาร) และ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า เริ่มบังคับใช้หลักเกณฑ์นี้ตั้งแต่วันที่ 2 มกราคา 2555 |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ถาม 5 – เงินลงทุนขั้นต่ำ ควรมีอย่างน้อยเท่าไหร่ และต้องแสดงหลักฐานการนำเงินมาลงทุนอย่างไรตอบ 5 – ในกรณีของบริษัททั่วไปไม่ได้มีข้อจำกัดเรื่องเงินลงทุน ตามกฎหมายกำหนดให้หุ้นมีมูลค่าอย่างน้อย 5 บาทต่อหุ้น และจะต้องมีอย่างน้อย 3 หุ้น นั้นหมายถึงว่า เงินทุนขึ้นต่ำต้องมีอย่างน้อย 15 บาทครับ แต่ไม่เห็นด้วยนะครับที่จะจดทะเบียนด้วยเงินทุนเท่านี้ เพราะว่า
อันที่จริงแล้ว ณ วันจดทะเบียน ยังไม่ต้องแสดงหลักฐานเกี่ยวกับเงินที่นำมาลงทุน เพียงแค่แสดงในเอกสารและรับรองโดยกรรมการบริษัทเกี่ยวกับการเก็บรักษาเงินลงทุน ซึ่งส่วนใหญ่แล้วกรรมการจะแจ้งว่าเก็บรักษาไว้โดยกรรมการ และสามารถพูดได้ว่าบริษัทส่วนใหญ่แล้วไม่ได้นำเงินเข้าลงทุนจริง (แค่แจ้งในเอกสารเท่านั้น) ดังนั้น การทำบัญชีจะแสดงเงินที่ไม่ได้นำเข้ามาลงทุนจริงดังกล่าว ในบัญชี เงินให้กู้ยืมแก่กรรมการ และต้องคิดดอกเบี้ยเพื่อเสียภาษี ทั้งภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีธุรกิจเฉพาะ เพื่อให้สอดคลัองกับหลักการจัดเก็บภาษี เสมือนว่าบริษัทท่านได้นำเงินลงทุนไปฝากธนาคาร |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ถาม 6 – ตราประทับบริษัท การจัดทำ มีข้อกำหนดอะไรบ้างตอบ 6 – หลักเกณฑ์การจัดทำดวงตราของห้างหุ้นส่วนและบริษัท ดังต่อไปนี้
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ถาม 7 – คำว่า Company Limited หรืออักษรย่อ Co., Ltd. ต่างจาก Limited หรืออักษรย่อ Ltd. อย่างไร ในเชิงกฎหมายมีการอ้างอิงได้ไหมตอบ 7 – การใช้ชื่อภาษาต่างประเทศซึ่งมีความหมายว่า บริษัท นั้น กำหนดให้ใช้ Company Limited (ย่อว่า Co., Ltd.) หรือ ในกรณีที่ไม่ใช้คำว่า Company หรือคำว่า Corporation ให้ใช้คำว่า Limited (ย่อว่า Ltd.) คำเดียวในตอนท้ายชื่อ สำหรับบริษัทจำกัดจดทะเบียนในสหรัฐอเมริกา ให้ใช้คำว่า Corporation หรือ Incorparated (ย่อว่า Inc.) ตอนท้ายชื่อ ทั้งนี้เป็นไปตามประกาศกระทรวงเศรษฐการ เรื่อง อักษรต่างประเทศ ซึ่งมีความหมายว่า “ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล” “ห้างหุ้นส่วนจำกัด” และ “บริษัทจำกัด
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ถาม 8 – สนใจ จะจดทะเบียนบริษัท เพื่อ ขายสินค้า ผ่านทางอินเตอร์เน็ท (ทำเวปไซท์ โชว์สินค้า และให้ลูกค้าโอนเงินเพื่อชำระค่าสินค้า ส่วนสินค้าจัดส่งให้ทาง EMS) ไม่ทราบว่า หลังจากจดทะเบียนบริษัท แล้ว ต้องขออนุญาตอะไรเพิ่มติมหรือไม่ตอบ 8 – หากท่านไม่ได้เป็นผู้ผลิต และไม่ได้เป็นผู้นำเข้า และเข้าใจว่าท่านทำธุรกกรรผ่านช่องทางอินเตอร์เน็ท ดังนั้น ท่านต้องขอ จดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ดังมีรายละเอียดดังต่อไปนี้ การจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ พ.ร.บ.ทะเบียนพาณิชย์ พ.ศ. 2499 และ ประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง ให้ผู้ประกอบพาณิชยกิจต้องจดทะเบียนพาณิชย์ (ฉบับที่ 11) พ.ศ. 2553 ให้ผู้ประกอบพาณิชยกิจ ดังต่อไปนี้ต้องจดทะเบียนพาณิชย์
บุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลต้องจดทะเบียนพาณิชย์ โดยยื่นขอจดทะเบียนพาณิชย์ ณ สำนักงานทะเบียนพาณิชย์กรุงเทพมหานคร เมืองพัทยา เทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบล ที่สำนักงานแห่งใหญ่ตั้งอยู่ในเขตท้องที่ หรือองค์การบริหารส่วนจังหวัดเฉพาะในท้องที่นอกเขตเทศบาลและองค์การบริหารส่วนตำบล ผู้ประกอบพาณิชยกิจดังกล่าวไม่จดทะเบียนพาณิชย์ แสดงรายการเท็จ หรือไม่มาให้นายทะเบียนพาณิชย์สอบสวน ไม่ยอมให้ถ้อยคำ หรือไม่ยอมให้ทะเบียนพาณิชย์ตรวจสอบมีความผิด เป็นไปตามกฎหมาย ทั้งนี้กรมพัฒนาธุรกิจการค้าได้ถ่ายโอนอำนาจจดทะเบียนพาณิชย์ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแล้ว |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ถาม 9 – วัตถุประสงค์ของห้างหุ้นส่วนและบริษัท ที่ต้องห้าม ตามกฎหมาย มีลักษณะดังต่อไปนี้ (ห้ามทำ ได้แก่)ตอบ 9 – วัตถุประสงค์ที่ต้้องห้าม (ไม่ให้ประกอบธุรกิจ เว้นแต่ได้รับอนุญาต) ได้แก่
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ถาม 10 – ไม่ทราบว่า ถ้าบุคคลที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ จะมาเซ็นต์เอกสาร ในฐานะ กรรมการบริษัท ได้หรือไม่ตอบ 10 – ผู้เยาว์ จะเข้าเป็น หุ้นส่วน ผู้เริ่มก่อการ กรรมการ หรือ ผู้ชำระบัญชี ก็ต่อเมื่อ
ในกรณีผู้เยาว์เข้าเป็นหุ้นส่วนในห้างหุ้นส่วนโดยการรับมรดก ให้นายทะเบียนรับจดทะเบียนเมื่อปรากฎว่า
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ถาม 11 – การนำบริษัท(ที่จดทะเบียนแล้ว) มาเป็นผู้ถือหุ้นและผู้เริ่มก่อการในบริษัทจดทะเบียนใหม่ สามารถทำได้หรือไม่ตอบ 11 – การนำบริษัทที่มีอยู่แล้ว(จดทะเบียนแล้ว) มาถือหุ้นในบริษัทใหม่ สามารถทำได้ แต่จะมาเป็นผู้่ก่อการไม่ได้ กล่าวคือ เมื่อเริ่มต้นท่านจะต้องจดทะเบียนบริษัทโดยใช้ชื่อบุคคลอย่างน้อย 3 ท่านก่อน แล้วเมื่อจดทะเบียนแล้วเสร็จ ท่านจึงโอนหุ้นให้บริษัท หากทำอย่างนี้นายทะเบียนจะปฎิเสธการรับจดทะเบียนไม่ได้ |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ถาม 12 – การลงลายมือชื่อ ผู้เป็นหุ้นส่วน ผู้ก่อการ กรรมการ ในคำขอจดทะเบียน สามารถให้ผู้อื่น ลงลายมือชื่อแทน โดยการมอบอำนาจได้หรือไม่ตอบ 12 – ไม่สามารถทำได้ ผู้เป็นหุ้นส่วน ผู้ก่อการ กรรมการ จะต้องลงลายมือชื่อด้วยตัวเองเท่านั้น หากไม่สามารถลงลายมือชื่อต่อหน้านายทะเบียน ก็ให้ ลงลายมือชื่อต่อหน้า เจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง… ทนายความ ผู้สอบบัญชี และบุคคลอื่น ตามที่นายทะเบียนกลางประกาศกำหนด เพิ่มเติม การลงลายมือชื่อในคำขอจดทะเบียนและเอกสารประกอบ ผู้เป็นหุ้นส่วน ผู้เริ่มก่อการ กรรมการ หรือ ผู้ชำระบัญชี ต้องลงลายมือชื่อด้วยตัวเอง การลงลายมือชื่อในคำขอจดทะเบียน กระทำได้ตามวิธี ดังนี้
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ถาม 13 – ที่ตั้งสำนักงาน ในการจดทะเบียนบริษัท บริษัทจะต้องเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในสถานที่ตั้งนั้นหรือไม่ และเป็นไปตามกฎหมายใดตอบ 13 – การระบุสถานที่ตั้งของนิติบุคคลในการจดทะเบียนนิติบุคคลเป็นไปตามบทบัญญัติไว้เฉพาะในส่วนของบริษัทจำกัดว่า บริษัทจำกัดต้องมีสำนักงานบอกทะเบียนไว้แห่งหนึ่ง ซึ่งธุรการติดต่อและคำบอกกล่าวทั้งปวงจะส่งถึงบริษัทได้ ณ ที่นั้น ทั้งนี้ บทบัญญัติมาตราดังกล่าวมิได้มีข้อกำหนดว่าบริษัทจำกัดจะต้องเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในสถานที่ตั้งนั้น จึงอาจจะได้มาซึ่งสิทธิในการใช้เป็นสถานที่ตั้งสำนักงานของบริษัทโดยการเช่าหรือได้รับความยินยอมมากเจ้าของกรรมสิทธิ์ก็ได้ |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
หุ้นบุริมสิทธิ ประสงค์จะกำหนดสิทธิประโยชน์ในหุ้นบุริมสิทธิที่แตกต่างจากหุ้นสามัญ ดังนี้ถาม 14 – ในการจ่ายเงินปันผลคราวใดๆ ในหุ้นบุริมสิทธิมีสิทธิในเงินปันผลที่บริษัทประกาศจ่ายก่อนหุ้นสามัญเป็นจำนวนร้อยละ 10 ของมูลค่าหุ้นบุริมสิทธิที่ชำระแล้วและหากมีเหลือ ให้จ่ายแก่หุ้นสามัญเป็นจำนวนเท่าๆ กัน ทั้งนี้หากปรากฏว่าเงินปันผลที่ประกาศจ่ายมีจำนวนไม่เกินร้อยละ 10 ของมูลค่าหุ้นบุริมสิทธิที่ชำระแล้วดังกล่าว เงินปันผลทั้งจำนวนให้จ่าย ให้แก่หุ้นบุริมสิทธิเท่านั้น ตอบ 14 – ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1108 (4) ได้กำหนดให้ที่ประชุมตั้งบริษัทวางกำหนดสภาพและบุริมสิทธิของหุ้นบุริมสิทธิ จึงเทียบเคียงได้ว่า หุ้นบุริมสิทธิจะมีสภาพและบุริมสิทธิจะมีสภาพและบุริมสิทธิแห่งหุ้นเป็นอย่างไร จะต้องกำหนดโดยที่ประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้น แต่ทั้งนี้ข้อกำหนดสิทธิและสภาพดังกล่าวต้องไม่ขัดต่อกฎหมายหรือความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน ดังนั้น เมื่อมีประชุมผู้ถือหุ้นของบริษัทฯ ได้กำหนดข้อบังคับ ในเรื่องสิทธิเกี่ยวกับการจ่ายเงินปันผลการได้รับเงินคืน เมื่อที่ประชุมผู้ถือหุ้นมีมติให้เลิกบริษัทและชำระบัญชี และการออกเสียงลงคะแนนไว้ตามที่แจ้งมาโดยไม่ขัดต่อกฎหมายหรือ ความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนก็สามารถกระทำได้ ถาม 15– ในการกำหนดจ่ายเงินปันผลในกรณีต่างๆ ดังต่อไปนี้ บริษัทฯ สามารถกระทำได้หรือไม่ โดยไม่ขัดกับข้อบังคับของบริษัทฯ ตามที่กำหนดไว้ข้างต้น ข้อเท็จจริงบริษัทมีทุน 1 ล้านบาทแบ่งเป็นหุ้นบุริมสิทธิ 100 หุ้น หุ้นสามัญ 900 หุ้น ราคาหุ้นละ 1,000 บาท ชำระแล้วหุ้นละ 500 บาท รวมทุนชำระแล้ว 500,000 บาท
ตอบ 15 – การจ่ายเงินปันผลในกรณีต่างๆ โดยไม่ขัดกับข้อบังคับตามที่กำหนดไว้นั้น ตามกรณีที่ 1 และกรณีที่ 2 สามารถกระทำได้ส่วนในกรณีที่ 3 เนื่องจากมีรายละเอียดไม่ชัดเจน จึงไม่ขอตอบครับ |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ถาม 16 – ข้อบังคับ บริษัทจำกัดจะกำหนดข้อบังคับในการส่งหนังสือนัดประชุมผู้ถือหุ้นไว้แตกต่างจากบทบัญญัติของกฎหมาย ได้หรือไม่ตอบ 16 – ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1175 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ 18) พ.ศ.2551 มิได้มีบทยกเว้นให้บริษัทกำหนดข้อบังคับชัดกับบทบัญญัติของกฎหมายได้ แต่เป็นบทบังคับบริษัทจำกัดในการส่งหนังสือเรียกประชุมผู้ถือหุ้นทุกคนที่มีชื่อในสมุดทะเบียนของบริษัทไปรษณีย์ตอบรับก่อนวันที่ประชุมไม่น้อยกว่าเจ็ดวัน เว้นแต่เป็นคำบอกกล่าวเรียกประชุมใหญ่เพื่อลงมติพิเศษให้กระทำการดังว่านั้น ก่อนวันประชุมไม่น้อยกว่าสิบสี่วัน ดังนั้น บริษัทจึงไม่สามารถปฏิบัติตามข้อบังคับเดิมของบริษัทที่ขัดกับพระราชบัญญัตินี้ได้อีกต่อไป และไม่สามารถดำเนินการอื่นแทนการลงพิมพ์โฆษณาคำบอกกล่าวเรียกประชุมในหนังสือพิมพ์ได้ |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ถาม 17 – จองชื่อบริษัททางอินเตอร์เน็ท ชื่อที่จองนี้จะหมดอายุ ภายใน 30 วัน ถ้าจะจองชื่อใหม่ ต้องรอชื่อบริษัทที่จอง หมดอายุก่อนไหม (รอให้ครบ 30 วัน)ตอบ 17 – คุณสามารถจองชื่อใหม่ ได้ทันทีครับมื่อได้รับอนุมัติ (ตอนนี้ การจองชื่อต้อง จองผ่านอินเตอร์เน็ทเท่านั้น และชื่อจะได้รับอนุมัติภายใน 20 นาที แต่บ่อยครั้งที่จะอนุมัติใช้เวลาเป็นเชั่วโมง) ก็สามารถนำชื่อไปจดทะเบียนได้เลย อย่างไรเสีย ชื่อเดิมไม่มีผลต่อการจองชื่อใหม่ และจะหมดอายุไปเองโดยที่คุณไม่ต้องทำอะไรทั้งนั้นครับ |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ถาม 18 – ยกเลิกชื่อที่จองทางอินเตอร์เน็ทตอบ ขอให้ดูคำตอบข้อ 17 ข้างบนก่อนครับ แต่หากจำเป็นต้องยกเลิกชื่อ ไม่ว่าด้วยเหตุผลใดก็ตาม เช่น ไม่ต้องการมีส่วนรวมในการขั้นตอนการเปิดบริษัท เป็นต้น คุณจะยกเลิกชื่อเดิมได้ดังนี้ครับ ผู้จองชื่อสามารถยื่นหนังสือขอยกเลิกชื่อที่จองพร้อมคืนหลักฐานใบจองชื่อได้ที่ฝ่ายจองชื่อนิติบุคคล สำนักงานบริการจดทะเบียนธุรกิจ 1 – 7 หรือสำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัด ในกรณีสำนักงานบริการจดทะเบียนธุรกิจ 1-7 หรือสำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัดเป็นผู้รับหนังสือขอยกเลิกชื่อที่จองและหลักฐานใบจองชื่อ ให้สำนักงานที่รับหนังสือดำเนินการโทรสารหนังสือขอยกเลิกและใบจองชื่อไปยังฝ่ายจองชื่อนิติบุคคลทันที ชื่อที่ได้มีการยกเลิกการจอง นายทะเบียนจะอนุญาตให้จองชื่อนั้นได้หลังจากวันที่ได้ยกเลิกแล้ว 5 วัน |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ถาม 19 – อายุกรรมการ และ อายุของผู้ถือหุ้น ถ้ายังไม่บรรลุนิติภาวะ จะมาเซ็นต์เอกสาร ในฐานะ กรรมการบริษัท ได้หรือไม่ตอบ 19 – ผู้เยาว์ จะเข้าเป็น หุ้นส่วน ผู้เริ่มก่อการ กรรมการ หรือ ผู้ชำระบัญชี ก็ต่อเมื่อ
ในกรณีผู้เยาว์เข้าเป็นหุ้นส่วนในห้างหุ้นส่วนโดยการรับมรดก ให้นายทะเบียนรับจดทะเบียนเมื่อปรากฎว่า
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ถาม 20 – บริษัทร่วมทุนกันต่างชาติ จะลงลายมือชื่อ เซ็นต์เอกสาร ที่ต่างประเทศได้ไหมตอบ 20 – สามารถลงลายมือชื่อ เซ็นต์เอกสาร ที่ต่างประเทศได้ แต่ต้องปฎิบัติตาม ข้อกำหนดข้างล่างนี้ การลงลายมือชื่อในคำขอจดทะเบียนในต่างประเทศ ผู้ขอจดทะเบียนจะต้องลงลายมือชื่อต่อหน้าบุคคลดังต่อไปนี้
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ถาม 21 – การลงทุนด้วยแรง สามารถทำได้หรือไม่ตอบ 21 – การลงทุนด้วยแรงสามารถทำได้ โดยมีเงื่อนไขดังต่อไปนี้ กรณีบริษัทจำกัด
กรณีห้างหุ้นส่วนจำกัด
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ถาม 22 – การจดทะเบียนในเขตกรุงเพพฯ สามารถจดทะเบียนที่สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าเขตแห่งใดแห่งหนึ่ง ได้ทุกกรณีหรือไม่ตอบ ไม่ได้ ทุกรณีครับ กล่าวคือ โดยทั่วไป สามารถจดทะเบียน ณ ส่วนจดทะเบียนธุรกิจกลาง หรือ สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าเขต ได้ เ้ว้นแต่ ห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทที่มีวัตถุที่ประสงค์ประกอบกิจการ หลักทรัพย์ คลังสินค้า ห้องเย็น ไซโล นายหน้าประกันภัย บริหารสินทรัพย์ ให้ยื่นคำขอจดทะเบียนที่ส่วนจดทะเบียนธุรกิจกลางเท่านั้น |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ถาม 23 – ต้องการเปิดบริษัทเพื่อจัดหาคนงาน โดยมีผู้ถือหุ้นและกรรมการเป็นคนมาเลเซีย ไม่ทราบว่า สามารถจดทะเบียนบริษัทได้ไหม และต้องทำอย่างไรบ้างตอบ การประกอบกิจการจัดหางาน นั้นมีความซับซ้อนกว่าธุรกิจทั่วไป เพราะมีการควบคุมอย่างใกล้ชิดโดย กองตรวจและคุ้มครองคนหางาน กรมการจัดหางาน โดยมีข้อพึงพิจารณาดังต่อไปนี้
คุณสมบัติของผู้ยื่นคำขอ ผู้ขออนุญาตจัดหางานในประเทศ กรณีเป็นนิติบุคคล ต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามดังนี้
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ถาม 24 – ต้องการจดทะเบียนบริษัท แล้วขอใบอนุญาตทำงานให้ชาวต่างชาติ ไม่ทราบว่า มีขั้นตอนอย่างไรบ้างตอบ – การขอใบอนุญาตทำงาน นั้น เป็นเรื่องที่ต้องวางแผน ตั้งแต่เริ่มจดทะเบียนบริษัท ครับ เพราะ ต้องทราบข้อจำกัดต่างๆ เกี่ยวกับการขอใบอนุญาตทำงานและวีซ่าทำงน มีสูตรง่ายๆ ที่ต้องจำไว้ครับดังนั้ ใบอนุญาต สำหรับการทำงานของชาวต่างชาติ ต้องมี
วีซ่าที่จะขอใบอนุญาตได้นั้น มี 2 ประเภท คือ (Nonimmigrant VISA Type B and O ) เท่านั้น เพราะฉะนั้น ก่อนที่จะขอ ใบอนุญาตท่านจะต้องขอเปลี่ยนแปลงประเภทของการตรวจลงตราของวีซ่าก่อน ซึ่งการขอเปลี่ยนแปลงประเภทการตรวจลงตราของวีซ่าสามารถทำได้ ทั้ง ในประเทศและ ต่างประเทศ แต่ในกรณีที่บริษัทจดทะเบียนใหม่ เราขอแนะนำให้ท่านไปขอวีซ่า Non B นอกราชอาณาจักรไทย ซึ่งขั้นตอนการขอใบอนุญาต ทำงาน อาจสรุปอย่างง่ายได้ดังนี้
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ถาม 25 – เปิดร้าน มาสักระยะแล้ว กำลังคิดว่าจะจดทะเบียนเป็นบริษัทดีไหม ถ้าไม่จดทะเบียนบริษัท หนูต้องทำอย่างไรบ้างคะนาราการบัญชี – ถ้าไม่จดทะเบียนเป็นรูปบริษัท จะต้องจดทะเบียนการค้า (แบบบุคคลธรรมดา) กฎหมายทะเบียนพาณิชย์ กำหนดให้ผู้ที่จะขอยื่นจดทะเบียนพาณิชย์ ต้องยื่นขอจดภายใน 30 วัน นับแต่วันที่เริ่มประกอบกิจการ นั้นคือ จะจดทะเบียนได้ ก็ต่อเมื่อมีการเปิดกิจการสักระยะหนึ่งแล้ว แต่ยังไม่เกินระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด คือ 30 วัน กรณีได้ยื่นขอจดทะเบียน หลังเปิดกิจการมาแล้วเกิน 30 วัน ผู้ขอจดต้องทำการเสียค่าปรับตามกฎหมาย และขอจดทะเบียนพาณิชย์ได้ตามปกติ การไม่จดทะเบียนพาณิชย์ มีความผิดต้อง ระวางโทษปรับไม่เกิน 2,000 บาท และปรับวันละไม่เกิน 100 บาท จนกว่าจะปฎิบัติให้ถูกต้อง |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ถาม 26 – ขอสอบถามฉันจดจัดตั้งบริษัทและได้ทำการจองชื่อบริษัทไปแต่ชื่อกลับซ้ำกับที่จดทะเบียนไว้แล้ว อยากทราบว่าการจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทสามารถใช้ชื่อซ้ำกันได้ไหมค่ะนาราการบัญชี – โปรดทราบในการจดทะเบียนบริษัท ห้างหุ้นส่วนจำกัด และบริษัทจำกัดชื่อที่ใช้จะต้องไม่ซ้ำหรือมีเสียงเรียกขานตรงกันกับชื่อของ ห้างหุ้นส่วนจำกัด และบริษัทจำกัด และบริษัทมหาชนจำกัด ที่ได้ยื่นขอจดทะเบียนไว้แล้ว โดยในการจดจัดตั้งบริษัทขั้นตอนแรกต้องทำการจองชื่อบริษัท จากระบบของการจองชื่อของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า หากมีชื่อซ้ำกันกับบริษัทที่จดทะเบียนไว้แล้วทางระบบจะไม่สามารถให้ทำการจองชื่อได้ |
สนใจบริการ หรือ ข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ
บริษัท นารา การบัญชี จำกัด
กรณีเร่งด่วน/ หลังเลิกงาน โทร 080 175 2000 คุณ ธนา
Line ID: @nara53 |
แผนที่
https://goo.gl/maps/GBPpLfS42QsZg4jf6
เดินทาง รถไฟฟ้า สายสีเหลือง สถานี โชคชัย 4 ประตูทางออก 4 นาราฯ อยู่ในซอยลาดพร้าว 52
ท่าน จดทะเบียนเอง แต่ต้องการ ชื่อและหมายเลขผู้สอบบัญชี
เรายินดีให้รายละเอียดฟรี แต่ขอให้ท่านบริจาคเงินในนามท่าน ให้ โรงพยาบาลเด็ก
อย่างน้อย 500 บาท
(บริจาคแล้ว ส่งใบเสร็จให้เรา)
คลิ๊กที่นี้
ท่าน จดทะเบียนเอง แต่ต้องการ ลายมือชื่อทนายรับรอง
เรายินดีให้รายละเอียดฟรี แต่ขอให้ท่านบริจาคเงินในนามท่าน ให้ โรงพยาบาลเด็ก
อย่างน้อย 500 บาท
(บริจาคแล้ว ส่งใบเสร็จให้เรา)
คลิ๊กที่นี้
เมื่อตัดสินใจจดทะเบียนบริษัท ทำอย่างไรดี
เมื่อตัดสินใจ ใช้บริการจดทะเบียนบริษัท กับ นาราการบัญชี ทำดังนี้
- เมื่อสนใจ ใช้บริการ กรุณากรอก ข้อมูลในแบบสอบถาม ดาว์นโหลดแบบฟอร์ม (พร้อมตัวอย่าง) คลิ๊กเลย
- ใบเสนอราคา เมื่อได้รับแบบสอบถามที่กรอกข้อมูล เราจะส่งใบเสนอราคาให้ท่านภายใน 1 ชั่วโมง (เจ้าหน้าที่จะติดต่อกลับท่านภายใน ครึ่งชั่วโมง เพื่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม)
- จ่ายชำระค่าบริการ ส่วนแรก 50% + ค่าธรรมเนียมการจดทะเบียน 100%
- เซ็นต์แบบฟอร์มจดทะเบียน เราจะนัดเจอท่าน เวลา 09.00 น. ณ สำนักงานกรมพัฒนาธุรกิจการค้า – จังหวัดของท่าน (กรุงเทพฯ เซ็นต์เอกสาร ที่ นาราการบัญชี) และดำเนินการจดทะเบียนในวันเดียวกัน
- รับหลักฐานการจดทะเบียนบริษัท ฉบับจริงรอรับได้เลย ณ วันจดทะเบียน
ท่านรู้ไหม – เราให้บริการจดทะเบียน ทั่วประเทศ
เรามีศูนย์บริการจดทะเบียน ในจังหวัด ภูเก็ต – ขอนแก่น – ชุมพร – กรุงเทพฯ (ไม่มีค่าเดินทาง) ( จังหวัดอื่น ค่าเดินทาง 1,000 ทั่วประเทศ ยกเว้น กทม และปริมาณฑล)
จดทะเบียนบริษัท หากมีปัญหา เราหาทางออก ให้ท่านได้
จดทะเบียนบริษัท แบบการถือครองหุ้น ส่วนใหญ่โดยชาวต่างชาติ ปรึกษา เราได้
จดทะเบียนบริษัท ภายใต้ สิทธิพิเศษ/ พรบ ต่างด้าว/ สนธิสัญญาระหว่างประเทศ หรือ อื่นๆ เราทำได้
ท่านรู้ไหม – เรามี บริษัทจดทะเบียนพร้อมขาย อายุ 1 – 11 ปี พร้อมโอน ขาย
ท่านรู้ไหม – เรามีความพร้อม ที่จะเติบโต ไปพร้อมกับท่าน เรามทีีมนักบัญชี ผู้เชี่ยวชาญภาษี ผู้สอบบัญชี ทนายความ นักแปลมืออาชีพ ทีมงานจดทะเบียน (ทั้งบริษัททั่้วไป และมหาชน) และมีสัมพันธ์ที่ดีกับ กลุ่มเลขานุการมืออาชีพ ตัวแทนอสังหาริมพทรัพย์ (Relocation Service) ที่สำคัญเรามีเจ้าหน้าที่ต่างชาติประจำสำนักงานฯ และ พนักงานหลายท่านก็สื่อสารภาษาอังกฤษได้ดี
จดทะเบียนบริษัท
ข่าวใหม่ – ข่าวล่าสุด
- จดแจ้ง (บัญชีเล่มเดียว) กับสรรพากร แล้วไม่้ต้องเสียภาษี ปี 59 และไม่ตรวจย้อนหลัง ไม่มีผลต่อ บริษัทจดทะเบียนใหม่ ในปี 59 อ่านเพิ่มเติม เรื่อง จดแจ้งสรรพากร คลิกที่นี้ถ้าท่านจะมีกำไรและเสียภาษีมากๆ ในปี 59 แนะนำว่าให้ท่าน ซื้อบริษัทแทนจดทะเบียนใหม่ สนใจซื้อบริษัท คลิก ที่นี้
- จด ภาษีมูลค่าเพิ่ม ใน กทม สรรพากรบางพื้นที่ จะต้องให้แสดง บัตรประจำตัวประชาชนตัวจริง ของกรรมการ และทะเบียนบ้านตัวจริง ของสถานประกอบการด้วย เริ่มแล้วตั้งแต่ เดือนตุลาคม 2558
- ไม่อนุญาตให้ บริษัทจดทะเบียนใหม่ มีวัตถุประสงค์ และใช้ชื่อบริษัทเกี่ยวกับการท่องเที่ยว ดังนั้น ต้องจดทะเบียนโดยไ่ม่มี แล้วดำเนินการ ใบอนุญาตท่องเที่ยว (TAT License) แล้วจึงกลับไป เปลี่ยนชื่อ และเพิ่มวัตุประสงค์
- บริษัทที่มีวัตถุประสงค์เกี่ยวกับ จำหน่ายสลากกินแบ่งรัฐบาล กรรมการและผู้ถือหุ้นทุกท่าน ต้องแสดงบัตรประจำตัวประชนชน ตัวจริงเท่านั้น
- เปิดบัญชีธนาคารในนามบริษัท กรรมการต้องลงลายมือชื่อต่อหน้าธนาคาร และผู้ถือหุ้นที่ถือเกิน 20% ต้องไปเซ็นต์รัับรองเอกสารที่ธนาคารด้วย ชาวอเมริกันที่ถือหุ้นเกิน 25% ต้องแสดงการลงทุนต่อรัฐบาลอเมริกา ด้วย
ผู้มีสิทธิยื่นคำขอจดทะเบียน ภาษีมูลค่าเพิ่ม
1. ผู้ประกอบการฯ ที่มีหน้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ได้แก่
1.1 ผู้ประกอบการซึ่งประกอบกิจการขายสินค้าหรือให้บริการที่มีรายรับเกิน 1,800,000 บาทต่อปี
1.2 ผู้ประกอบการซึ่งมีแผนงานที่สามารถพิสูจน์ได้ว่าได้เตรียมการเพื่อประกอบกิจการขายสินค้าหรือให้บริการ ที่อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม อันเป็นเหตุให้ต้องมีการซื้อสินค้าหรือรับบริการที่อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม เช่น ก่อสร้างโรงงาน ติดตั้งเครื่องจักร
1.3 ผู้ส่งออกซึ่งประสงค์ที่จะจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
แบบฯ ที่ใช้ ได้แก่ แบบภ.พ.01 คำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มตามประมวลรัษฎากร
2. ผู้ประกอบการที่ได้รับการยกเว้น ภาษีมูลค่าเพิ่มตามที่กำหนดในมาตรา 81/3 แห่งประมวลรัษฎากร และประสงค์ขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ได้แก่
2.1 ผู้ประกอบการขายสินค้าที่มิใช่การส่งออก หรือการให้บริการ ตามมาตรา 81(1) (ก) ถึง (ฉ)
2.2 ผู้ประกอบการที่มีรายรับไม่เกิน 1,800,000 บาทต่อปี
แบบฯ ที่ใช้ ได้แก่
(1) แบบ ภ.พ.01.1 คำขอแจ้งใช้สิทธิ์เพื่อขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มตามประมวลรัษฎากร
(2) แบบภ.พ.01 คำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มตามประมวลรัษฎากร
สกลนคร ลูกค้าให้มา นาราฯ ก็บ่อกล้าขัดใจลูกค้าใหม่ครับ ท่านบอกว่ารีบ เราก็พร้อมครับ ย้ายที่ตั้งสำนักงาน จาก สกลนคร มา กรุงเทพมหานคร เขตบางซื่อ เรารีบไปย้ายที่ตั้งทั้งกรมพัฒนาธุรกิจการค้า และกรมสรรพากร วันเดียวเสร็จหมด ท่านก็ดีใจครับ นาราฯ ก็สบายใจ ลูกค้าใจดี...
ลพบุรี จดทะเบียนบริษัท เปิดบริษัทใหม่
ลพบุรี เรามาจดทะเบียน กว่า 10 ครั้งแล้วครับ มาทีไล หลงไหล เย็นตาโฟ ร้านดังหลังอำเภอ เสียแล้วลูกค้าให้มาจดทะเบียน นาราก็ยินดีครับ ท่านเป็นทหาร นาราเป็นประชาชน ยินดีรับใช้ท่าน ทหาร ทุกท่านครับเขตทหาร ก็เข้าไปให้ท่านเซ็นต์เอกสาร มาแล้วครับ เจอกันพรุ่งนี้ที่สกลนคร ครับ...
เชียงใหม่ เปิดบริษัท จดทะเบียนบริษัท
เปิดบริษัท จดทะเบียนบริษัท จดทะเบียนห้างหุ้นส่วน จังหวัด เชียงใหม่ ท่านไม่ต้องเดินทาง นาราการบัญชี จะส่งเจ้าหน้าที่เข้าพบท่าน ณ จังหวัดท่าน ให้ท่านเซ็นต์เอกสาร และส่งเอกสารคืนท่าน เราให้บริการจดทะเบียน ทุกจังหวัด ทั่วประเทศ โทร 080 173 2000 , 080 174 2000, 02 933 55...
เพชรบุรี จดทะเบียนบริษัท
นาราการบัญชี เดินทางมาจังหวัดเพชรบุรี เพื่อจดทะเบียนบริษัทให้ลูกค้า เพื่อทำธุรกิจซื้อขายรังนกนางแอ่น ดีใจครับ ได้ลูกค้าใจดีตลอด มาที่นี้ ท่านลูกค้าก็มาแต่เช้า นาราการบัญชี ก็มาเช้า เราเลยจดทะเบียนได้เสร็จไวมากๆ ครับ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม ได้ที่ บริษัท นารา การบัญชี...
กระบี่ เปิดบริษัท จดทะเบียนบริษัท
เปิดบริษัท จดทะเบียนบริษัท จดทะเบียนห้างหุ้นส่วน จังหวัด กระบี่ ท่านไม่ต้องเดินทาง นาราการบัญชี จะส่งเจ้าหน้าที่เข้าพบท่าน ณ จังหวัดท่าน ให้ท่านเซ็นต์เอกสาร และส่งเอกสารคืนท่าน เราให้บริการจดทะเบียน ทุกจังหวัด ทั่วประเทศ โทร 080 173 2000 , 080 174 2000, 02 933 55 11...
จดทะเบียนบริษัท เชียงราย – เชียงแสน
ลูกค้าต่างชาติ ต้องการจดทะเบียนบริษัท ที่เชียงราย อำเภอเชียงแสน เราก็ยินดีครับ เราออกเดินทาง ตั้งแต่เช้า แล้วสำเร็จทุกอย่าง ในวันเดียวกันครับ ขอบคุณลูกค้าใจดีครับ รอรับ สนามบิน พาไปจดทะเบียน ที่ dbd เชียงราย และสรรพากร เชียงแสน และรับรองอย่างดี พร้อมส่งกลับ สนามบิน...
จดทะเบียนบริษัท ชุมพร เปลี่ยนแปลง แก้ไข รายการทะเบียนบริษัท ชุมพร
จดทะเบียนบริษัท/ ห้างหุ้นส่วน ชุมพร ติดต่อผู้จัดการ คุณวัชราภรณ์ เชื่อมบางแพ ปัณณ์กิจ แอคเคาน์ติ้ง 224/8 หมู่ที่ 5 ตำบลนาทุ่ง อำเภอเมืองชุมพร จังหวัดชุมพร 86000 โทร 086 951 9403 อีเมล์ leky212@hotmail.com การเดินทาง บางส่วน ของปี พ.ศ. 2560 เราบริการทั่วประเทศ...
ขอนแก่น จดทะเบียนบริษัทใหม่ แก้ไข เปลี่ยนแปลง รายการทะเบียนบริษัท เราให้บริการเยอะมากครับ
นาราการบัญชี - ขอนแก่น ติดต่อ คุณอารุณี มีศรี โทร 080 414 4660 บริการ จดทะเบียนบริษัท / ห้างหุ้นส่วน บริการจดทะเบียน แก้ไข เปลี่ยนแปลง เอกสารบริษัท เปลี่ยนแปลงรายการทะเบียนบริษัท เช่น เปลี่ยนกรรมการ เปลี่ยนผู้ถือหุ้น เปลี่ยนแปลงที่อยู่ ชื่อบริษัท ตราประทับ...
สมุทรปราการ จดทะเบียนบริษัท เปิดบริษัท ไปบ่อยครับ
เราไปจดทะเบียน และ จดภาษีมูลค่าเพิ่ม เดือนละหลายครั้ง ครับ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม ได้ที่ บริษัท นารา การบัญชี จำกัด เลขที่ 4/1 ซอยลาดพร้าว 52 ถนนลาดพร้าว แขวงวังทองหลาง เขตวังทองหลาง กรุงเทพฯ 10310 โทร 080 173 2000 ; 080 174 2000 หรือ 080 175 2000 โทร 080 286 2000 ;...
ชลบุรี บางละมุง จดทะเบียน และขอเลขผู้เสียภาษี ให้ชาวต่างชาติ
ชลบุรี เรามาจดทะเบียนบ่อยครับ โดยเฉพาะสรรพากร บางละมุง มาขอบัตรผู้เสียภาษีให้ชาว ต่างชาติ หลายครั้ง ครับ สนใจให้เรา บริการติดต่อได้ครับ บริษัท นารา การบัญชี จำกัด เลขที่ 4/1 ซอยลาดพร้าว 52 ถนนลาดพร้าว แขวงวังทองหลาง เขตวังทองหลาง กรุงเทพฯ 10310 โทร 080 173 2000 ; 080...
อุบลราชธานี เราก็เดินทางไปจดทะเบียน แล้วหลายครั้ง
การเดินทาง บางส่วน ของปี พ.ศ. 2560 เราบริการทั่วประเทศ เปิดบริษัท จดทะเบียนบริษัท นำเอกสารให้ท่านเซ็นต์ ณ จังหวัดท่าน และจดเสร็จในวันเดียวกัน เราดำเนินธุรกิจมากว่า 15 ปี โดยให้บริการทั่วประเทศกว่า 4 ปี เดินทางไปแล้วกว่า 45 จังหวัด และใน กทม. เราให้บริการเกือบทุกวัน...
สมุทรสงคราม จดทะเบียนเปลี่ยนแปลง ที่ตั้งสำนักงาน เราก็รับครับ
สมุทรสงคราม เราก็มาบ่อยครับ สบายๆ ครับ ได้แวะสักการะ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ แล้วสบายใจครับ แวะไหว้หลวงพ่อบ้านเเหลม เพื่อเสริมศิริมงคล ก่อนไปจดทะเบียนครับ การเดินทาง บางส่วน ของปี พ.ศ. 2560 เราบริการทั่วประเทศ เปิดบริษัท จดทะเบียนบริษัท นำเอกสารให้ท่านเซ็นต์ ณ จังหวัดท่าน...
ระยอง จดทะเบียนบริษัท ที่ว่าเนี๊ยบ เราก็ผ่านสบาย ครับ
ระยอง ที่ว่าเนี๊ยบ เราก็ผ่านได้สบายๆ ครับ ที่ว่ายาก เนี๊ยบ เรื่องเยอะ บอกเราครับ เรารับจ้างจดทะเบียนบริษัท เปลี่ยนแปลงเอกสารบริษัท ทั่วประเทศครับ ระยอง ยิ่งยากไปครับ การเดินทาง บางส่วน ของปี พ.ศ. 2560 เราบริการทั่วประเทศ เปิดบริษัท จดทะเบียนบริษัท...
นนทบุรี นาราการบัญชี ก็ไปจดทะเบียน ครับ
เราไปจดทะเบียนบ่อยครับ สำหรับลูกค้า นนทบุรี เราให้บริการจำนวนมากครับ การเดินทาง บางส่วน ของปี พ.ศ. 2560 เราบริการทั่วประเทศ เปิดบริษัท จดทะเบียนบริษัท นำเอกสารให้ท่านเซ็นต์ ณ จังหวัดท่าน และจดเสร็จในวันเดียวกัน เราดำเนินธุรกิจมากว่า 15 ปี โดยให้บริการทั่วประเทศกว่า 4...
จดทะเบียนบริษัท ศรีสะเกษ เราก็ไปครับ ไกลแค่ไหน ก็รับจดทะเบียนครับ
ศรีสะเกษ ก็ไปครับ ไกลแค่ไหน ก็บริการรับจดทะเบียนครับ วันนี้เรานั่งรถทัวร์ ไปถึงตั้งแต่เช้าตรู่ อากาศดีครับชอบ แล้วตรงไปจดทะเบียน ได้คิดแรกเหมือนเดิมครับ คนน้อยครับ วันนี้ เราจดทะเบียนพร้อมกัน วันเดียวกัน 2 รายครับ ไปดูภาพ จดทะเบียนที่ภูเก็ตกันครับ คนเยอะ...
จดทะเบียนบริษัท ภูเก็ต เรามีทีมงานประจำ และรับงานเยอะครับ
ภูเก็ต เราไปจดทะเบียนบ่อยครับ เรามีทีมงาน ประจำที่นั้น เราให้บริการทั้งจดทะเบียนบริษัทใหม่ เปลี่ยนแปลง แก้ไข รายการเอกสารบริษัท ห้างหุ้นส่วน ขอใบอนุญาต ต่างๆ ด้วยครับ เช่น ใบอนุญาตท่องเที่ยว เค้าเตอร์แลกเงิน ใบอนุญาตนำเข้า-ส่งออก โรงแรม และอื่นๆ ทุกครั้งที่ไป...
สรรพากรพื้นที่ สาขา ศรีราชา เราก็มาจดภาษีมูลค่าเพิ่ม
ไปกันบ่อยเลยครับ ชลบุรี ศรีราชา นาราฯ ยินดีให้บริการทั่วประเทศนะครับ ชลบุรี - โรงงานใช้บริการตรึม ครับ ศรีราชา ผู้เสียภาษี และจดทะเบียนเยอะครับ ที่นั่ง ไม่ค่อยพอหรือเปล่า ครับ การเดินทาง บางส่วน ของปี พ.ศ. 2560 เราบริการทั่วประเทศ เปิดบริษัท จดทะเบียนบริษัท...
สรรพากร ชลบุรี เราก็ไปทำตราสาร ใบสลักหลัง
บ่อยครั้งครับ ที่ต้องไป จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ที่ สรรพากร ชลบุรี แต่วันนี้ มาทำใบสลักหลัง ตราสาร หรือ ชำระอากรแสตมป์ ประกอบสัญญาเช่า ที่มูลค่าเกิน 1 ล้านบาท ต่อไปนะครับ การเดินทาง บางส่วน ของปี พ.ศ. 2560 เราบริการทั่วประเทศ เปิดบริษัท จดทะเบียนบริษัท...
จดทะเบียนบริษัท ปทุมธานี
นาราการบัญชี มาจดทะเบียน บริษัท/ ห้างหุ้นส่วน ที่จังหวัดปทุมธานี บ่อยครับ เรียกได้ว่า เกือบทุกอาทิตย์ หรือ อาทิตย์เว้นอาทิตย์ก็ว่าได้ครับ เรายินดีให้บริการ จดทะเบียน ทั่วประเทศ ครับ การเดินทาง บางส่วน ของปี พ.ศ. 2560 เราบริการทั่วประเทศ เปิดบริษัท...
จดทะเบียนบริษัท อุตรดิตถ์ 27.01.2560
ได้มาสักที เมืองลับแล แห่ง อุตรดิตถ์. เมืองลึกลับแห่งตำนานนี้. ลูกค้ากล้าจ้าง นาราการบัญชี ก้อกล้ามาครับ. รักเลยครับ เมืองนี้. หน้าตาดีทุกคน. ว่าแต่. DBD. เปิดตอนตี 5 เหมือน 7~11 ไหมนะ นโยบายใครนะ. "ประชาชนต้องมาก่อน". คงจะจริงนะ การเดินทาง บางส่วน ของปี...
สระแก้ว จดทะเบียนบริษัท อีกครั้ง 26.01.2560
สระแก้ว. สระขวัญ มาDBDจ.สระแก้ว กี่ครั้งก็คิวแรก เสร็จไว อีกแล้วครับ . วันนี้มาจดทะเบียนบริษัทครับ ลูกค้าใหม่ ขอด่วน ท่านบอกว่า เอาฤกษ์ครับ ให้จดตอน 9 โมงเช้าครับ เลยจัดให้ครับ อูด อูด อีกแล้วครับ ว่าแต่อยากรู้ไหม ว่าพรุ่งนี้ นาราฯ จะไปจดไหน กันต่อดีครับ...
อยุธยา เรามาจดทะเบียน บ่อยมากครับ 25.01.2560
มาไม่เบื่อเลยที่นี้ เรามาจดทะเบียนกันเกือบทุกอาทิตย์ พูดง่ายๆ ว่าหลับตาก็มาถูก ระหว่างรอ จัดให้ไป หนึ่งกลอนครับ นาราเฝ้ารัก จดทะเบียน หมุนเวียน กันมา ไม่ห่างหาย ใครว่ายาก ใครว่ายุ่ง ดูวุ่นวาย เราสบาย งานผ่าน สานสัมพันธ์ กรมพัฒน์ จัดให้ แปดโมงครึ่ง เราถึงก่อน...
จดทะเบียนบริษัท จันทบุรี
มาจันท์ อังคารนี้ ดีแท้ อิ่มแปร๋ หว่างทางกลาง ขุมวิท รถติดติด ฝนตกตก คงมาจดทะเบียน ไม่เคยเปลี่ยน เช้าตรู่ รู้ตัวเรา ใครว่าบ้า เราไม่บ่น คนขยัน อย่างเมามัน นั้นคือ ถือคติ ไม่ทิฐิ งานตำแหนิ ซิต้องลอง ปลองดองเข้า เจ้าหน้าที่ ดีงานเอย .... มาจันท์ คิดถึงกวีเอก...
นครปฐม จดทะเบียนบริษัท
อู๊ด อู๊ด อีก แล้ววันนี้ ที่ นครปฐม. DBD ดูเล็กๆ ด้านนอก. แต่ด้านใจดีเพรียบขอบอก แอร์เย็นโคตร. เสร็จไวอีกแล้วงาน การเดินทาง บางส่วน ของปี พ.ศ. 2560 เราบริการทั่วประเทศ เปิดบริษัท จดทะเบียนบริษัท นำเอกสารให้ท่านเซ็นต์ ณ จังหวัดท่าน และจดเสร็จในวันเดียวกัน...
กระทรวงพาณิชย์ สนามบินน้ำ จดทะเบียน บริษัท / ห้างหุ้นส่วน บ่อยครับ
วันนี้ มายื่น จดทะเบียนเลิกบริษัท ที่กรมใหญ่ครับ (กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์) สนามบินน้ำ นนทบุรี การเดินทาง บางส่วน ของปี พ.ศ. 2560 เราบริการทั่วประเทศ เปิดบริษัท จดทะเบียนบริษัท นำเอกสารให้ท่านเซ็นต์ ณ จังหวัดท่าน และจดเสร็จในวันเดียวกัน...
23,239 total views, 1 views today