นักบัญชี ผู้ทำบัญชี ที่มีคุณสมบัติ เพื่อขึ้นทะเบียนเป็นผู้ทำบัญชี
สำหรับ บริษัท ที่ต้องการหา นักบัญชี ที่มีคุณสมบัติ และขึ้นทะเบียนภายใต้บริษัท ท่าน – ค่าบริการ 3,000 บาท ต่อคน ต่อปี
สำหรับ นักบัญชี ที่ต้องการขึ้นทะเบียน – ท่าน ต้องไปขึ้นทะเบียนด้วยตัวท่านเอง เพราะต้องยืนยันตัวตน ครับ
คุณสมบัติและเงื่อนไขของการเป็นผู้ทำบัญชี
บังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2557
คุณสมบัติของผู้ทำบัญชี
1.มีภูมิลำเนาอยู่ในราชอาณาจักร
2.มีความรู้ภาษาไทยเพียงพอ
3.ไม่มีลักษณะต้องห้ามที่จะเป็นผู้ทำบัญชีตามกฎหมาย
4.ไม่เคยต้องคำพิพากษาให้จำคุก เนื่องจากความผิดตามฐานความผิดหรือกฎหมายที่กำหนดในมาตรา 39 (3)
5.มีคุณวุฒิการศึกษา ดังต่อไปนี้
ก.วุฒิไม่ต่ำกว่าอนุปริญญาหรือ ปวส.ทางการบัญชีหรือเทียบเท่า สามารถเป็นผู้ทำบัญชีของกิจการดังนี้ได้ :
– ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน
– บริษัทจำกัดที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยซึ่ง ณ วันปิดบัญชีในรอบปีบัญชีที่ผ่านมามีทุนจดทะเบียนไม่เกินห้าล้านบาท มีสินทรัพย์รวมและรายได้รวมไม่เกินสามสิบล้านบาท
ข.วุฒิไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีทางการบัญชีหรือเทียบเท่า สามารถเป็นผู้ทำบัญชีของกิจการดังนี้ได้ :
– ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนและบริษัทจำกัดที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยซึ่ง ณ วันปิดบัญชีในรอบปีบัญชีที่ผ่านมามีทุนจดทะเบียนไม่เกินห้าล้านบาท มีสินทรัพย์รวมและรายได้รวมไม่เกินสามสิบล้านบาท
– บริษัทมหาชนจำกัดที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย
– นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศที่ประกอบธุรกิจในประเทศไทย
– กิจการร่วมค้าตามประมวลรัษฎากร
ค.กรณีที่เป็นการเริ่มทำบัญชีรอบปีบัญชีแรกของผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี วุฒิการศึกษาของผู้ทำบัญชีให้พิจารณาโดยใช้เกณฑ์ทุนจดทะเบียนตามข้อ (ก.) และ (ข.) แล้วแต่กรณี
เงื่อนไขของการเป็นผู้ทำบัญชี
1.ต้องเป็นสมาชิกสภาวิชาชีพบัญชี
2.แจ้งรายละเอียดที่เกี่ยวข้องกับการทำบัญชีทางระบบอิเล็กทรอนิกส์ที่เว็บไซต์กรมพัฒนาธุรกิจการค้า (www.dbd.go.th) พร้อมด้วยสำเนาหลักฐานภายใน 30 วัน นับแต่วันเริ่มทำบัญชี โดยใช้แบบ ส.บช.5 (แบบสมัครสมาชิก/ขึ้นทะเบียนสภาวิชาชีพบัญชี และแบบแจ้งการทำบัญชีของผู้ทำบัญชี)
กรณีที่มีการเปลี่ยนแปลง หรือยกเลิกการทำบัญชี ต้องแจ้งรายการเปลี่ยนแปลงหรือยกเลิกทางระบบอิเล็กทรอนิกส์ที่เว็บไซต์กรมพัฒนาธุรกิจการค้า (www.dbd.go.th) พร้อมด้วยสำเนาหลักฐานภายใน 30 วัน นับแต่ที่มีการเปลี่ยนแปลงหรือยกเลิก โดยใช้แบบ ส.บช.6 หรือ ส.บช.8 แล้วแต่กรณี
ผู้ทำบัญชีต้องยืนยันรายชื่อผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีที่รับทำบัญชีที่รับทำบัญชี และสภาพการเป็นสมาชิกสภาวิชาชีพบัญชีทางระบบอิเล็กทรอนิกส์ ฯ พร้อมด้วยสำเนาหลักฐานภายใน 30 วันนับแต่วันที่ 31 ธันวาคม ของทุกปี โดยใช้แบบ ส.บช.10
3.ต้องเข้ารับการพัฒนาความรู้ต่อเนื่องทางวิชาชีพบัญชีไม่น้อยกว่า 12 ชั่วโมงต่อปี และจำนวนชั่วโมงการพัฒนาความรู้ต้องมีเนื้อหาเกี่ยวกับการบัญชีไม่น้อยกว่าครึ่งหนึ่ง
4.แจ้งรายละเอียดการพัฒนาความรู้ต่อเนื่องทางวิชาชีพบัญชีทางระบบอิเล็กทรอนิกส์ ฯ ได้ทันทีหลังการทำกิจกรรมแต่ไม่เกิน 30 วัน นับแต่วันที่ 30 ธันวาคม ของทุกปี โดยใช้แบบ ส.บช.7 และต้องเก็บหลักฐานการเข้าร่วมพัฒนาความรู้ต่อเนื่องทางวิชาชีพบัญชีเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 3 ปี นับแต่วันสิ้นสุดของการทำกิจกรรมในแต่ละครั้ง
5.ผู้ทำบัญชีใดไม่เข้ารับการพัฒนาความรู้ต่อเนื่องทางวิชาชีพบัญชีหรือเข้ารับไม่ครบตามจำนวน (3) ต้องพัฒนาความรู้ต่อเนื่องทางวิชาชีพบัญชีให้ครบจำนวนชั่วโมงที่ขาดหายไป
6.ผู้ทำบัญชีใดยกเลิกการเป็นผู้ทำบัญชีแล้ว และขอกลับมาเป็นผู้ทำบัญชีใหม่ต้องเข้ารับการพัฒนาความรู้ต่อเนื่องทางวิชาชีพบัญชีให้ครบจำนวนชั่วโมงตามระยะเวลาที่ขาดหายไปก่อนการยกเลิกการเป็นผู้ทำบัญชี และแจ้งการขอกลับมาเป็นผู้ทำบัญชีใหม่ทางระบบอิเล็กทรอนิกส์ ฯ
7.ผู้ทำบัญชีสามารถรับทำบัญชีได้ไม่เกิน 100 รายต่อปี ไม่ว่าจะเป็นการรับทำบัญชีในรอบปีใดก็ตาม
ขั้นตอนการแจ้งเป็นผู้ทำบัญชี
- ดาวน์โหลดแบบฟอร์มแบบ ส.บช. 5 ของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ที่ www.dbd.go.th พร้อมแนบหลักฐาน ดังนี้
(1) สำเนาหลักฐานการศึกษา (ประกาศนียบัตร/อนุปริญญา/ปริญญา) ในกรณีที่ปริญญาไม่ได้ระบุชัดเจนว่าเป็นสาขาบัญชีให้แนบใบรับรองผลการศึกษาตลอดหลักสูตร (Transcript)
(2) สำเนาทะเบียนบ้านและบัตรประชาชน หรือบัตรที่ทางราชการออกให้
(3) รูปถ่ายครึ่งตัว หน้าตรง ไม่สวมหมวก ขนาด1 นิ้ว ถ่ายมาแล้วไม่เกิน 6 เดือน จำนวน 2 รูป(ส่วนภูมิภาค จำนวน 3 รูป)
- ยื่นแบบแจ้งการทำบัญชีของผู้ทำบัญชีพร้อมหลักฐานด้วยตนเอง
– กรณีผู้แจ้งมีที่อยู่หรือสถานที่ทำงานในกรุงเทพฯ และ จังหวัดนนทบุรี ยื่นแบบ ส.บช. 5 จำนวน 2 ชุด ที่
สำนักกำกับดูแลธุรกิจ กรมพัมนาธุรกิจการค้า เลขที่ 44/100 ถนนนนทบุรี1ตำบลบางกระสอ อำเภอเมือง
จังหวัดนนทบุรี 11000
– กรณีผู้แจ้งมีที่อยู่หรือสถานที่ทำงานในส่วนภูมิภาค ยื่นแบบ ส.บช. 5 จำนวน 3 ชุด ที่สำนักงานทะเบียนการค้าจังหวัดที่มีที่อยู่หรือสถานที่ทำงานตั้งอยู่
- ยื่นแบบแจ้งการทำบัญชีของผู้ทำบัญชีพร้อมหลักฐานทางไปรษณีย์
– ส่งแบบแจ้งการทำบัญชีของผู้ทำบัญชีพร้อมเอกสาร ไปยังสถานที่ตามที่อยู่ข้างต้น พร้อมแนบซองติดแสตมป์ จำนวน 6 บาท จ่าหน้าซองถึงตัวท่านเอง
แบบฟอร์มที่เกี่ยวข้อง
– แบบแจ้งการทำบัญชีของผู้ทำบัญชี (ส.บช. 5)
– แบบแจ้งการเป็นผู้มีคุณสมบัติเป็นผู้ทำบัญชีได้ (ส.บช. 5 ข)
– แบบแจ้งการเปลี่ยนแปลงการทำบัญชีของผู้ทำบัญชี (ส.บช. 6)
สมัครเป็นสมาชิกสภาวิชาชีพบัญชี (สวบช. 1) หรือ ขึ้นทะเบียนเป็นผู้ทำบัญชีกับสภาวิชาชีพบัญชี (สวบช. 2)
โดย เลือกทำอย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้น ดังนี้
(1) ในกรณีที่ท่านมีคุณวุฒิการศึกษาทางด้านบัญชีดังต่อไปนี้
– ปริญญาตรี หรือได้รับประกาศนียบัตร หรือวุฒิอื่นเทียบเท่าปริญญาตรีสาขาวิชาการบัญชีที่สภาวิชาชีพบัญชีรับรองหรือสำเร็จการศึกษาสาขาอื่นตามที่สภาวิชาชีพบัญชีกำหนด
– ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ทางด้านการบัญชี
ให้เลือกสมัครสมาชิกสภาวิชาชีพบัญชี โดยใช้แบบ สวบช. 1 เนื่องจากท่านจะได้รับสิทธิตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 16 (เป็นผู้ทำบัญชีได้เช่นเดียวกับการยื่นแบบ สวบช. 2)
(2) ในกรณีที่ท่านไม่มีคุณวุฒิการศึกษาทางด้านบัญชี แต่ผ่านการอบรมและได้รับใบอนุญาตจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ให้เป็นผู้ทำบัญชีได้ ให้เลือกยื่นคำขอขึ้นทะเบียนเป็นผู้ทำบัญชีกับสภาวิชาชีพบัญชี สวบช. 2 ทั้งนี้ ท่านจะไม่ได้รับสิทธิตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 16
(หมายเหตุ : ปัจจุบันกรมพัฒนาธุรกิจการค้าไม่มีการอบรมและออกใบอนุญาตเป็นผู้ทำบัญชีให้กับผู้ไม่มีคุณวุฒิการศึกษาทางด้านบัญชีแล้ว)
ขั้นตอนการขึ้นทะเบียนเป็นผู้ทำบัญชี
- ดาวน์โหลดแบบฟอร์มใบสมัครเป็นสมาชิกสภาวิชาชีพบัญชี (สวบช. 1) หรือ ขึ้นทะเบียนเป็นผู้ทำบัญชีกับสภาวิชาชีพบัญชี (สวบช. 2) เลือกทำอย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้น พร้อมแนบหลักฐาน ดังนี้
(1) สำเนาหลักฐานการศึกษา (ประกาศนียบัตร / อนุปริญญา /ปริญญา) ในกรณีที่ปริญญาไม่ได้ระบุชัดเจนว่าเป็นสาขาบัญชีให้แนบใบรับรองผลการศึกษาตลอดหลักสูตร(Transcript)
(2) สำเนาบัตรประชาชนหรือบัตรที่ทางราชการออกให้
(3) รูปถ่ายครึ่งตัวหน้าตรงไม่สวมหมวกขนาด 1 นิ้วถ่ายมาแล้วไม่เกิน 6 เดือนจำนวน 1รูป
(4) หลักฐานการชำระเงิน
(หมายเหตุ หากท่านมีคุณสมบัติที่จะสมัครสมาชิกสภาวิชาชีพบัญชีได้ขอให้ท่านยื่นแบบ สวบช. 1 เพื่อสิทธิประโยชน์ตามมาตรา 16 และเป็นผู้ทำบัญชีได้เช่นเดียวกับการยื่นแบบ สวบช. 2)
- ยื่นแบบสวบช. 1หรือ สวบช. 2 พร้อมหลักฐานด้วยตนเอง หรือทางไปรษณีย์ที่สภาวิชาชีพบัญชีฯ 133 ถนนสุขุมวิท 21 (อโศก)แขวงคลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพฯ 10110
- ยื่นแบบสวบช. 1 หรือ สวบช. 2 ผ่านระบบออนไลน์ โดยบันทีกข้อมูลของท่านผ่านระบบสภาวิชาชีพบัญชี ฯ ที่ www.fap.or.th และพิมพ์แบบฟอร์มพร้อมแนบหลักฐานนำส่งที่
สภาวิชาชีพบัญชีฯ 133 ถนนสุขุมวิท 21(อโศก) แขวงคลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพฯ 10110
สภาวิชาชีพบัญชีจะอนุมัติคำขอเมื่อได้รับเอกสารต้นฉบับ
อัตราค่าธรรมเนียมการสมัครสมาชิก หรือ ขึ้นทะเบียนเป็นผู้ทำบัญชีรายปี
ตามปีปฏิทิน (1 มกราคม ถึง 31 ธันวาคมของทุกปี) ดังนี้
-ปริญญาตรีขึ้นไป 500.- บาท
– ต่ำกว่าปริญญาตรี 300.- บาท
แบบฟอร์มที่เกี่ยวข้อง
– คำขอสมัครเป็นสมาชิกสภาวิชาชีพบัญชี (สวบช.1)
– คำขอขึ้,นทะเบียนเป็นผู้ทำบัญชี (สวบช.2)
– คำขอต่ออายุผู้ทำบัญชี (สวบช.4)
การเก็บชั่วโมงของผู้ทำบัญชี (CPD) ในปี 2558
ตั้งแต่ปี 2558 เป็นต้นไป การนับชั่วโมงในการเข้ารับการอบรมหรือพัฒนาความรู้ด้านการบัญชีของผู้ทำบัญชี จะเปลี่ยนใหม่เป็นปีละไม่น้อยกว่า 12 ชั่วโมง (ด้านบัญชี 6 ชั่วโมง และอื่น ๆ 6 ชั่วโมง หรือด้านบัญชีทั้ง 12 ชั่วโมงก็ได้) ทั้งนี้ให้นับแบบปีต่อปี (ไม่ผูกพันเหมือนแบบเดิมที่ผ่านมาคือไม่น้อยกว่า 6 ชั่วโมง/ปี รวมแล้วไม่น้อยกว่า 27 ชั่วโมงภายใน 3 ปี) และให้แจ้งการอบรมภายใน 30 วัน (ภายในเดือน ม.ค.) จากเดิมที่ให้แจ้งได้ภายใน 60 วัน ดังนั้นจึงมีประเด็นที่ต้องพิจารณาเป็น 2 กรณี สำหรับผู้ที่เก็บชั่วโมงในปีก่อนไว้แล้ว ดังต่อไปนี้
- ผู้ที่เก็บชั่วโมงสะสมมาจากปี 2556-2557 ตั้งแต่ 1 มกราคม 2558 เป็นต้นไป ต้องดูว่าถ้ายังไม่ครบ 27 ขั่วโมง ก็ต้องเก็บชั่วโมงเพิ่มให้ครบ เช่น เก็บสะสมมาแล้วปีละ 6 ชั่วโมง เป็น 12 ชั่วโมง ในปี 2558 ก็ต้องเก็บเพิ่มอีก 15 ชั่วโมงให้ครบ 27 ชั่วโมง
- ผู้ที่เริ่มเก็บชั่วโมงในปี 2557 ซึ่งยังไม่ครบตามที่กำหนด ตั้งแต่ 1 มกราคม 2558 ก็ต้องเก็บใหม่ในปี 2558 ทั้ง 12 ชั่วโมง เช่น เก็บในปี 2557 ไว้ 6 ชั่วโมง ในปี 2558 ก็ต้องเก็บใหม่ทั้ง 12 ชั่วโมง
ส่วนผู้ที่ยังไม่ได้เก็บชั่วโมงหรือเพิ่งเริ่มเก็บในปี 2558 ก็นับตามระเบียบใหม่ 12 ชั่วโมง/ปี
สนใจบริการ หรือ ข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ
บริษัท นารา การบัญชี จำกัด
กรณีเร่งด่วน/ หลังเลิกงาน โทร 080 175 2000 คุณ ธนา
Line ID: @nara53 |
แผนที่
https://goo.gl/maps/GBPpLfS42QsZg4jf6
เดินทาง รถไฟฟ้า สายสีเหลือง สถานี โชคชัย 4 ประตูทางออก 4 นาราฯ อยู่ในซอยลาดพร้าว 52
173,082 total views, 10 views today
รบกวนสอบถามข้อมูลการเซ็นงบการเงินค่ะ
เคยขึ้นทะเบียนเป็นผู้ทำบัญชีกับสภาวิชาชีพปี 25548 แต่ไม่เคยได้เซ็นรับรองงบการเงินค่ะ
หลังจากปีนั้นก็ลาออกและไม่เคยได้ต่ออายุสมาชิกกับสภาวิชาชีพอีกเลย
จนปัจจุบันปี 2560 จะต้องเซ็นรับรองเป็นผู้ทำบัญชีในงบการเงิน จึงรบกวนสอบถามค่ะ
– จะต้องทำยังไงบ้างคะถึงจะสามารถเซ้นเป็นผู้ทำบัญชีในงบการเงินได้อย่างถูกต้อง
ขอความกรุณาตอบเพื่อเป็นแนวทางนะคะ ขอบคุณมากค่ะ
เนื่องจากว่าคุณ เคยสมัครไว้นานแล้ว 12 ปีแล้ว หากต่ออายุสมาชิก คงเสียเงินเยอะและวุ่นวายตามมาอีกหลายเรื่องครับ หากกลับไปต่อสมาชิกอันเดิม ดังนั้น แนะนำว่าให้สมัครสมาชิกใหม่กับสภาวิชาชีพและแจ้งเป็นผู้ทำบัญชีกับ dbd ด้วย นะครับ น่าจะเป็นทางออกที่ดีที่สุด
จากประสบการณ์นะครับ หากว่าคุณไม่ค่อยได้ใช้ หรือ ใช้แค่เซ็นต์รับรองแค่รบริษัทเดียว อาจไม่คุ้มกับการขึ้นทะเบียน การเข้าสัมนา และอะไรต่างๆ ที่วุ่นวายรำคาญใจ คุณอาจใช้ทางเลือกอื่น เช่น ให้นักบัญชีที่ขึ้นทะเบียนแล้วช่วย หรือ นักบัญชีฟรีแลนซ์ช่วย ก็อาจเป็นทางเลือก ลองพิจารณาดูนะครับ
ขอบคุณมากนะค่ะสำหรับคำตอบและคำแนะนำ
รบกวนสอบถามข้อมูล หากต้องการเป็นผู้ทำบัญชี ต้องทำอย่างไรบ้างค่ะ
ปัจจุบันเป็นสมาชิกของสภาวิชาชีพบัญชีอยู่และกำลังเริ่มเก็บชั่วโมง เพื่อพัฒนาความรู้ แต่ยังไม่ได้ทำบัญชี ต้องการเป็นผู้ทำบัญชีรับจ้างอิสระ ควรเริ่มทำอย่างไรก่อนบ้างค่ะ รบกวนแนะนำด้วยค่ะ
ถ้าต้องการเป็นผู้ทำบัญชีจะต้องไม่ขาดการอบรมเก็บข้อมูลาจำนวน 12 ชั่วโมงต่อปี เป็นวิชาเกี่ยวกับการบัญชีไม่น้อยกว่าครึ่งและต้องยื่นหลักฐานจำนวนชั่วโมง CPD ภายในวัน 30 มกราคมของทุกปี
ที่แจ้งว่าเป็นสมาชิกของสภาวิชาชีพบัญชีแล้วนั้นจะต้องต่ออายุทุกปี นั้นกรณีขาดการต่ออายุสมาชิกจะต้องจ่ายค่าปรับซึ่งทางสภาจะมองว่าสมัครเป็นสมาชิกใหม่ไปเลย ในส่วนค่าปรับจะต้องติดต่อสอบถามไปทางสภาดูว่าจะต้องชำระเท่าไร ซึ่งจะประมาณ 500 บาท ครับ
ถ้าขาดการต่ออายุ สมาชิก สภาวิชาชีพบัญชี
สามารถสมัครใหม่ได้หรือไม่(ถ้าสมัครใหม่ยื่นสมัครตามขั้นตอนเลยไหมคะ)
และต้องเก็บชัวโมงอบรมที่หายไปหรือไม่
ถ้าสมัครแล้ว สามารถ ขึ้นทะเบียนผู้ทำบัญชี ได้หรือไม่คะ
ถาม – ถ้าขาดการต่ออายุสมาชิกสภาวิชาชีพบัญชี สามารถสมัครใหม่ได้หรือไม่(ถ้าสมัครใหม่ยื่นสมัครตามขั้นตอนเลยไหมคะ)
ตอบ – ได้ครับ ท่านต้องดำเนินการกรอกใบสมัครสมาชิกสภาวิชาชีพบัญชีฯ (สวบช.1) ซึ่งสามารถดาวน์โหลดได้ที่ Website สภาวิชาชีพบัญชีฯ พร้อมชำระค่าบำรุงสมาชิกประเภทสามัญหรือวิสามัญ ปีละ 500 บาท หรือสมาชิกสมทบ ปีละ 300 บาท ไม่จำกัดจำนวนปีที่ชำระ โดยสมาชิกต้องจัดส่งใบสมัครและ pay-in สลิปการจ่ายชำระเงินผ่านธนาคารมาทางไปรษณีย์ถึงส่วนงานทะเบียน สภาวิชาชีพบัญชีฯ หรือสามารถยื่นใบสมัครพร้อมชำระเงินที่อาคารสภาวิชาชีพบัญชีฯ ทั้งนี้ สถานะสมาชิกจะเริ่ม ณ วันที่มีการชำระค่าบำรุงสมาชิก
ถาม – และต้องเก็บชั่วโมงอบรมที่หายไปหรือไม่
ตอบ – ใช่ครับ จะต้องดำเนินการเก็บชั่วโมงอบรมที่ขาดหายไป แต่รวมกันแล้วไม่เกิน 24 ชั่วโมง และไม่รวมชั่วโมงอบรมในปีปัจจุบัน
ถาม – ถ้าสมัครสมาชิกสภาวิชาชีพบัญชี แล้วสามารถขึ้นทะเบียนผู้ทำบัญชี ได้หรือไม่คะ
ตอบ ได้ครับ โดยสามารถดำเนินการขึ้นทะเบียนผู้ทำบัญชี ตามขั้นตอนดังนี้
กรณีขึ้นทะเบียนเป็นผู้ทำบัญชี
2.1 ให้กรอกคำขอขึ้นทะเบียนเป็นผู้ทำบัญชี (สวบช.2)
2.2 หลักฐานประกอบ สวบช.2 ใช้หลักฐานเช่นเดียวกับการสมัครสมาชิก
2.3 การชำระค่าธรรมเนียมการขึ้นทะเบียนเป็นผู้ทำบัญชี ให้ดำเนินการเช่นเดียวการกับชำระค่าบำรุงสมาชิก
ทั้งนี้ ต้องจัดส่งเอกสารข้างต้น พร้อม pay-in สลิปการจ่ายชำระเงินผ่านธนาคารมาทางไปรษณีย์ถึงส่วนงานทะเบียน สภาวิชาชีพบัญชีฯ หรือสามารถยื่นใบสมัครพร้อมชำระเงินได้ที่อาคารสภาวิชาชีพบัญชีฯ และสถานะสมาชิกจะเริ่ม ณ วันที่มีการชำระค่าบำรุงสมาชิก
หลักฐานประกอบ สวบช.2 สำเนาเอกสารทุกฉบับต้องมีลายเซ็นของผู้สมัครในการรับรองสำเนาถูกต้อง ประกอบด้วย
(1) สำเนาหลักฐานการศึกษา (ประกาศนียบัตร/อนุปริญญา/ปริญญา) จำนวน 1 ฉบับ ในกรณีที่ปริญญาไม่ได้ระบุชัดเจนว่าเป็นสาขาบัญชีให้แนบใบรับรองผลการศึกษาตลอดหลักสูตร (Transcript) ด้วย
(2) สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน จำนวน 1 ฉบับ
(3) สำเนาทะเบียนบ้าน จำนวน 1 ฉบับ
(4) รูปถ่ายครึ่งตัว หน้าตรง ไม่สวมหมวก ขนาด 1 นิ้ว ถ่ายมาแล้วไม่เกิน 6 เดือน จำนวน 1 รูป
(5) กรณีมีการเปลี่ยนชื่อ–นามสกุล ให้แนบเอกสารสำคัญการเปลี่ยนชื่อ–นามสกุลด้วย จำนวน 1 ฉบับ
จบ ป.ตรี การจัดการ สามารถเป็นผู้ทำบัญชีได้ไหมคะ
ไม่ได้ครับ เนื่องจากการขึ้นทะเบียนเป็นผู้ทำบัญชีจะต้องจบปริญญาตรีสาขาการบัญชีเท่านั้นครับ แต่ถ้าต้องการผู้ทำบัญชีเพื่อรับรอง ติดต่อนาราการบัญชี ได้ครับ
เรียนจบป.ตรี บัญชี แต่ไม่ใช่คนไทยสามารถเซ็นงบได้ไหมคะ ตอนนี้ถือบัตรบนพื้นที่สูง ที่รัฐบาลออกให้ค่ะ
ไม่ได้ครับ เนื่องจากข้อบังคับสภาวิชาชีพบัญชี (ฉบับที่ ๖) เรื่อง ผู้ทำบัญชี พ.ศ. ๒๕๔๗ ระบุไว้ว่าดังนี้ครับ
***ในกรณีที่ผู้ขอขึ้นทะเบียนเป็นผู้ที่ไม่มีสัญชาติไทย ต้องมีความรู้เกี่ยวกับมาตรฐานการบัญชีและกฎหมาย ภาษีอากรของไทย เพื่อปฏิบัติการตามกฎหมายว่าด้วยการบัญชีและกฎหมายภาษีอากรที่เกี่ยวข้องได้
เป็นผู้ทำบัญชี แต่อาศัยอยู่ต่างประเทศไม่สามารถเข้าอบรมการพัฒนาความรู้ต่อเนื่องทางวิชาชีพได้ แต่ต้องการเป็นผู้ทำบัญชีและมีเลขรหัสผู้ทำบัญชีไว้ ต้องทำอย่างไรบ้าง
สามารถอนุโลมให้ผู้ทำบัญชีที่เข้าร่วมกิจกรรมที่ต่างประเทศ เป็นู้ยื่นขอความเห็นขอบหลักสูตรต่ออธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้าแทนองค์กรผู้จัดสัมนา ดดยยื่นเอกสารประกอบการพิจารณา เช่น ใบเสร็จรับเงิน รายละเอียดและเนื้อหาของหลักสูตร หนังสือรับรองการเข้าสัมนาหรืออบรม เป็นต้น ทั้งนี้ผู้ทำบัญชีต้องยื่นเอกสารดังกล่าวก่อนเข้ารัการอบรม หรือภายใน 2 เดือนหลังสิ้นสุดการอบรม ส่วนการพิจารณานับเป็นชั่วโมงการพัฒนาความรู้ต่อเนื่องทางวิชาชีพของผู้ทำบัญชีจะใช้เกณฑ์การพิจารณาเช่นเดียวกับหลักสูตรที่จัดในประเทศ
สอบถามค่ะ
เรียนจบป.ตรี สาขาบัญชีมา สามารถยื่นขอเป็นผู้ทำบัญชีได้ไหมคะ
ได้ค่ะ สามารถขอขึ้นทะเบียนเป็นผู้ทำบัญชีได้ที่สภาวิชาชีพบัญชี ฯ ค่ะ
1.กรณีขึ้นเป็นผู้ทำบัญชี โดยสมัครสมาชิกเป็นสมาชิกสามัญ ใน 1 ปี จะต้องเสียค่าบำรุงสมาชิก 500บาทและค่าธรรมเนียมผู้ขึ้นทะเบียนซึ่งสำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาตรี อีก 500 บาท ใช่ไหมค่ะ? และในปีต่อๆไปก็ต้องเสียแบบนี้ใช่ไหมค่ะ หรือ จ่ายค่าบำรุงสมาชิกอย่างเดียว
2. ถ้าไปสมัครเป็นผู้ทำบัญชี ในปลายกรกฏาคม เช่น วันที่ 28/07/61 ผู้ทำบัญชีสามารถเก็บชั่วโมง ได้ในปีถัดไปใช่หรือไม่? แล้วจะต้องจ่ายค่าบำรุงสมาชิกอีกทีเมื่อไหร่?
1.จ่ายเพียงค่าบำรุงสมาชิกสามัญปีละ 500 บาท ในทุก ๆ ปีเท่านั้น
2.ผู้ทำบัญชีสามารถเก็บชั่วโมงได้ในปีถัดไปเลย และสำหรับค่าบำรุงสมาชิกจะต้องจ่ายอีกทีในปลายปีถัดไปคือช่วงเดือน ธันวาคม 2562
สนใจสมัครเป็นผุ้จัดทำบัญชีค่ะ ต้องดำเนินการอย่างไรบ้างค่ะ
ดำเนินการ ตามนี้ครับ
๑. เข้าเว็บไซต์กรมพัฒนาธุรกิจการค้า (www.dbd.go.th)
๒. หัวข้อบริการออนไลน์ เลือกเมนูผู้ทำบัญชี e – Accountant
๓. เลือกระบบงาน e – Accountant
๔. เลือกสมัครสมาชิกใหม่ (แจ้งเป็นผู้ทำบัญชีครั้งแรก)
๕. กรอก User ID (เลขบัตรประชาชน) คลิกปุ่มเข้าสู่ระบบ
๖. กรอกข้อมูลของท่านให้ครบถ้วน
๗. เลือกสถานะการเป็นสมาชิกหรือขึ้นทะเบียนกับสภาวิชาชีพบัญชี
๘. เลือกอาชีพที่เป็นปัจจุบัน
๙. กรอกฐานะผู้ทำบัญชี
๑๐. กรอกชื่อธุรกิจที่รับทำบัญชี
๑๑. กรอกโปรแกรมที่ใช้ในการทำบัญชี
๑๒. เลือกบันทึก เพื่อบันทึกข้อมูลการแจ้งเป็นผู้ทำบัญชีครั้งแรก ระบบจะแสดงข้อมูลการแนบเอกสาร ผู้แจ้งต้องจดรหัสอ้างอิงไว้เพื่อใช้ในการเข้าสู่ระบบครั้งต่อไป
๑๓. เลือกปุ่ม Print Payment สั่งปริ๊นเอกสารใบแจ้งการชำระเงินเพื่อไปชำระเงินค่าสมาชิกสภาวิชาชีพบัญชีที่ธนาคาร (ใช้กรณีที่ยัง ไม่ได้เป็นสมาชิกสภาวิชาชีพบัญชีและต้องการสมัครเป็นสมาชิกสภาวิชาชีพบัญชี)
๑๔. เลือกปุ่มตรวจสอบโปรไฟล์และแนบเอกสาร
๑๕. เลือกปุ่มเพิ่มข้อมูลการแนบเอกสาร
๑๖. เลือกธนาคารที่ชำระเงิน
๑๗. เลือกแนบหลักฐานตามหัวข้อพร้อมรับรองสำเนา ดังนี้
ก. บัตรประชาชน
ข. ทะเบียนบ้าน
ค. วุฒิการศึกษา
ง. Payment (ใบเสร็จรับเงินค่าสมาชิกสภาวิชาชีพบัญชีหรือใบ Pay in (ใบโอนเงิน) ของธนาคาร
จ. รูปถ่ายหน้าตรงแบบติดบัตรขนาด ๑ นิ้ว จำนวน ๑ รูป
ฉ. ใบเปลี่ยนชื่อหรือนามสกุล (ถ้ามี)
๑๘. เลือกปุ่มบันทึกรูปที่เพิ่ม
๑๙. เลือกปุ่มส่งยื่นขอเป็นสมาชิก ระบบจะแสดงสถานะว่า รอการอนุมัติจากเจ้าหน้าที่ และให้ตรวจสอบผลการอนุมัติทางอีเมล์ของผู้ทำบัญชี เป็นการเสร็จสิ้นการขึ้นทะเบียนเป็นผู้ทำบัญชี
เมื่อท่านได้รับการอนุมัติเป้นผู้ทำบัญชีแล้ว ท่านต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขของการเป็นผู้ทำบัญชี ดังนี้
(๑) ต้องพัฒนาความรู้ต่อเนื่องทางวิชาชีพบัญชีไม่น้อยกว่า ๑๒ ชั่วโมงต่อปีปฏิทิน โดยเป็นเนื้อหาเกี่ยวกับการบัญชีไม่น้อยกว่าครึ่งหนึ่งและเนื้อหาด้านอื่นตามที่สภาวิชาชีพบัญชีประกาศกำหนด
(๒) แจ้งการพัฒนาความรู้ต่อเนื่องทางวิชาชีพบัญชีที่เว็บไซต์กรมพัฒนาธุรกิจการค้า (www.dbd.go.th) ภายในวันที่ ๓๐ มกราคม ของปีถัดไป เป็นประจำทุกปี
(๓) ต้องยืนยันรายชื่อธุรกิจที่รับทำบัญชี และสถานภาพการเป็นสมาชิกสภาวิชาชีพบัญชีที่เว็บไซต์กรมพัฒนาธุรกิจการค้า (www.dbd.go.th) ภายในวันที่ ๓๐ มกราคม ของปีถัดไป เป็นประจำทุกปี
อ้างอิงตาม Link นี้ครับ http://www.dbd.go.th/index_answer.php?wcad=4&wtid=4060235&t=&filename=index
สอบถามค่ะ กรณีใบปริญญาบัตรหาย สามารถใช้ใบแทนปริญญาบัตรได้มั๊ยค่ะ
คุณสมบัตรข้ออื่นครบหมดแล้ว ขาดแค่ใบปริญญาบัตรค่ะ
รบกวนตอบให้ด้วยค่ะ
ปกติ ทางมหาลัย (ทุกมหาลัญ) สามารถออกใบแทน ใบปริญญา ให้ได้นะครับ แล้วค่อยใช้ใบแทน ใบปริญญา สมัคร ครับ
รบกวนสอบถามค่ะกำลังศึกษาวุฒิป.ตรีสาขาบัญชีใบที่2 เนื่องจากทำงานเป็นนักวิชาการเงินและบัญชีสามารถปิดบัญชี วิเคราะห์งบการเงินและอยากสมัครเป็นสมาชิกสมทบกัยสภาวิชาชีพเราสามารถใช้สิทธิอะไรได้บ้างค่ะสามารถเข้าร่วมอบรมหรือขึ้นบัญชีได้ไหมค่ะเพื่อต่อยอดทางสายวิชาชีพต่อไปค่ะ ขอบพระคุณล่วงหน้าค่ะ
ถ้าเกี่ยวข้องกับการขึ้นทะเบียนเป็นผู้ทำบัญชีรวมถึงการเป็นสมาชิกสภาวิชาชีพบัญชี สามารถขึ้นทะเบียนเป็นผู้ทำบัญชีและสมัครเป็นสมาชิกวิชาชีพบัญชีได้เลยค่ะ เนื่องจากกรณีดังกล่าวสามารถใช้คุณสมบัติที่ทางคุณมีอยู่สมัครได้ และเมื่อขึ้นทะเบียนเป็นผู้ทำบัญชีแล้วนั้นก็จำเป็นที่ต้องอบรมในทุก ๆ ปีกับทางสภาวิชาชีพบัญชีอยู่แล้วครับ สามารถดูรายละเอียดและวิธีการขึ้นทะเบียนเป็นสมาชิกสภาวิชาชีพบัญชีได้ตามลิ้งค์นี้
http://www.dbd.go.th/index_answer.php?wcad=4&wtid=4060235&t=&filename=index
และสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่สภาวิชาชีพบัญชี โทร 0-2685-2500 หรือที่เวปไซต์ http://www.fap.or.th/
เรียนจบหลักสูตร ศศบ. การบริหารธุรกิจกรณีที่ปริญญาไม่ได้ระบุชัดเจนว่าเป็นสาขาบัญชี แนบใบรับรองผลการศึกษาตลอดหลักสูตร (Transcript) แต่Transcript ก็ไม่ได้ระบุสาขาการบัญชี
จะมีแค่รายวิชาเฉพาะด้านที่ระบุว่าวิชาบัญชี สามารถขึ้นทะเบียนผู้ทำบัญชีได้มั๊ยค่ะ
ในกรณีที่ปริญญาไม่ได้ระบุชัดเจนว่าเป็นสาขาบัญชีให้แนบใบรับรองผลการศึกษาตลอดหลักสูตร (Transcript)
สอบถามค่ะ ขึ้นทะเบียนผู้ทำบัญชีช่วงเดือนยายน 2561 จะต้องยื่นชั่วโมง cpd ภายใน30มกราคม2562 หรือภายในวันที่เท่าไหร่คะ
ถ้าสมัครสมาชิกวิชาชีพแล้วแต่ยังไม่ได้รับทำบัญีที่ไหนตัองไปขึ็นทะเบียน CPD ด้วยไหมคะ
ยืนยันรายการธุรกิจที่รับทำบัญชีเดือน ก.พ. จะโดนปรับไหมค่ะ
ขออนุญาตถาม 3 ข้อค่ะ
1. เป็นข้าราชการประจำสามารถ ขอขึ้นทะเบียนเป็นผู้บัญชี ได้หรือไม่
2.เมื่อสมัครเป็นสมาชิกวิชาชีพ และขอขึ้นทะเบียนผูู้ทำบัญชี แล้ว แต่ยังไม่ได้อบรมความรู้บัญชีต่อเนื่อง 12 ช.ม. ต่อปี จะสามารถรับทำได้ เลยไหมค่ะ
3.ความรู้ต่อเนืองทางบัญชี ต้องไปเรียนที่ไหน
คำถาม : เป็นข้าราชการประจำสามารถขอขึ้นทะเบียนเป็นผู้ทำบัญชีได้หรือไม่
คำตอบ : สามารถขอขึ้นทะเบียนเป็นผู้ทำบัญชีได้ แต่ต้องมีวุฒิการศึกษา ปริญญาตรีทางการบัญชีหรือเทียบเท่าขึ้นไปหรือได้รับประกาศนียบัตรหรือวุฒิอื่นเทียบเท่าปริญญาตรีสาขาวิชาการบัญชีที่สภาวิชาชีพบัญชีรับรอง
คำถาม : เมื่อสมัครเป็นสมาชิกสภาวิชาชีพบัญชี และขอขึ้นทะเบียนผู้ทำบัญชีแล้ว แต่ยังไม่ได้อบรมความรู้บัญชีต่อเนื่อง 12 ชั่วโมงต่อปี จะสามารถรับทำบัญชีได้เลยไหม
คำตอบ : เมื่อขึ้นทะเบียนเรียบร้อยแล้วสามารถรับทำบัญชีได้เลย แต่ในระหว่างปีต้องทำการอบรมความรู้บัญชีต่อเนื่อง 12 ชั่วโมงต่อปีและแจ้งต่อสภาวิชาชีพบัญชีให้เรียบร้อย
คำถาม : ความรู้ต่อเนื่องทางบัญชี ต้องไปเรียนที่ไหน
คำตอบ : สำหรับการอบรมต่าง ๆ สามารถดูข้อมูลการอบรมได้จากเวปไซต์ของสภาวิชาชีพบัญชี หรือสามารถสมัครอบรมออนไลน์ได้ที่เวปไซต์ http://www.cpdtutor.com
ถ้าหากเราทำบัญชีให้กิจการหนึ่ง แต่ไม่ได้เป็นผู้เซ็นงบ จะสามารถขึ้นทะเบียน ในนามกิจการนั้นได้หรือไม่ (จบ ป.ตรีบัญชีมาแล้ว)
(ขอคำตอบแค่ได้หรือไม่ได้ ณ ตอนนี้) เพราะว่าอนาคตจะรับทำเองทั้งหมด แต่อาจจะเป็นกิจการอื่นๆ
กรณีนี้ถ้าหมายถึงการเซ็นเป็นผู้ทำบัญชี และในอนาคตจะขึ้นทะเบียนเป็นผู้ทำบัญชีในนามกิจการนั้น ถือว่าสามารถทำได้ หากมีคุณสมบัติครบถ้วนในการทะเบียนผู้ทำบัญชี
สอบถามคะ ปัจุบันทำงานด้านบัญชีบริษัทเอกชน แต่ไม่ได้จบบัญชีโดยตรง สามารถขึ้นทะเบียนเป็นนผู้ทำบัญชีให้บริษัท ได้หรือไม่คะ
หากไม่ได้จบบัญชีบัณฑิต โดยตรง ไม่สามารถขึ้นทะเบียนเป็นผู้ทำบัญชีได้ โดยอ้างถึงคุณสมบัติผู้ทำบัญชีตามเงื่อนไขที่อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้ากำหนดเรื่องคุณวุฒิการศึกษา
ว่าผู้ทำบัญชีจะต้องสำเร็จการศึกษา ปริญญาตรีทางการบัญชีหรือเทียบเท่าขึ้นไปหรือได้รับประกาศนียบัตรหรือวุฒิอื่นเทียบเท่าปริญญาตรีสาขาวิชาการบัญชีที่สภาวิชาชีพบัญชีรับรอง
สวัสดีค่ะ เรียนจบสาขาบัญชีแล้ว แต่ยังไม่ได้สมัครทำงานเกี่ยวกับบัญชี ต้องสมัครสมาชิกสภาวิชาชีพบัญชี แล้วอบรมเก็บชั่วโมงเลยหรือเปล่าคะ
แนะนำว่า ให้ได้งานก่อน ดีกว่า ครับ เพราะบางบริษัทเขามีผู้ทำบัญชี(ที่เป็นสมาชิกสภาวิชาชีพบัญชี) อยู่แล้ว น้องก็ไม่ต้องไปขึ้นทะเบียน หรือ บางแห่งเขาก็จ้างสำนักงานบัญชีแบบ นาราฯ ให้เป็นผู้ขึ้นทะเบียนให้ครับ อย่างไรเสีย ไม่ต้องรีบครับ ให้ได้งานก่อน จะได้ไม่เสียเวลาและค่าใช้จ่ายครับ
สำหรับการสมัครเป็นสมาชิกสภาวิชาชีพบัญชีสำหรับบุคคลทั่วไป พนักงานบัญชี หรือนักศึกษาที่จบในหลักสูตรบัญชีนั้นขึ้นอยู่กับความประสงค์ของผู้สมัคร ว่าต้องการที่จะสมัครเป็นสมาชิกหรือไม่เป็นก็ได้ แต่กรณีที่บังคับต้องขึ้นทะเบียนเป็นสมาชิกสภาวิชีพบัญชี และต้องอบรมเก็บชั่วโมงนั้นคือ
1.เป็นผู้ขึ้นทะเบียนเป็นผู้ทำบัญชีต่อกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
2.เป็นผู้สอบบัญชีรับอนุญาต
ถ้าขึ้นทะเบียนเป็นผู้ทำต้องอบรม เก็บชั่วโมงครับ และจ่ายค่าสมาชิกรายปี ปีละ 500 บาท
ข.วุฒิไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีทางการบัญชีหรือเทียบเท่า สามารถเป็นผู้ทำบัญชีของกิจการดังนี้ได้ :
– ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนและบริษัทจำกัดที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยซึ่ง ณ วันปิดบัญชีในรอบปีบัญชีที่ผ่านมามีทุนจดทะเบียนไม่เกินห้าล้านบาท มีสินทรัพย์รวมและรายได้รวมไม่เกินสามสิบล้านบาท
– บริษัทมหาชนจำกัดที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย
– นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศที่ประกอบธุรกิจในประเทศไทย
– กิจการร่วมค้าตามประมวลรัษฎากร
สอบถามว่า กรณีบริษัทมีทุนจดทะเบียนเกิน 5 ล้านบาท และมีรายได้ต่อปีเกิน 30 ล้านบาท ต้องใช้ผู้ทำบัญชีที่มีวุฒิอะไรครับ จบปริญญาตรีบัญชีมาก็ทำไม่ได้ใช่ไหมครับ
วุฒิไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีทางการบัญชีหรือเทียบเท่าสามารถเป็นผู้ทำบัญชีให้กับธุรกิจได้ทุกประเภทและทุกขนาด ดังนั้น
วุฒิไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีทางการบัญชีหรือเทียบเท่า สามารถเป็นผู้ทำบัญชีของกิจการดังนี้ได้ – ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนและบริษัทจำกัดที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย ซึ่ง ณ วันปิดบัญชีในรอบปีบัญชีที่ผ่านมามีทุนจดทะเบียนเกิน 5 ล้านบาท มีสินทรัพย์รวมและรายได้รวมเกิน 30 ล้านบาท
แต่ในกรณีที่สอบถามมาจะเป็นดังนี้ค่ะ
วุฒิไม่ต่ำกว่าอนุปริญญา หรือ ปวส.ทางการบัญชีหรือเทียบเท่า สามารถเป็นผู้ทำบัญชีของกิจการดังนี้ได้
– ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน
– บริษัทจำกัดที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย ซึ่ง ณ วันปิดบัญชีในรอบปีบัญชีที่ผ่านมามีทุนจดทะเบียนไม่เกิน 5 ล้านบาท มีสินทรัพย์รวมและรายได้รวมไม่เกิน 30 ล้านบาท
อ้างอิงตาม ตามพระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. 2543
ข.วุฒิไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีทางการบัญชีหรือเทียบเท่า สามารถเป็นผู้ทำบัญชีของกิจการดังนี้ได้ :
– ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนและบริษัทจำกัดที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยซึ่ง ณ วันปิดบัญชีในรอบปีบัญชีที่ผ่านมามีทุนจดทะเบียนไม่เกินห้าล้านบาท มีสินทรัพย์รวมและรายได้รวมไม่เกินสามสิบล้านบาท
– บริษัทมหาชนจำกัดที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย
– นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศที่ประกอบธุรกิจในประเทศไทย
– กิจการร่วมค้าตามประมวลรัษฎากร
สอบถามว่า ถ้าบริษัทมีทุนจดทะเบียนเกิน 5 ล้านบาท หรือ มีรายได้รวมเกิน 30 ล้านบาท ต้องใช้ผู้ทำบัญชีที่มีวุฒิอะไรครับ จบปริญญาตรียังทำไม่ได้เลยหรือครับ
กรณีห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน บริษัทจำกัดที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย ที่มีทุนจดทะเบียนเกิน 5 ล้านบาท สินทรัพย์รวมหรือรายได้รวมเกิน 30 ล้านบาท สามารถใช้ผู้ทำบัญชีที่จบปริญญาตรีทางการบัญชีหรือเทียบเท่าขึ้นไป หรือได้รับประกาศนียบัตรหรือวุฒิอื่นเทียบเท่า ปริญญาตรีสาขาวิชาการบัญชีที่สภาวิชาชีพบัญชีรับรอง (อ้างอิงตามข้อมูลจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า)
สอบถามคะ กรณีเซนต์ผู้ทำบัญชีของปี 65 ไปเรียบร้อยแล้ว เราจะถอนชื่อออกจากผู้ทำในปีนั้นได้หรือไม่คะ แล้วผลและบทลงโทษอย่างไรบ้างคะ
กรณีเซ็นผู้ทำบัญชีปี 65 ไปเรียบร้อยแล้ว จะต้องทำการยืนยันรายชื่อธุรกิจที่รับทำบัญชีให้เรียบร้อยภายในเดือน มกราคม 2566 หากมีการยืนยันรายชื่อธุรกิจเรียบร้อยแล้ว และไม่ได้ลงชื่อเป็นผู้ทำบัญชีให้กับธุรกิจนั้น ๆ แล้วในปีต่อ ๆ ไป สามารถลบรายชื่อธุรกิจนั้น ๆ ได้
ขอเรียนสอบถามค่ะ เคยยกเลิกเป็นผู้ทำบัญชีและจะกลับมาทำบัญชีใหม่ และเป็นสมาชิกของสภาวิชาชีพเรียบร้อยแล้วค่ะ ถ้าจะกลับมาทำบัญชีใหม่กับกรมพัฒนาธุรกิจการค้าต้องมีขั้นตอนอย่างไรบ้างคะ
กรณีเคยยกเลิกการเป็นผู้ทำบัญชีแล้ว และจะกลับมาทำบัญชีใหม่ จะต้องแจ้งการขอกลับมาเป็นผู้ทำบัญชีใหม่ผ่าน Website กรมพัฒนาธุรกิจการค้าในระบบงานผู้ทำบัญชี และ ผู้ทําบัญชีใดยกเลิกการเป็นผู้ทําบัญชีแล้ว และขอกลับมาเป็นผู้ทําบัญชีใหม่ ต้องแจ้ง การพัฒนาความรู้ต่อเนื่องทางวิชาชีพบัญชีให้ครบจํานวนชั่วโมงตามระยะเวลาที่ขาดหายไปก่อนการ ยกเลิกการเป็นผู้ทําบัญชีแต่เมื่อรวมกันแล้วไม่เกิน 24 ชั่วโมง